สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 24
ยังมีคนจับประเด็นไม่ได้บางท่านนะครับ เลยขออนุญาติหารือยิ่งขึ้นไปอีก
ถ้าพิจารณาตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
จากคำถามว่า "กรรมที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตาได้อย่างไร ?"
จึงเป็นคำถามที่ผู้ถามนั้น ยังมีความเห็นที่ผิดไปจากความจริง
เพราะอัตตานั้นไม่มี แต่ผลของกรรมนั้นมีแน่ ก็คือในฝั่งของวิปากวัฏดังในภาพครับ
ถ้าอัตตา ตัวตน เราเขา มีจริงๆ อัตตานี้จะเป็นตัวยืนโรงอยู่นอกเหนือบุญและบาป กฏแห่งกรรมจะครอบคลุมไปไม่ถึงตัวอาตตมัน
เพราะเขาจะเป็นตัวที่เวียนว่ายตายเกิด และจะคอยเป็นผู้เสวยรับผลกรรมทั้งดีและชั่วแบบที่ท่านพระสาติภิกษุกล่าวไว้ใน
มหาตัณหาสังขยสูตร
"พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ-
*บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ
เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย
ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ
ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน."
พระพุทธองค์ทรงเรียกพระสาติว่าโมฆะบุรุษ
เพราะพระสาติภิกษุ ทึกทักเอาวิญญาณนั้นแหละเป็นตัวอาตมัน
ซึ่งแนวความคิดแบบนี้ ปัจจุบันคนไทยโดยส่วนมาก กำลังเป็นกันอยู่
พระภิกษุในปัจจุบันบางสำนักสอนธรรม อาจจะเลี่ยงไปใช้คำว่า "สัตว์" แทน
แต่โดยนัยยะแล้ว ก็ยังคงไว้ซึ่งแนวคิด "อาตมัน" แบบฮินดูอยู่นั่นเองครับ
ความแตกต่างของพุทธศาสนาก็คือ ตัววิญญาณและนามรูปดังในภาพนั่นเลย
เริ่มกันที่ตรงนั้นเลยที่เป็นผลของกรรมแล้ว วิญญาณ+นามรูป = ผลของกรรม
เป็นผลของอดีตเหตุที่ได้ทำไว้นั่นเอง ไม่ใช่มีตัวอะไรตัวใดตัวหนึ่งที่เวียนว่ายตายเกิด
แต่การเวียนว่ายตายเกิดแบบพุทธศาสนา มันก็คือผลของกรรมที่ตนได้เคยกระทำเอาไว้มันส่งผล
เมื่อเหตุมีแล้ว ตนตายลง ก็ส่งผลให้วิญญาณ+นามรูป ซึ่งก็คือขันธ์ 5 เกิดสืบต่อขึ้นมาอีก
ตัวอะไรเป็นตัวไปเกิด
คำตอบก็คือไม่มีตัวอะไรไปเกิด เพราะถ้าพูดว่ามีตัวอะไรไปเกิด
มันก็จะไม่ตรงตามสภาวะ
แต่ถ้าพูดว่า มีขันธ์ 5 ชุดใหม่เกิดขึ้นอีก
และขันธ์ 5 ชุดใหม่นั่นเอง เป็นผลมาจากกรรม หรืออดีตเหตุ
เป็นผลของกรรมที่ได้เคยกระทำเอาไว้
ดังนั้น ขันธ์ 5 ชุดใหม่ที่เกิดขึ้น จึง เป็นทายาทแห่งกรรม โดยแท้
ดังพระพุทธดำรัสตรัสสอนเอาไว้ว่า
ทายาทแห่งกรรม
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ
ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ"
อนุโมทนาบุญท่านผู้อ่าน.
ถ้าพิจารณาตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
จากคำถามว่า "กรรมที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตาได้อย่างไร ?"
จึงเป็นคำถามที่ผู้ถามนั้น ยังมีความเห็นที่ผิดไปจากความจริง
เพราะอัตตานั้นไม่มี แต่ผลของกรรมนั้นมีแน่ ก็คือในฝั่งของวิปากวัฏดังในภาพครับ
ถ้าอัตตา ตัวตน เราเขา มีจริงๆ อัตตานี้จะเป็นตัวยืนโรงอยู่นอกเหนือบุญและบาป กฏแห่งกรรมจะครอบคลุมไปไม่ถึงตัวอาตตมัน
เพราะเขาจะเป็นตัวที่เวียนว่ายตายเกิด และจะคอยเป็นผู้เสวยรับผลกรรมทั้งดีและชั่วแบบที่ท่านพระสาติภิกษุกล่าวไว้ใน
มหาตัณหาสังขยสูตร
"พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ-
*บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ
เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย
ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ
ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน."
พระพุทธองค์ทรงเรียกพระสาติว่าโมฆะบุรุษ
เพราะพระสาติภิกษุ ทึกทักเอาวิญญาณนั้นแหละเป็นตัวอาตมัน
ซึ่งแนวความคิดแบบนี้ ปัจจุบันคนไทยโดยส่วนมาก กำลังเป็นกันอยู่
พระภิกษุในปัจจุบันบางสำนักสอนธรรม อาจจะเลี่ยงไปใช้คำว่า "สัตว์" แทน
แต่โดยนัยยะแล้ว ก็ยังคงไว้ซึ่งแนวคิด "อาตมัน" แบบฮินดูอยู่นั่นเองครับ
ความแตกต่างของพุทธศาสนาก็คือ ตัววิญญาณและนามรูปดังในภาพนั่นเลย
เริ่มกันที่ตรงนั้นเลยที่เป็นผลของกรรมแล้ว วิญญาณ+นามรูป = ผลของกรรม
เป็นผลของอดีตเหตุที่ได้ทำไว้นั่นเอง ไม่ใช่มีตัวอะไรตัวใดตัวหนึ่งที่เวียนว่ายตายเกิด
แต่การเวียนว่ายตายเกิดแบบพุทธศาสนา มันก็คือผลของกรรมที่ตนได้เคยกระทำเอาไว้มันส่งผล
เมื่อเหตุมีแล้ว ตนตายลง ก็ส่งผลให้วิญญาณ+นามรูป ซึ่งก็คือขันธ์ 5 เกิดสืบต่อขึ้นมาอีก
ตัวอะไรเป็นตัวไปเกิด
คำตอบก็คือไม่มีตัวอะไรไปเกิด เพราะถ้าพูดว่ามีตัวอะไรไปเกิด
มันก็จะไม่ตรงตามสภาวะ
แต่ถ้าพูดว่า มีขันธ์ 5 ชุดใหม่เกิดขึ้นอีก
และขันธ์ 5 ชุดใหม่นั่นเอง เป็นผลมาจากกรรม หรืออดีตเหตุ
เป็นผลของกรรมที่ได้เคยกระทำเอาไว้
ดังนั้น ขันธ์ 5 ชุดใหม่ที่เกิดขึ้น จึง เป็นทายาทแห่งกรรม โดยแท้
ดังพระพุทธดำรัสตรัสสอนเอาไว้ว่า
ทายาทแห่งกรรม
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ
ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ"
อนุโมทนาบุญท่านผู้อ่าน.
ความคิดเห็นที่ 16
ส่วนใหญ่ที่อธิบายๆก็เข้าใจไม่ผิดนักหรอกแค่ไม่ได้ลงรายละเอียกว่าอธิบายใคร
ใช้สัมมาทิฎฐิแบบไหนมีจุดมุ่งหมายอะไร มันต้องเริ่มจาก
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่
เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ
ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
(อุปธิ แปลว่า ความพัวพัน, เหตุของการเวียนเกิด.)
....
อธิบาย
โดย สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ใช้สอนปุถุชน ฆาราวาส เพื่อให้ทราบปัจจับในการไปเกิดดี
ความเชื่อว่าหลังตาย จะมีอะไรสักอย่างไปเกิดอยู่ หรือไปรับกรรมอยู่ ก็มีในปิฎกเหมือนกัน เช่น
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=6023
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=6343&Z=6356
(จบพระสูตรแบบมีตัวไปเกิดใหม่เต็มที่คือ)
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
-----------------------
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น
โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง
สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น
มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
(โลกุตระ แปลว่า พ้นโลกไม่เวียนเกิดอีก)
....
อธิบาย
โดย ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ สอนภิกษุ เพื่อพ้นโลกเป็นโลกุตตระ
และ
ที่โดนเรียกว่า โมฆบุรุษ นะเพราะเป็นภิกษุ ถ้าเป็นฆาราวาสไม่เรียกหรอกเพราะใช้ สัมมาทิฎฐิอย่างที่ 1
มันมีเรื่อง ถามตอบ รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? นี้ใน พระสุตตันตปิฎก หลายสูตรนะแต่ส่วนใหญ่ไม่ใช้กับฆาราวาส
ถ้าใช้สอนก็จะจบด้วยการบวช
ธรรมนี้โดยหลักๆก็จะอธิบายปฎิจสมุปบาท เหตุปัจจัยให้เกิด หรือดับ
เช่น
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=431&Z=505
https://84000.org/tipitaka/read/?17/198-207
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=17&A=2447
-----------------------------
อธิบาย
ระดับ สัมมาทิฎฐิ ในเรื่องกรรมและผลของกรรมนี้ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ถ้ามีปัจจัยให้เกิดไปรับกรรมอยู่ก็ เกิด
"เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ +++"
ถ้าไม่มีปัจจัยให้เกิดก็ไม่เกิด ดับสนิท
"ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา + + +"
ความเห็นผิดสองอย่าง
เกิดแน่ๆ มีตนแน่ๆ(สัสสตทิฏฐิ) หรือ ดับสูญแน่ๆ ไม่มีตนแน่ๆ (อุจเฉททิฏฐิ)
แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย(สัมมาทิฎฐิ2อย่าง)
การเกิดเองก็มีสองอย่าง เกิดตามที่ปุถุชนเข้าใจ กับ เกิดในปฎิจสมุปบาท
(ความหมายแยกกันถ้าไม่เข้าใจธรรม , รวมกันถ้าเข้าใจธรรม )
สอนคนๆละกลุ่มกัน
1ปุถุชนมุ่งที่เกิดดีไม่ไปเกิด อบาย ทุคติ นรก
2คนที่จะมุ่งเป็นอริยะไม่เกิดอีก
--------------------
ตัวอย่าง อเจลกัสสป ไม่ถูกเรียกว่า โมฆบุรุษ นะเพราะไม่เป็นภิกษุในศาสนาพุทธ
อเจล เป็นคำเรียกนักบวชต่างศาสนา คือมุ่งจะนิพพานแต่ยังไม่รู้ทาง ไม่ใช่ปุถุชนทั่วไปคนที่กะจะเวียนเกิดอีก
ตัวอย่างนี้ อธิบายมิจจาทิฎฐิ 2 อย่างในแง่มุมรายละเอียดของการเกิดในปฎิจสมุปบาทไว้น่าสนใจ
จึงอธิบายด้วย ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ เพื่อชี้ทางให้ผู้ฟังที่เป็นปุถุชนนอกศาสนาออกบวชในศาสนา
ไม่ อธิบายแบบ ๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ มันไม่ตรงเป้าหมายของผู้ฟัง
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=431&Z=505
[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระโคดมมากนัก ฯ
ภ. ดูกรกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด ฯ
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น
กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป ฯ
ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ ฯ
ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ฯ
ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ
ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ผู้อื่น
กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้า
ถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้
หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า
ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์
มีอยู่ กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็น
ความทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์
อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกความทุกข์
แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงความทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วย ฯ
[๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป
เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่น
ผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำเองดังนี้
อันนี้เป็นสัสสตทิฐิไป
เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่าผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวย
เป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ดังนี้
อันนี้เป็นอุจเฉททิฐิไป
ดูกรกัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละ
ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ...
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ...(มีต่อจนออกบวช )
--------------
การอธิบายใน PANTIP มันเลยปนๆกันมั่วไปหมดเพราะพูดคำเดียวกันคนละความหมาย
บางที่คนละคำแต่ความหมายใกล้ๆกันแค่คนละครูอธิบาย
บางทีคนละกลุ่มเป้าหมาย ระดับความเข้าใจ การยอมรับ จึงไม่ตรงกัน
คำถามต่างๆมันเลยเกิดมั่วไปหมด
เท่าที่อ่านๆถ้าเข้าใจก็ไม่ ส่วนใหญ่ที่อธิบายๆก็เข้าใจไม่ผิดนักหรอก แค่อัตตามันเยอะ
ใช้สัมมาทิฎฐิแบบไหนมีจุดมุ่งหมายอะไร มันต้องเริ่มจาก
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่
เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ
ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
(อุปธิ แปลว่า ความพัวพัน, เหตุของการเวียนเกิด.)
....
อธิบาย
โดย สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ใช้สอนปุถุชน ฆาราวาส เพื่อให้ทราบปัจจับในการไปเกิดดี
ความเชื่อว่าหลังตาย จะมีอะไรสักอย่างไปเกิดอยู่ หรือไปรับกรรมอยู่ ก็มีในปิฎกเหมือนกัน เช่น
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=6023
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=6343&Z=6356
(จบพระสูตรแบบมีตัวไปเกิดใหม่เต็มที่คือ)
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
-----------------------
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น
โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง
สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น
มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
(โลกุตระ แปลว่า พ้นโลกไม่เวียนเกิดอีก)
....
อธิบาย
โดย ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ สอนภิกษุ เพื่อพ้นโลกเป็นโลกุตตระ
และ
ที่โดนเรียกว่า โมฆบุรุษ นะเพราะเป็นภิกษุ ถ้าเป็นฆาราวาสไม่เรียกหรอกเพราะใช้ สัมมาทิฎฐิอย่างที่ 1
มันมีเรื่อง ถามตอบ รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? นี้ใน พระสุตตันตปิฎก หลายสูตรนะแต่ส่วนใหญ่ไม่ใช้กับฆาราวาส
ถ้าใช้สอนก็จะจบด้วยการบวช
ธรรมนี้โดยหลักๆก็จะอธิบายปฎิจสมุปบาท เหตุปัจจัยให้เกิด หรือดับ
เช่น
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=431&Z=505
https://84000.org/tipitaka/read/?17/198-207
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=17&A=2447
-----------------------------
อธิบาย
ระดับ สัมมาทิฎฐิ ในเรื่องกรรมและผลของกรรมนี้ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ถ้ามีปัจจัยให้เกิดไปรับกรรมอยู่ก็ เกิด
"เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ +++"
ถ้าไม่มีปัจจัยให้เกิดก็ไม่เกิด ดับสนิท
"ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา + + +"
ความเห็นผิดสองอย่าง
เกิดแน่ๆ มีตนแน่ๆ(สัสสตทิฏฐิ) หรือ ดับสูญแน่ๆ ไม่มีตนแน่ๆ (อุจเฉททิฏฐิ)
แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย(สัมมาทิฎฐิ2อย่าง)
การเกิดเองก็มีสองอย่าง เกิดตามที่ปุถุชนเข้าใจ กับ เกิดในปฎิจสมุปบาท
(ความหมายแยกกันถ้าไม่เข้าใจธรรม , รวมกันถ้าเข้าใจธรรม )
สอนคนๆละกลุ่มกัน
1ปุถุชนมุ่งที่เกิดดีไม่ไปเกิด อบาย ทุคติ นรก
2คนที่จะมุ่งเป็นอริยะไม่เกิดอีก
--------------------
ตัวอย่าง อเจลกัสสป ไม่ถูกเรียกว่า โมฆบุรุษ นะเพราะไม่เป็นภิกษุในศาสนาพุทธ
อเจล เป็นคำเรียกนักบวชต่างศาสนา คือมุ่งจะนิพพานแต่ยังไม่รู้ทาง ไม่ใช่ปุถุชนทั่วไปคนที่กะจะเวียนเกิดอีก
ตัวอย่างนี้ อธิบายมิจจาทิฎฐิ 2 อย่างในแง่มุมรายละเอียดของการเกิดในปฎิจสมุปบาทไว้น่าสนใจ
จึงอธิบายด้วย ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ เพื่อชี้ทางให้ผู้ฟังที่เป็นปุถุชนนอกศาสนาออกบวชในศาสนา
ไม่ อธิบายแบบ ๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ มันไม่ตรงเป้าหมายของผู้ฟัง
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=431&Z=505
[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระโคดมมากนัก ฯ
ภ. ดูกรกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด ฯ
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น
กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป ฯ
ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ ฯ
ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ฯ
ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ
ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ผู้อื่น
กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้า
ถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้
หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า
ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์
มีอยู่ กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็น
ความทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์
อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกความทุกข์
แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงความทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วย ฯ
[๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป
เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่น
ผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำเองดังนี้
อันนี้เป็นสัสสตทิฐิไป
เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่าผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวย
เป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ดังนี้
อันนี้เป็นอุจเฉททิฐิไป
ดูกรกัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละ
ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ...
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ...(มีต่อจนออกบวช )
--------------
การอธิบายใน PANTIP มันเลยปนๆกันมั่วไปหมดเพราะพูดคำเดียวกันคนละความหมาย
บางที่คนละคำแต่ความหมายใกล้ๆกันแค่คนละครูอธิบาย
บางทีคนละกลุ่มเป้าหมาย ระดับความเข้าใจ การยอมรับ จึงไม่ตรงกัน
คำถามต่างๆมันเลยเกิดมั่วไปหมด
เท่าที่อ่านๆถ้าเข้าใจก็ไม่ ส่วนใหญ่ที่อธิบายๆก็เข้าใจไม่ผิดนักหรอก แค่อัตตามันเยอะ
แสดงความคิดเห็น
กรรมที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตาได้อย่างไร ?
[๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร? ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา มีใจถูกตัณหา
ครอบงำ จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร? นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถามในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศ
นั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยง
พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบ
ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.
กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้คำถาม แต่เป็นกระทู้สนทนานะครับ และเรียนเชิญผู้สนใจที่เป็นสมาชิกในระดับต่างๆ
เข้าร่วมสนทนาได้เลยครับ
อ่านสูตรเผินๆ เหมือนปฏิเสธชาติหน้าใช่ไหมครับ ?
ความจริงแล้ว พระองค์ไม่ได้ตรัสตอบปัญหานั้นเลย แต่พระองค์เรียกผู้ถามนั้นว่า "โมฆะบุรุษ"
มีหลายท่านในพระไตรปิฎกที่ถูกตราหน้าว่าโมฆะบุรุษ ส่วนมากเป็นผู้ที่ทำให้พระธรรมเสื่อมทรามลง
และไม่สามารถจะเป็นผู้บรรลุ มรรคผล นิพพานได้ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย แสดงธรรมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิสอนผู้อื่นด้วย
ประเด็นคือ การถามว่า กรรมที่ขันธ์กระทำ ผลกรรมจะกลับมาสู่ตนได้อย่างไรนั้น เป็นคำถามของมิจฉาทิฏฐิบุคคล
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นคำถามของโมฆะบุรุษนั่นเอง
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสแก้ทิฏฐิให้ว่า ขันธ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ......ตามลำดับ
เพื่อละคลายความยึดมั่น ถือมั่นในสัตว์-บุคคล ตัวตน เราเขา (สัตว์-บุคคลนะ ไม่ใช่สัตว์ผู้ยึดติด มันคนละอย่างกัน)
นี่ไม่ใช่การเลี่ยงตอบ และไม่ใช่พระพุทธศาสนาขาดความชัดเจนใน "กรรม-อนัตตา"
แต่ยิ่งชัดเจนว่า อัตตาหรืออาตมันนั้น ไม่มีในพระพุทธศาสนา
แล้วกรรมทำงานอย่างไร ?
พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้มากมายในพระไตรปิฎกแล้ว ว่าหลักกรรม-ผลกรรมนั้น
ก็คือหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เป็นหลักเหตุปัจจัยแบบถ้าเหตุมี ผลย่อมเกิดขึ้น
ไม่ใช่พระพุทธศาสนาไม่มีคำตอบในเรื่องเหล่านี้นะครับ เพราะมีเรื่องปฏิจจสมุปบาท
แทบจะทุกสูตรเลยก็ว่าได้ ก็คือเรื่องเหตุ-ปัจจัย นั่นเองครับ
อนัตตาก็อนัตตา สืบต่อกันไปได้ในแบบอนัตตา
เพราะขันธ์ 5 นั้นเกิดดับ-อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องมีอัตตามารับผลใดๆ เลย
เพราะขันธ์ 5 อันเป็นอนัตตานั่นแหละ เป็นผลของกรรมโดยตัวมันเองแล้ว
นอกจากเป็นผลของกรรมแล้ว มันยังมีความสามารถในการยืนเดินนั่งนอน และกระทำกรรมใดๆ ได้อีกด้วย
เมื่อขันธ์กระทำกรรม กรรมก็ส่งผลให้ขันธ์เกิดขึ้น
เมื่อขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์ก็กระทำกรรม และกรรมก็ส่งผลให้ขันธ์เกิดขึ้นอีก
จะเป็นแบบนี้เรื่อยไปเรียกว่าสังสารวัฏ
เมื่ออธิบายแบบนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องมี "อัตตา" มายืนโรงเพื่อเป็นตัวเวียนว่ายตายเกิด
เพราะสภาพธรรมของปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้นั้น ก็ครบองค์แห่งขันธ์ 5 แล้ว
เป็นคนๆ หนึ่งได้แล้ว ตัวอย่าง
"๑. สุตตันตภาชนีย์
[๒๒๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้"
ข้อที่ผู้อ่านพึงสังเกตุ
คือปฏิจจสมุปบาทนั้น มีครบทั้งสามฝ่ายเรียบร้อยแล้ว คือ
1.กิเลส
2.กรรม
3.วิบาก
ไม่จำเป็นต้องมีอัตตามาคอยกระทำกรรม และมาคอยรับผลของกรรม
และพระพุทธเจ้านั้น ท่านตรัสชัดเจนแล้ว ว่าอนัตตากระทำกรรมแล้วอนัตตาจะรับผลกรรมได้อย่างไร
ทุกคำตอบมีอยู่ในปฏิจจสมุปบาททั้งหมด และท่านตรัสสอนเอาไว้มากมายในพระไตรปิฎก
คนที่มั่วไม่รู้ว่าพระองค์สอนแล้ว และสอนเอาไว้มากมายนั้น ล้วนกำทิฏฐิของตนเอาไว้แน่น
ขณะที่อ่านพระไตรปิฎกนั่นเอง จึงไม่เห็นความต่างตรงนี้อย่างชัดเจน
ก็เหมือนกับภิกษุผู้ถามว่า อนัตตากระทำกรรม แล้ววิบากกรรมจะตกถึงอัตตาได้อย่างไร นั่นแหละ
ตัวเองสงสัยก็เพราะตัวเองยังไม่ทิ้งสักกายะทิฏฐิ ยังไม่ทิ้งความเห็นว่ามีตัวตนเที่ยงแท้ถาวรในขันธ์ 5
อนุโมทนาทุกท่าน.