สาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำลังพลสำรอง เรียกโดยย่อว่า “คกส.” ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ โดย คกส. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรองและการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับกำลังพลสำรอง กำหนดแนวทางการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง เสนอแนะแผนพัฒนากิจการกำลังพลสำรองและกำลังสำรองอื่น ๆ และเสนอแนะการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่กำลังพลสำรองและนายจ้างที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้
2. กำหนดให้กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ คกส. มีอำนาจหน้าที่วางแผนและประสานงานการดำเนินการของ คกส. รวบรวมเอกสารและข้อมูลตลอดจนส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในกิจการกำลังพลสำรองเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานในการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรองหรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่ คกส. มอบหมาย
3. กำลังพลสำรองมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
3.1 เข้ารับราชการทหารในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หากหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารต้องระวางโทษอาญา
3.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือนามสกุล หรือแก้ไขเลขประจำตัวประชาชน ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปยังหน่วยทหารที่ตนมีรายชื่อบรรจุอยู่ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษอาญา
4. การเรียกกำลังพลสำรองและการระดมพล กำหนดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ โดยได้นำหลักการการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และการระดมพลมาจากข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการเตรียมพล พ.ศ. 2515
5. กำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก การรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่น ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
6. นายจ้างซึ่งไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้โดยมีอัตราโทษทางอาญาเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
Credit :
http://www.prachatai.com/journal/2015/07/60228
เรื่องนี้มีจะผลกระทบเป็นวงกว้างมาก
พวกนายจ้าง SME ถ้าลูกจ้างโดนเรียกตัวแปลว่า นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างฟรีๆถึงสองเดือนโดยไม่ได้ผลประโยชน์หรือ Productivity อะไรเลย
ถ้าดวงซวยนายจ้างถูกเรียกตัวเท่ากับว่าธุรกิจนั้นอาจต้องปิดตัวถึง 2 เดือน ทำงานไม่ได้ แต่ต้องจ่ายค่าแรงลูกจ้างซ้ำ มีผลกระทบมากแน่นอน
ในบางอาชีพหรืองานวิจัยต้องใช้เวลาทำงานต่อเนื่องถ้าทหารเรียกตัวอบรมแปลว่าต้องประชาชนต้องทนเสียหายเพื่อเข้าอบรมงั้นหรือ?
ต่างชาติที่เห็นกฏหมายฉบับนี้ต้องทบทวนการลงทุนต่อในประเทศไทยแน่ๆ เพราะในฐานะนายจ้างย่อมไม่ชอบความไม่แน่นอนและไม่ชอบเสียเงินให้ลูกจ้างโดยไม่สร้างประโยชน์แบบนี้อยู่แล้ว
ลูกจ้างเองก็ไม่สบายแม้ได้เงินเดือนฟรีและเบี้ยเลี้ยงแต่การห่างจากงานที่ทำไปสองเดือน อาจจะส่งผลต่อเนื่องในการทำงานและอาจถูกบีบให้ออกจากงานก่อนหน้านั้นก็เป็นได้
การเรียกใช้งานถึง 2.5% ต่อครั้ง ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่รัฐเรื่องค่าอาหาร งบที่อยู่อาศัย เบี้ยเลียง ซึ่งขัดกับที่บอกวาไม่มีงบประมาณอย่างยิ่ง
Credit :
https://www.facebook.com/stopfakethailand/photos/a.414343421995746.1073741828.413982712031817/843570719073012/
จริงๆมันมีข้อมูลวิเคราะห์หลายที่ส่วนตัวผม ก็วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นว่าในหลายเรื่องเหมือนข้างต้น ถามที่ตั้งคำถามกัน
1. ประเทศไทยมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะเรียกฝึกครั้งละมากๆ
2. ในการเรียกระดมพลแต่ละครั้ง ทั่วประเทศ ใช้งบประมาณเท่าไร ในหนึ่งปี ใช้เท่าไร
3. ในการระดมแต่ละครั้ง มีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพใช้แรงงาน และ ผู้จ้างหรือไม่
4. กฎหมายฉบับนี้จะมีความชอบธรรมแค่ไหน ในเมื่อเกิดผลกระทบหลายๆด้าน
5. ในการฝึกแต่ละครั้ง จะต้องรวมบุคคลทุกประเภทเข้าฝึก เช่น บุคคลที่ผ่านวิชาทหาร บุคคลที่เคยเป็นทหารประจำการ หรือบุคคลที่จับได้ใบดำ
6. แล้วบุคคลที่มีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากจะทำอย่างไร
คิดเห็นกันอย่างไรครับ ลองวิเคราะห์ตั้งคำถามกันดู
คิดอย่างไรกับ พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.2558 ลองแชร์ความคิดเห็นกันครับ
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำลังพลสำรอง เรียกโดยย่อว่า “คกส.” ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ โดย คกส. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรองและการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับกำลังพลสำรอง กำหนดแนวทางการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง เสนอแนะแผนพัฒนากิจการกำลังพลสำรองและกำลังสำรองอื่น ๆ และเสนอแนะการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่กำลังพลสำรองและนายจ้างที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้
2. กำหนดให้กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ คกส. มีอำนาจหน้าที่วางแผนและประสานงานการดำเนินการของ คกส. รวบรวมเอกสารและข้อมูลตลอดจนส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในกิจการกำลังพลสำรองเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานในการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรองหรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่ คกส. มอบหมาย
3. กำลังพลสำรองมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
3.1 เข้ารับราชการทหารในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หากหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารต้องระวางโทษอาญา
3.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือนามสกุล หรือแก้ไขเลขประจำตัวประชาชน ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปยังหน่วยทหารที่ตนมีรายชื่อบรรจุอยู่ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษอาญา
4. การเรียกกำลังพลสำรองและการระดมพล กำหนดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ โดยได้นำหลักการการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และการระดมพลมาจากข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการเตรียมพล พ.ศ. 2515
5. กำลังพลสำรองมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก การรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่น ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
6. นายจ้างซึ่งไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้โดยมีอัตราโทษทางอาญาเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
Credit : http://www.prachatai.com/journal/2015/07/60228
เรื่องนี้มีจะผลกระทบเป็นวงกว้างมาก
พวกนายจ้าง SME ถ้าลูกจ้างโดนเรียกตัวแปลว่า นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างฟรีๆถึงสองเดือนโดยไม่ได้ผลประโยชน์หรือ Productivity อะไรเลย
ถ้าดวงซวยนายจ้างถูกเรียกตัวเท่ากับว่าธุรกิจนั้นอาจต้องปิดตัวถึง 2 เดือน ทำงานไม่ได้ แต่ต้องจ่ายค่าแรงลูกจ้างซ้ำ มีผลกระทบมากแน่นอน
ในบางอาชีพหรืองานวิจัยต้องใช้เวลาทำงานต่อเนื่องถ้าทหารเรียกตัวอบรมแปลว่าต้องประชาชนต้องทนเสียหายเพื่อเข้าอบรมงั้นหรือ?
ต่างชาติที่เห็นกฏหมายฉบับนี้ต้องทบทวนการลงทุนต่อในประเทศไทยแน่ๆ เพราะในฐานะนายจ้างย่อมไม่ชอบความไม่แน่นอนและไม่ชอบเสียเงินให้ลูกจ้างโดยไม่สร้างประโยชน์แบบนี้อยู่แล้ว
ลูกจ้างเองก็ไม่สบายแม้ได้เงินเดือนฟรีและเบี้ยเลี้ยงแต่การห่างจากงานที่ทำไปสองเดือน อาจจะส่งผลต่อเนื่องในการทำงานและอาจถูกบีบให้ออกจากงานก่อนหน้านั้นก็เป็นได้
การเรียกใช้งานถึง 2.5% ต่อครั้ง ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่รัฐเรื่องค่าอาหาร งบที่อยู่อาศัย เบี้ยเลียง ซึ่งขัดกับที่บอกวาไม่มีงบประมาณอย่างยิ่ง
Credit : https://www.facebook.com/stopfakethailand/photos/a.414343421995746.1073741828.413982712031817/843570719073012/
จริงๆมันมีข้อมูลวิเคราะห์หลายที่ส่วนตัวผม ก็วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นว่าในหลายเรื่องเหมือนข้างต้น ถามที่ตั้งคำถามกัน
1. ประเทศไทยมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะเรียกฝึกครั้งละมากๆ
2. ในการเรียกระดมพลแต่ละครั้ง ทั่วประเทศ ใช้งบประมาณเท่าไร ในหนึ่งปี ใช้เท่าไร
3. ในการระดมแต่ละครั้ง มีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพใช้แรงงาน และ ผู้จ้างหรือไม่
4. กฎหมายฉบับนี้จะมีความชอบธรรมแค่ไหน ในเมื่อเกิดผลกระทบหลายๆด้าน
5. ในการฝึกแต่ละครั้ง จะต้องรวมบุคคลทุกประเภทเข้าฝึก เช่น บุคคลที่ผ่านวิชาทหาร บุคคลที่เคยเป็นทหารประจำการ หรือบุคคลที่จับได้ใบดำ
6. แล้วบุคคลที่มีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากจะทำอย่างไร
คิดเห็นกันอย่างไรครับ ลองวิเคราะห์ตั้งคำถามกันดู