พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
ป. ก็เทวดามีจริงหรือ
พ. เพราะเหตุไรมหาบพิตร (รู้ว่าเทวดามีจริงแล้ว) จึงตรัสถามอย่างนี้
ป. ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้
พ. เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้
(กัณณกัตถลสูตร ๑๓/๕๘๐)
พระเจ้าอังคติราชผู้เห็นผิดว่า ปรโลก (เช่น สวรรค์) ไม่มี บุญบาปไม่มีผล ทูลถามนารทฤษี (ชาติในอดีตของพระพุทธเจ้า) ว่า
อ. ดูก่อนท่านนารท ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี ปรโลกมีนั้นเป็นความจริงหรือ
น. ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี ปรโลกมีนั้น เป็นความจริงทั้งนั้น แต่ผู้หลงงมงายในกามไม่รู้ปรโลก
อ. ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง ท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านพันหนึ่งในปรโลก
น. ถ้ามหาบพิตรทรงมีศีล อาตมภาพก็จะให้ยืมสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติ (ตาย) จากโลกนี้แล้วจะต้องไปอยู่ในนรก ใครจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น
(มหานารทกัสสปชาดก ๒๘/๘๗๓)
พระพุทธเจ้าตรัสกับชาวบ้านศาลา โกศลชนบท ความว่า
ผู้ที่เห็นว่า ทานไม่มีผล ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกหน้าไม่มี อุปปาติกสัตว์ (สัตว์ที่เกิดมาโตเต็มที่ทันที เช่น เทวดา) ไม่มี ... เป็นอันหวังได้ว่า จะไม่ประพฤติกุศลธรรม จะประพฤติอกุศลธรรมเพราะเขาไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์แห่งกุศลธรรม
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของเขาว่า โลกหน้าไม่มีความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่า โลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดของเขานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม
(อปัณณกสูตร ๑๓/๑๐๖)
พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ในโลกอันกว้างใหญ่นี้ สมณพราหมณ์หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุรู้จิตคนอื่นได้ เห็นไปได้ไกลด้วย เข้าใกล้ก็ไม่รู้ตัว มีอยู่ ถ้าภิกษุคิดในทางอกุศล สมณพราหมณ์หรือเทวดาทั้งหลายย่อมทราบความคิดนั้น
(อธิปไตยสูตร ๒๐/๔๗๙)
พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องคนทำบาปสิ้นชีพก็ไปเสวยทุกข์ทรมานแสนสาหัสอยู่ในนรก ในตอนท้ายพระองค์ทรงยืนยันว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะได้ฟังเรื่องเหล่านี้มาจากสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วจึงมากล่าวอย่างนี้ก็หามิได้ แท้ที่จริงเรากล่าวเรื่องที่เราได้รู้เอง ได้เห็นเอง แจ่มแจ้งเองทีเดียว
(ทูตสูตร ๒๐/๔๗๕)
พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อใดเทวดาจะต้องจุติเพราะสิ้นอายุ เทวดาทั้งหลายย่อมอวยพรว่า ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้ว จงถึงสุคติคือเกิดเป็นมนุษย์ มีศรัทธาในพระสัทธรรม เป็นศรัทธาที่ตั้งมั่น อันใคร ๆ ในโลกทำให้คลอนแคลนไม่ได้
(จวมานสูตร ๒๕/๒๖๑)
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าพระองค์ทรงมีญาณทัสสนะอันประเสริฐ ๘ ประการ คือ จำโอภาส (แสงสว่าง) เทวดาได้ เห็นรูปเทวดา สนทนากับเทวดาได้ รู้ว่าเทวดามาจากเทพนิกายชั้นไหน รู้ว่าเทวดาเคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดชั้นไหน รู้ว่าเทวดามีอาหารและมีสุขทุกข์อย่างไร รู้ว่าเทวดามีอายุยืนยาวแค่ไหน รู้ว่าพระองค์เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าใดบ้างหรือไม่
(คยาสูตร ๒๓/๑๖๑)
พกพรหมมีอายุยืนยาวมากจนเกิดมีความเห็นผิดว่า ฐานะแห่งพรหมเที่ยง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปพรหมโลกโปรดพกพรหมให้ละมิจฉาทิฏฐินั้นเสีย
(พกสูตร ๑๕/๕๖๖)
นันทมารดาอุบาสิกาลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง สวดปารายนสูตร ทำนองสรภัญญะ ท้าวเวสสวัณมหาราช (ซึ่งเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา) เสด็จผ่านไปด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้ทรงสดับเสียงสวดทำนองสรภัญญะของ นันทมารดาอุบาสิกา จึงประทับรอฟังจนจบ
(มาตาสูตร ๒๓/๕๐)
เมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง เช่น ผีเข้าภิกษุ (อมนุสสันตราย) เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้
(อุโบสถขันธกะ ๔/๑๖๓)
ประมวลเรื่อง เทวดา เทพบุตร และท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์ ที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีสูตรทั้งหมด ๘๑ ๓๐ และ ๒๕ สูตร ตามลำดับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดาล้วนๆ
(เทวตาสังยุตต์ เทวปุตตสังยุตต์ สักกสังยุตต์ เล่ม ๑๕)
พระลักขณะเดินทางไปกับพระโมคคัลลานะผู้เห็นเปรตที่มีลักษณะแปลกๆ แต่พระลักขณะไม่เห็น พระโมคคัลลานะจึงชวนท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าๆ ทรงเล่าความเป็นมาของเปรตนั้นๆ ให้ทราบ มีทั้งหมด ๒๑ สูตร เป็นเรื่องเกี่ยวกับเปรตล้วนๆ
(ลักขณสังยุตต์ เล่ม ๑๖)
กล่าวถึงเทพบุตรและเทพธิดาเล่ากรรมดีในอดีตที่ทำให้ตนได้เกิดในวิมาน มีทั้งหมด ๘๕ เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ล้วนๆ
(วิมานวัตถุ เล่ม ๒๖)
กล่าวถึงกรรมชั่วที่ส่งผลให้ผู้ทำไปเกิดเป็นเปรต ได้รับความทุกข์ทรมานในลักษณะต่าง ๆ กัน มี ทั้งหมด ๕๑ เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเปรต
(เปตวัตถุ เล่ม ๒๖)
สำหรับมิจฉาทิฏฐิในมโนทุจริตนี้ มุ่งหมายเอา"นิยตมิจฉาทิฏฐิ" ๓ ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบทได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่นนั้น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐฺ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้น ย่อมไม่มีความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีก ในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิด ชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด ๑๐ อย่าง คือ
๑. เห็นว่า การให้ทานไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๒. เห็นว่า การบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผล
๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญไม่ได้รับผล
๔. เห็นว่า การทำดี ทำชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ไม่มี
๖. เห็นว่า ผู้ไปเกิดในภพหน้าไม่มี
๗. เห็นว่า คุณมารดาไม่มี
๘. เห็นว่า คุณบิดาไม่มี
๙. เห้นว่า สัตว์ที่ผุดเกิดเติบโตในทันที คือ สัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
๑๐. เห็นว่า สมณะพราหมณ์ ที่รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง และสามารถแนะนำชี้แจงสมณะพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมความสามัคคี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นั้นไม่มี
ผู้มีนัตถิกะทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธผล" ซึ่งเท่ากับปฏิเสธอำนาจกุศล อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่างๆด้วย
๒. อเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงว่า ชนกเหตุ คือเหตุให้เกิด และอุปถัมภกเหตุ คือ เหตุช่วยอุปถัมภ์ ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเศร้าหมองและลำบากอยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด เหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี และสัตว์ทั้งหลายที่มีความบริสุทธิ์ พ้นจากความลำบากกายใจได้นั้น ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด
ผู้มีอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธเหตุ"ไม่เชื่อว่ากรรมดี หรือกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้ ผู้ที่ปฏืเสธเหตุ เท่ากับเป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ดังสามัญผลสูตร อรรถกถาว่า "ผู้ที่เห็นว่า ความสุขทุกข์ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ ก็เท่ากับว่า เป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ไปพร้อมกันด้วย"
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สำเร็จเป็นบาป บุญแต่ประการใด ในสามัญผลสูตรแสดงว่า
ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การทำดี ทำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทำเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป หรือฆ่สัตว์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป
ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรม อันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า ปฏิเสธผลของกรรมด้วย ดังในสามัญผลสูตร อรรถกถาแสดงว่า
"เมื่อปฏิเสธการการทำบาป บุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการทำบาป บุญนั้นด้วย"
นิยตมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถส่งผล ให้เกิดใน"นิรยภูมิ"อย่างแน่นอน แม้พระพุทธองค์ก็โปรดไม่สำเร็จ (นิรยภูมิ - สัตว์นรก)
(บางส่วนคัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)
นรก-สวรรค์มีจริง ผู้ใดไม่เชื่อหลงผิดว่าไม่มี ตกนรก
ป. ก็เทวดามีจริงหรือ
พ. เพราะเหตุไรมหาบพิตร (รู้ว่าเทวดามีจริงแล้ว) จึงตรัสถามอย่างนี้
ป. ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้
พ. เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้
(กัณณกัตถลสูตร ๑๓/๕๘๐)
พระเจ้าอังคติราชผู้เห็นผิดว่า ปรโลก (เช่น สวรรค์) ไม่มี บุญบาปไม่มีผล ทูลถามนารทฤษี (ชาติในอดีตของพระพุทธเจ้า) ว่า
อ. ดูก่อนท่านนารท ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี ปรโลกมีนั้นเป็นความจริงหรือ
น. ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี ปรโลกมีนั้น เป็นความจริงทั้งนั้น แต่ผู้หลงงมงายในกามไม่รู้ปรโลก
อ. ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง ท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านพันหนึ่งในปรโลก
น. ถ้ามหาบพิตรทรงมีศีล อาตมภาพก็จะให้ยืมสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติ (ตาย) จากโลกนี้แล้วจะต้องไปอยู่ในนรก ใครจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น
(มหานารทกัสสปชาดก ๒๘/๘๗๓)
พระพุทธเจ้าตรัสกับชาวบ้านศาลา โกศลชนบท ความว่า
ผู้ที่เห็นว่า ทานไม่มีผล ผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกหน้าไม่มี อุปปาติกสัตว์ (สัตว์ที่เกิดมาโตเต็มที่ทันที เช่น เทวดา) ไม่มี ... เป็นอันหวังได้ว่า จะไม่ประพฤติกุศลธรรม จะประพฤติอกุศลธรรมเพราะเขาไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์แห่งกุศลธรรม
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของเขาว่า โลกหน้าไม่มีความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่า โลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า
ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดของเขานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม
(อปัณณกสูตร ๑๓/๑๐๖)
พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ในโลกอันกว้างใหญ่นี้ สมณพราหมณ์หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุรู้จิตคนอื่นได้ เห็นไปได้ไกลด้วย เข้าใกล้ก็ไม่รู้ตัว มีอยู่ ถ้าภิกษุคิดในทางอกุศล สมณพราหมณ์หรือเทวดาทั้งหลายย่อมทราบความคิดนั้น
(อธิปไตยสูตร ๒๐/๔๗๙)
พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องคนทำบาปสิ้นชีพก็ไปเสวยทุกข์ทรมานแสนสาหัสอยู่ในนรก ในตอนท้ายพระองค์ทรงยืนยันว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะได้ฟังเรื่องเหล่านี้มาจากสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วจึงมากล่าวอย่างนี้ก็หามิได้ แท้ที่จริงเรากล่าวเรื่องที่เราได้รู้เอง ได้เห็นเอง แจ่มแจ้งเองทีเดียว
(ทูตสูตร ๒๐/๔๗๕)
พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อใดเทวดาจะต้องจุติเพราะสิ้นอายุ เทวดาทั้งหลายย่อมอวยพรว่า ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้ว จงถึงสุคติคือเกิดเป็นมนุษย์ มีศรัทธาในพระสัทธรรม เป็นศรัทธาที่ตั้งมั่น อันใคร ๆ ในโลกทำให้คลอนแคลนไม่ได้
(จวมานสูตร ๒๕/๒๖๑)
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าพระองค์ทรงมีญาณทัสสนะอันประเสริฐ ๘ ประการ คือ จำโอภาส (แสงสว่าง) เทวดาได้ เห็นรูปเทวดา สนทนากับเทวดาได้ รู้ว่าเทวดามาจากเทพนิกายชั้นไหน รู้ว่าเทวดาเคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดชั้นไหน รู้ว่าเทวดามีอาหารและมีสุขทุกข์อย่างไร รู้ว่าเทวดามีอายุยืนยาวแค่ไหน รู้ว่าพระองค์เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าใดบ้างหรือไม่
(คยาสูตร ๒๓/๑๖๑)
พกพรหมมีอายุยืนยาวมากจนเกิดมีความเห็นผิดว่า ฐานะแห่งพรหมเที่ยง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปพรหมโลกโปรดพกพรหมให้ละมิจฉาทิฏฐินั้นเสีย
(พกสูตร ๑๕/๕๖๖)
นันทมารดาอุบาสิกาลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง สวดปารายนสูตร ทำนองสรภัญญะ ท้าวเวสสวัณมหาราช (ซึ่งเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา) เสด็จผ่านไปด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้ทรงสดับเสียงสวดทำนองสรภัญญะของ นันทมารดาอุบาสิกา จึงประทับรอฟังจนจบ
(มาตาสูตร ๒๓/๕๐)
เมื่อมีอันตราย ๑๐ อย่าง เช่น ผีเข้าภิกษุ (อมนุสสันตราย) เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้
(อุโบสถขันธกะ ๔/๑๖๓)
ประมวลเรื่อง เทวดา เทพบุตร และท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์ ที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีสูตรทั้งหมด ๘๑ ๓๐ และ ๒๕ สูตร ตามลำดับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดาล้วนๆ
(เทวตาสังยุตต์ เทวปุตตสังยุตต์ สักกสังยุตต์ เล่ม ๑๕)
พระลักขณะเดินทางไปกับพระโมคคัลลานะผู้เห็นเปรตที่มีลักษณะแปลกๆ แต่พระลักขณะไม่เห็น พระโมคคัลลานะจึงชวนท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าๆ ทรงเล่าความเป็นมาของเปรตนั้นๆ ให้ทราบ มีทั้งหมด ๒๑ สูตร เป็นเรื่องเกี่ยวกับเปรตล้วนๆ
(ลักขณสังยุตต์ เล่ม ๑๖)
กล่าวถึงเทพบุตรและเทพธิดาเล่ากรรมดีในอดีตที่ทำให้ตนได้เกิดในวิมาน มีทั้งหมด ๘๕ เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ล้วนๆ
(วิมานวัตถุ เล่ม ๒๖)
กล่าวถึงกรรมชั่วที่ส่งผลให้ผู้ทำไปเกิดเป็นเปรต ได้รับความทุกข์ทรมานในลักษณะต่าง ๆ กัน มี ทั้งหมด ๕๑ เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเปรต
(เปตวัตถุ เล่ม ๒๖)
สำหรับมิจฉาทิฏฐิในมโนทุจริตนี้ มุ่งหมายเอา"นิยตมิจฉาทิฏฐิ" ๓ ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบทได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่นนั้น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ประการ คือ
๑. นัตถิกทิฏฐฺ มีความเห็นว่า ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้น ย่อมไม่มีความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีก ในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิด ชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด ๑๐ อย่าง คือ
๑. เห็นว่า การให้ทานไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๒. เห็นว่า การบูชาต่างๆ ไม่ได้รับผล
๓. เห็นว่า การต้อนรับเชื้อเชิญไม่ได้รับผล
๔. เห็นว่า การทำดี ทำชั่วไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
๕. เห็นว่า ผู้มาเกิดในภพนี้ไม่มี
๖. เห็นว่า ผู้ไปเกิดในภพหน้าไม่มี
๗. เห็นว่า คุณมารดาไม่มี
๘. เห็นว่า คุณบิดาไม่มี
๙. เห้นว่า สัตว์ที่ผุดเกิดเติบโตในทันที คือ สัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
๑๐. เห็นว่า สมณะพราหมณ์ ที่รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง และสามารถแนะนำชี้แจงสมณะพราหมณ์ ที่ถึงพร้อมความสามัคคี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นั้นไม่มี
ผู้มีนัตถิกะทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธผล" ซึ่งเท่ากับปฏิเสธอำนาจกุศล อกุศลเจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่างๆด้วย
๒. อเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงว่า ชนกเหตุ คือเหตุให้เกิด และอุปถัมภกเหตุ คือ เหตุช่วยอุปถัมภ์ ให้สัตว์ทั้งหลายมีความเศร้าหมอง ลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเศร้าหมองและลำบากอยู่นั้น ก็ไม่มีชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด เหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความลำบากกาย ลำบากใจนั้นไม่มี และสัตว์ทั้งหลายที่มีความบริสุทธิ์ พ้นจากความลำบากกายใจได้นั้น ไม่เกี่ยวกับชนกเหตุ และอุปถัมภกเหตุแต่อย่างใด
ผู้มีอเหตุกทิฏฐินี้ มีความเห็น"ปฏิเสธเหตุ"ไม่เชื่อว่ากรรมดี หรือกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้ ผู้ที่ปฏืเสธเหตุ เท่ากับเป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ดังสามัญผลสูตร อรรถกถาว่า "ผู้ที่เห็นว่า ความสุขทุกข์ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุ ก็เท่ากับว่า เป็นการปฏิเสธเหตุ และผล ไปพร้อมกันด้วย"
๓. อกิริยทิฏฐิ มีความเห็นว่า การกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่สำเร็จเป็นบาป บุญแต่ประการใด ในสามัญผลสูตรแสดงว่า
ผู้ที่มีความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การทำดี ทำชั่วของสัตว์ทั้งหลาย จะทำเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป หรือฆ่สัตว์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม ลักทรัพย์ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ก็ตาม ไม่ได้ชื่อว่าเป็นบุญ บาป
ความเห็นผิดชนิดอกิริยทิฏฐินี้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกรรม อันเป็นตัวเหตุ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่า ปฏิเสธผลของกรรมด้วย ดังในสามัญผลสูตร อรรถกถาแสดงว่า
"เมื่อปฏิเสธการการทำบาป บุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการทำบาป บุญนั้นด้วย"
นิยตมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นความเห็นผิดชนิดที่สามารถส่งผล ให้เกิดใน"นิรยภูมิ"อย่างแน่นอน แม้พระพุทธองค์ก็โปรดไม่สำเร็จ (นิรยภูมิ - สัตว์นรก)
(บางส่วนคัดจากหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ)