"เที่ยงตรงทรงศักดา ปกครองทั่วหล้าต้องผ่าเผย"
เหนือพระแท่นบัลลังก์ในพระที่นั่งเฉียนชิงกง (乾清宫) ในพระราชวังกู้กง กรุงปักกิ่งมีแผ่นป้ายเขียนอักษรอันโด่งดัง นั่นคือแผ่นป้ายข้อความ 正大光明 (เจิ้งต้ากวงหมิง) เป็นข้อความเพียง 4 ตัวแต่ความนัยลึกล้ำ มีผู้แปลออกมาหลายสำนวน แปลตรงๆ ก็คือ "เที่ยงตรงยุติธรรม" บ้างแแปลก็ว่า "เที่ยงตรงทรงศักดา" หรือ "โอ่อ่าผ่าเผย มีหิริโอตตัปปะ"
โดยรวมก็คือคำย้ำเตือนให้ผู้ปกครองแผ่นดิน มีความเที่ยงธรรม ยืนหยัดในหลักการ และเปิดเผยจริงใจตรงไปตรงมา
อักษรนี้พระเจ้าซุ่นจื้อ (順治) แห่งราชวงศ์ชิงทรงเขียนขึ้น ทรงเป็นปฐมบรมราชันชาวแมนจูที่ปกครองแผ่นดินจีนทั่วหล้า (แต่มิใช่ปฐมวงศ์เพราะราชวงศ์นี้ตั้งขึ่นก่อนการรุกรานภาคกลาง) ต่อมาแผ่นป้ายนี้เริ่มมีความสำคัญขึ้นในสมัยพระเจ้าคังซี (康熙) รัชกาลต่อมา ทรงนำโองการแต่งตั้งรัชทายาทไปเก็บรักษาไว้ที่ด้านหลังแผ่นป้ายนี้ แล้วจะเปิดออกประกาศสถาปนาฮ่องเต้องค์ต่อไป หลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้ว เพื่อตัดปัญหาการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นระหว่างพระโอรสทั้ง 14 องค์
เล่าลือกันว่า ความพยายามของคังซีไม่เป็นผลนัก เพราะแม้พระองค์จะระบุตัวรัชทายาทไว้แล้วว่าเป็นองค์ชาย 14 อิ๋นเจิน (胤禎) แต่องค์ชาย 4 อิ๋นเจิน (胤禛) ทรงเปลี่ยนตัวอักษรในโองการจาก 14 เป็น 4 และเปลี่นนขีดตัวอักษรเล็กน้อย เพราะพระนามของทั้งออกเสียง 2 เหมือนกัน ทั้งยังเขียนต่างกันไม่มาก การแปลงสาส์นครั้งนั้นทำให้พระองค์ทรงครองราชย์ดังใจหวัง เป็นฮ่องเต้หย่งเจิง ดังที่กลายเป็นซีรียุคโบราณนานกัลป์เรื่อง "ศึกสายเลือด"
อย่างไรก็ตาม เมือไม่กี่ปีก่อน มีการเปิดเผยโองการแต่งตั้งรัชทายาทของคังซี จาการตรวจสอบไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้ตำนานศึกสายเลือดเริ่มมีน้ำหนักน้อยลง แต่ในความเป็นจริง นับจากฮ่องเต้หย่งเจิงถึงฮ่องเต้ต้าวกวงทรงก็ทรงซ่อนโองการแต่งตั้งรัชทายาทไว้ที่ด้านหลังแผ่นป้ายนี้ทุกพระองค์
เมื่อกล่าวถึง ข้อความ เจิ้งต้ากวงหมิง (正大光明) ความข้อนี้องค์ซุ่นจื้อ ทรงนำมาจากตำราของปราชญ์ จูซี (朱熹) นักคิดผู้ยิ่งใหญ่สมัยราชวงศ์ซ่ง ตำราชื่อ จูเหวินกงเหวินจี๋ (朱文公文集) ความว่า
"ว่าด้วยจิตใจของฟ่านกง เที่ยงตรงโออ่าผ่าเผย มั่นคงสถาพรไร้เสียงประชาก่นด่ายาวนาน แลเชิดชูคุณธรรม สร้างความมั่นคงแด่ประเทศ"
ฟ่านกง หรือ ฟ่านจ้งเยียน (范仲淹) เป็นขุนนางตงฉิน ผู้มากความสามารถในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปราชญ์จูซี เอ่ยถึงท่านว่าเป็นตัวอย่างของ "เจิ้งต้ากวงหมิง" หรือการปกครองโดยเที่ยงธรรม
ข้อมูล : Kun'Kornkit Disthan.
ภาพถ่ายด้านในพระที่นั่งเฉียนชิงกงโดย อัลฟอนส์ ฟอน มุมม์ (Alfons von Mumm) เมื่อปี 1924
แผ่นป้ายอักษร 4 ตัวในพระราชวังต้องที่สำคัญที่สุดในแผ่นดินมังกร
"เที่ยงตรงทรงศักดา ปกครองทั่วหล้าต้องผ่าเผย"
เหนือพระแท่นบัลลังก์ในพระที่นั่งเฉียนชิงกง (乾清宫) ในพระราชวังกู้กง กรุงปักกิ่งมีแผ่นป้ายเขียนอักษรอันโด่งดัง นั่นคือแผ่นป้ายข้อความ 正大光明 (เจิ้งต้ากวงหมิง) เป็นข้อความเพียง 4 ตัวแต่ความนัยลึกล้ำ มีผู้แปลออกมาหลายสำนวน แปลตรงๆ ก็คือ "เที่ยงตรงยุติธรรม" บ้างแแปลก็ว่า "เที่ยงตรงทรงศักดา" หรือ "โอ่อ่าผ่าเผย มีหิริโอตตัปปะ"
โดยรวมก็คือคำย้ำเตือนให้ผู้ปกครองแผ่นดิน มีความเที่ยงธรรม ยืนหยัดในหลักการ และเปิดเผยจริงใจตรงไปตรงมา
อักษรนี้พระเจ้าซุ่นจื้อ (順治) แห่งราชวงศ์ชิงทรงเขียนขึ้น ทรงเป็นปฐมบรมราชันชาวแมนจูที่ปกครองแผ่นดินจีนทั่วหล้า (แต่มิใช่ปฐมวงศ์เพราะราชวงศ์นี้ตั้งขึ่นก่อนการรุกรานภาคกลาง) ต่อมาแผ่นป้ายนี้เริ่มมีความสำคัญขึ้นในสมัยพระเจ้าคังซี (康熙) รัชกาลต่อมา ทรงนำโองการแต่งตั้งรัชทายาทไปเก็บรักษาไว้ที่ด้านหลังแผ่นป้ายนี้ แล้วจะเปิดออกประกาศสถาปนาฮ่องเต้องค์ต่อไป หลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้ว เพื่อตัดปัญหาการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นระหว่างพระโอรสทั้ง 14 องค์
เล่าลือกันว่า ความพยายามของคังซีไม่เป็นผลนัก เพราะแม้พระองค์จะระบุตัวรัชทายาทไว้แล้วว่าเป็นองค์ชาย 14 อิ๋นเจิน (胤禎) แต่องค์ชาย 4 อิ๋นเจิน (胤禛) ทรงเปลี่ยนตัวอักษรในโองการจาก 14 เป็น 4 และเปลี่นนขีดตัวอักษรเล็กน้อย เพราะพระนามของทั้งออกเสียง 2 เหมือนกัน ทั้งยังเขียนต่างกันไม่มาก การแปลงสาส์นครั้งนั้นทำให้พระองค์ทรงครองราชย์ดังใจหวัง เป็นฮ่องเต้หย่งเจิง ดังที่กลายเป็นซีรียุคโบราณนานกัลป์เรื่อง "ศึกสายเลือด"
อย่างไรก็ตาม เมือไม่กี่ปีก่อน มีการเปิดเผยโองการแต่งตั้งรัชทายาทของคังซี จาการตรวจสอบไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้ตำนานศึกสายเลือดเริ่มมีน้ำหนักน้อยลง แต่ในความเป็นจริง นับจากฮ่องเต้หย่งเจิงถึงฮ่องเต้ต้าวกวงทรงก็ทรงซ่อนโองการแต่งตั้งรัชทายาทไว้ที่ด้านหลังแผ่นป้ายนี้ทุกพระองค์
เมื่อกล่าวถึง ข้อความ เจิ้งต้ากวงหมิง (正大光明) ความข้อนี้องค์ซุ่นจื้อ ทรงนำมาจากตำราของปราชญ์ จูซี (朱熹) นักคิดผู้ยิ่งใหญ่สมัยราชวงศ์ซ่ง ตำราชื่อ จูเหวินกงเหวินจี๋ (朱文公文集) ความว่า
"ว่าด้วยจิตใจของฟ่านกง เที่ยงตรงโออ่าผ่าเผย มั่นคงสถาพรไร้เสียงประชาก่นด่ายาวนาน แลเชิดชูคุณธรรม สร้างความมั่นคงแด่ประเทศ"
ฟ่านกง หรือ ฟ่านจ้งเยียน (范仲淹) เป็นขุนนางตงฉิน ผู้มากความสามารถในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปราชญ์จูซี เอ่ยถึงท่านว่าเป็นตัวอย่างของ "เจิ้งต้ากวงหมิง" หรือการปกครองโดยเที่ยงธรรม
ข้อมูล : Kun'Kornkit Disthan.
ภาพถ่ายด้านในพระที่นั่งเฉียนชิงกงโดย อัลฟอนส์ ฟอน มุมม์ (Alfons von Mumm) เมื่อปี 1924