ป็นข่าวกันมาหลายเดือนสำหรับการออกกฎหมายเรียกกำลังพลสำรองเข้ามารับราชการทหารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ล่าสุดในวันที่ 12 พฤศจิกายน 58 ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีมติเห็นชอบในวาระ3ด้วยคะแนนเสียง192 เสียง งดออกเสียง 4 ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งมีผลทำให้กองทัพมีอำนาจในการเรียกพลเรือนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมารับราชการทหารได้
เนื้อหาของร่างพ.ร.บ.กำลังสำรองดังกล่าวกำหนดให้คัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง เป็นผู้คัดเลือก โดยการเรียกกำลังพลสำรองให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะหรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การระดมพลให้กระทำได้ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึกหรือมีการรบหรือการสงคราม
โดยกำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยงฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่หากผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร ไม่ว่าเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือในการระดมพล มีโทษปรับและจำคุกไม่เกิน 4 ปี แต่หากอยู่ไม่ครบกำหนดเวลาตามกำหนดในคำสั่งเรียก ถือว่ามีความผิดฐานหนีราชการและต้องโทษตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหาร
สำหรับประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรองนั้น กำหนดตามบทบัญญัติคำนิยาม”กำลังพลสำรอง”หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นกำลังสำรองประเภทที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ในที่นี้ “กำลังพลสำรอง” มีที่มาจาก นายทหารประทวนกองหนุน(ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) , นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน(ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 5) , ทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์)ที่รับราชการในกองประจำการครบกำหนด และ ปลดเป็นทหารกองหนุนตามกฎหมายแล้ว หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2(บุคคลที่ได้รับใบดำในการเกณฑ์ทหาร)
เครดิต
http://www.ispacethailand.org/political/7520.html
ชายไทยงานเข้า!!! สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.กำลังสำรองแล้ว!!!
เนื้อหาของร่างพ.ร.บ.กำลังสำรองดังกล่าวกำหนดให้คัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง เป็นผู้คัดเลือก โดยการเรียกกำลังพลสำรองให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นการเฉพาะหรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การระดมพลให้กระทำได้ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึกหรือมีการรบหรือการสงคราม
โดยกำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยงฯ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่หากผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร ไม่ว่าเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมหรือในการระดมพล มีโทษปรับและจำคุกไม่เกิน 4 ปี แต่หากอยู่ไม่ครบกำหนดเวลาตามกำหนดในคำสั่งเรียก ถือว่ามีความผิดฐานหนีราชการและต้องโทษตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหาร
สำหรับประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรองนั้น กำหนดตามบทบัญญัติคำนิยาม”กำลังพลสำรอง”หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นกำลังสำรองประเภทที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ในที่นี้ “กำลังพลสำรอง” มีที่มาจาก นายทหารประทวนกองหนุน(ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) , นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน(ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 5) , ทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์)ที่รับราชการในกองประจำการครบกำหนด และ ปลดเป็นทหารกองหนุนตามกฎหมายแล้ว หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2(บุคคลที่ได้รับใบดำในการเกณฑ์ทหาร)
เครดิต http://www.ispacethailand.org/political/7520.html