หย่งเจิ้ง หรือ องค์ชายสี่ เป็นลูกขององค์หญิงเจ้ากงเหยินซึ่งเป็นหญิงแมนจูในสายสกุลอู๋ยา
องค์ชายสี่มีความสามารถในการรบมาก เป็นผู้นำทัพกองธงแดง แห่งทัพแปดธงในปี คศ 1689
ซึ่งสร้างความดีความชอบมากในสงครามปราบมองโกลที่นอกด่าน จึงเป็นที่โปรดปรานของคังซี
มาก
ส่วนสาเหตุแห่งศึกสายเลือดอันโด่งดังนั้นก็คือ องค์ชาย 2 นามว่าอิ่นเหริงซึ่งเป็นรัชทายาทของคังซี
ที่ทรงรักมาก แต่กลับเป็นคนที่วิปริตมีนิสัยโหดร้ายทารุณมักจะแต่งตั้งขันที ขึ้นมาทำร้ายข้าราชการที่
จงรักภักดี แถมยังมีความสัมพันธ์กับผู้ชายในวังเป็นเรื่องที่คังซีรับไม่ได้เลย ยิ่งถูกบังคับอิ่นเหริงก็จึง
ออกไปหาหนุ่มบริการจากภายนอกวัง คังซีก็เลยถอดออกจากตำแหน่งและอ้างเรื่องของการถอดว่าเป็น
เพราะถูกหนอนคุณไสยจากพระธิเบตนิกายมิกจง พอจัดการเรื่องนี้ได้ก็แต่งตั้งขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเกิดขึ้นอีก
หลายต่อหลายครั้งก็จึงต้องประหารอีกหลายต่อหลายคน หลังจากความพยายามอย่างมากของคังซีเพื่อ
ยื้อตำแหน่งองค์รัชทายาทให้ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง ในปี คศ 1711 คังซีไปสืบทราบมาว่า อิ่นเหริงคิดก่อกบฎ
จึงจับตัวขังเอาไว้ในวัง และยกเลิกการแต่งตั้งรัชทายาทจึง ได้เขียนพินัยกรรมเอาไว้ว่าถ้าพระองค์ตายเมื่อ
ไหร่ก็ให้ผู้บัญชากองกำลังรักษาพระนครในขณะนั้นมายืนอ่านพินัยกรรมต่อหน้าองค์ชายและบรรดาขุนนาง
และราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แทน
จากนั้นจึงมีการแย่งชิงตำแหน่งของผู้จะได้สืบทอดบัลลังค์ของเหล่าบรรดาองค์ชาย ซึ่งมี 2 กลุ่มคือฝ่าย
องค์ชายสี่ กับ องค์ชาย 13 และ องค์ชายสิบสี่ กับ องค์ชายแปด แต่องค์ชายสิบสี่ถูกส่งไปประจำยังชายแดน
ซินเกียงเพื่อปราบกบฎ และองค์ชายสี่ทรงประทับอยู่ในปักกิ่ง ในขณะที่องค์ชายสี่ได้มองเห็นภัยร้ายแรง
จากการฉ้อฉลของขุนนาง แต่คงจะไม่ง่ายแน่ถ้ายังไร้อำนาจที่มากพอให้เหล่าขุนนางได้ยำเกรงเพื่อจะกำราบ
ให้เด็ดขาด จึงตัดสินใจควบม้าเข้าสู่เพื่อเข้าเฝ้าคังซี เพื่อสอบถามความชัดเจนในเรื่องของการสืบราชบัลลังค์
หลังจากการเข้าเฝ้าได้ไม่กี่ชั่วโมง คังซีฮ่องเต้ก็เสด็จเสียชีวิตไป...
ทันทีที่คังซีเสียชีวิตในวันที่ 20 ธันวาคม 1722 หลงเคอตัวซึ่งเป็นนายพลที่ดูแลกองกำลังรักษาพระนครหลวงก็
ทำหนังสือไปถึงอ๋องที่อยู่รอบนอกเพื่อให้มารับฟังพินัยกรรมขององค์คังซีต่อหน้าพระศพ องค์ชายที่เข้ารับฟังการ
ประกาศพินัยกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยองค์ชาย 7 พระองค์ รวมถึงบรรดาข้าราชการและเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่
ทันที่ที่หลงเคอตัวประกาศพินัยกรรมของอดีตฮ่องเต้ บรรดาข้าราชการและองค์ชายในที่นั้นก็ตะลึง เพราะทุกคนคิดว่า
ต้องเป็นองค์ชาย 14 ที่กุมกองทัพเรือนแสนอยู่ชายแดนกันหมด แต่ผลปรากฏว่าเป็นองคชายสี่อิ่นเจิ้งซึ่งถูกวางตัวเป็นมวยรอง…
นั่นเอง กระแสข่าวของการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมก็เกิดขึ้นโดยฝีมือของหย่งเจิ้งร่วมมือกับยอดฝีมือชาวฮั่นจากแดนใต้ก็
เริ่มกระพือ หนักหนากว่านั้นก็คือ เรื่องของการเข้าเฝ้าและลอบปลงพระชนม์เสียเลย ประเด็นของพินัยกรรมว่าปลอมแปลง
ได้หรือไม่ นักประวัติศาสตร์เคยค้นเรื่องนี้แล้วสรุปออกมาว่าไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น เพราะพินัยกรรมนั้นทำขึ้นเป็น 5 ภาษา
ไล่มาตั้งแต่ภาษาแมนจู ฮั่น ธิเบต อาหรับ ไปจนกระทั่งมองโกล และเขียนโดยอารักษ์คนเดียวกัน แต่การปลงพระชนม์นั้น
อาจจะทำได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนักคงต้องรอข้อพิสูจน์ต่อไปเพื่อหาความจริง
หนอนคุณไสย ใน ศึกสายเลือด
องค์ชายสี่มีความสามารถในการรบมาก เป็นผู้นำทัพกองธงแดง แห่งทัพแปดธงในปี คศ 1689
ซึ่งสร้างความดีความชอบมากในสงครามปราบมองโกลที่นอกด่าน จึงเป็นที่โปรดปรานของคังซี
มาก
ส่วนสาเหตุแห่งศึกสายเลือดอันโด่งดังนั้นก็คือ องค์ชาย 2 นามว่าอิ่นเหริงซึ่งเป็นรัชทายาทของคังซี
ที่ทรงรักมาก แต่กลับเป็นคนที่วิปริตมีนิสัยโหดร้ายทารุณมักจะแต่งตั้งขันที ขึ้นมาทำร้ายข้าราชการที่
จงรักภักดี แถมยังมีความสัมพันธ์กับผู้ชายในวังเป็นเรื่องที่คังซีรับไม่ได้เลย ยิ่งถูกบังคับอิ่นเหริงก็จึง
ออกไปหาหนุ่มบริการจากภายนอกวัง คังซีก็เลยถอดออกจากตำแหน่งและอ้างเรื่องของการถอดว่าเป็น
เพราะถูกหนอนคุณไสยจากพระธิเบตนิกายมิกจง พอจัดการเรื่องนี้ได้ก็แต่งตั้งขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเกิดขึ้นอีก
หลายต่อหลายครั้งก็จึงต้องประหารอีกหลายต่อหลายคน หลังจากความพยายามอย่างมากของคังซีเพื่อ
ยื้อตำแหน่งองค์รัชทายาทให้ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง ในปี คศ 1711 คังซีไปสืบทราบมาว่า อิ่นเหริงคิดก่อกบฎ
จึงจับตัวขังเอาไว้ในวัง และยกเลิกการแต่งตั้งรัชทายาทจึง ได้เขียนพินัยกรรมเอาไว้ว่าถ้าพระองค์ตายเมื่อ
ไหร่ก็ให้ผู้บัญชากองกำลังรักษาพระนครในขณะนั้นมายืนอ่านพินัยกรรมต่อหน้าองค์ชายและบรรดาขุนนาง
และราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แทน
จากนั้นจึงมีการแย่งชิงตำแหน่งของผู้จะได้สืบทอดบัลลังค์ของเหล่าบรรดาองค์ชาย ซึ่งมี 2 กลุ่มคือฝ่าย
องค์ชายสี่ กับ องค์ชาย 13 และ องค์ชายสิบสี่ กับ องค์ชายแปด แต่องค์ชายสิบสี่ถูกส่งไปประจำยังชายแดน
ซินเกียงเพื่อปราบกบฎ และองค์ชายสี่ทรงประทับอยู่ในปักกิ่ง ในขณะที่องค์ชายสี่ได้มองเห็นภัยร้ายแรง
จากการฉ้อฉลของขุนนาง แต่คงจะไม่ง่ายแน่ถ้ายังไร้อำนาจที่มากพอให้เหล่าขุนนางได้ยำเกรงเพื่อจะกำราบ
ให้เด็ดขาด จึงตัดสินใจควบม้าเข้าสู่เพื่อเข้าเฝ้าคังซี เพื่อสอบถามความชัดเจนในเรื่องของการสืบราชบัลลังค์
หลังจากการเข้าเฝ้าได้ไม่กี่ชั่วโมง คังซีฮ่องเต้ก็เสด็จเสียชีวิตไป...
ทันทีที่คังซีเสียชีวิตในวันที่ 20 ธันวาคม 1722 หลงเคอตัวซึ่งเป็นนายพลที่ดูแลกองกำลังรักษาพระนครหลวงก็
ทำหนังสือไปถึงอ๋องที่อยู่รอบนอกเพื่อให้มารับฟังพินัยกรรมขององค์คังซีต่อหน้าพระศพ องค์ชายที่เข้ารับฟังการ
ประกาศพินัยกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยองค์ชาย 7 พระองค์ รวมถึงบรรดาข้าราชการและเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่
ทันที่ที่หลงเคอตัวประกาศพินัยกรรมของอดีตฮ่องเต้ บรรดาข้าราชการและองค์ชายในที่นั้นก็ตะลึง เพราะทุกคนคิดว่า
ต้องเป็นองค์ชาย 14 ที่กุมกองทัพเรือนแสนอยู่ชายแดนกันหมด แต่ผลปรากฏว่าเป็นองคชายสี่อิ่นเจิ้งซึ่งถูกวางตัวเป็นมวยรอง…
นั่นเอง กระแสข่าวของการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมก็เกิดขึ้นโดยฝีมือของหย่งเจิ้งร่วมมือกับยอดฝีมือชาวฮั่นจากแดนใต้ก็
เริ่มกระพือ หนักหนากว่านั้นก็คือ เรื่องของการเข้าเฝ้าและลอบปลงพระชนม์เสียเลย ประเด็นของพินัยกรรมว่าปลอมแปลง
ได้หรือไม่ นักประวัติศาสตร์เคยค้นเรื่องนี้แล้วสรุปออกมาว่าไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น เพราะพินัยกรรมนั้นทำขึ้นเป็น 5 ภาษา
ไล่มาตั้งแต่ภาษาแมนจู ฮั่น ธิเบต อาหรับ ไปจนกระทั่งมองโกล และเขียนโดยอารักษ์คนเดียวกัน แต่การปลงพระชนม์นั้น
อาจจะทำได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนักคงต้องรอข้อพิสูจน์ต่อไปเพื่อหาความจริง