ข้าวไร่ "พันธ์เล็บนกสารแดง" พันธ์ข้าวใช้น้ำน้อย

ข้าวไร่ "พันธ์เล็บนกสารแดง" พันธ์ข้าวใช้น้ำน้อยที่รัฐบาลถามหา แวะเวียนไปดูกันได้แถวบ้านท่าน้อย-บ้านเขาดิน อ.ขนอม เมืองคอน
ประมาณเดือนอ้ายถึงเวลาเก็บเกี่ยว.. รวมระยะเวลาปลูกจากเดือนเก้าถึงเดือนอ้ายประมาณ 4 เดือน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมากหว่านให้มั้งพอเป็นพิธี ไม่ต้องรดน้ำ ไม้ต้องขังน้ำ ไม่ต้องจ้างไถ ไม่ต้องจ้างดำ ไม่ต้องจ้างเก็บ ออกปากอย่างเดี่ยว พันธ์ข้าวไม้ต้องซื้อจากพ่อค้า ขอเอาจากเพื่อนบ้าน อุปกรณ์ก็มีเท่าที่เห็น กับข้าว เปลือก 2 ถัง ในเนื้อที่ 7 ไร่ งานนี้มีข้าวให้เก็บประมาณ 2-300 ถัง
มีแต่ได้กับได้ ต้นทุนกะถูก แต่โทดที่ครับ ข้าวที่ปลูกขายดี แบบไม่พอขาย ต้องจองกันล่วงหน้า ..
................................
ข้าวไร่ คือข้าวปลูกกันในที่ดอนน้ำไม่ท่วม ส่วนพันธ์ข้าวที่นิยมปลูกมีอยู่หลายสายพันธ์ มีทั้งสายพันธ์ข้าวเหนียวและสายพันธ์ข้าวจ้าว ซึ่งเป็นสายพันธ์ข้าวท้องถิ่น ปัจจุบันเหลือปลูกกันไม่กี่สายพันธ์โดยเรียกรวมกันว่าพันธ์ข้าวไร่ ที่บ้านเขาดิน-บ้านท่าน้อย อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ถิ่นนี้ นิยมปลูกข้าวไร่กันมาก เห็นที่ว่างเป็นไม่ได้ ส่วนพันธ์ที่ใช้ปลูกละแวกนี้นิยมพันธ์ “เล็บนกสารแดง”

วิธีการปลูกก็ไม่ยากครับ ประมาณเดือน 8 ชาวบ้านที่พอมีที่ว่างแสงแดดส่องถึง อย่างส่วนยางที่ปลูกใหม่อายุยางไม่เกิน 4 ปี หรือทรงพุ่มยางยังไม่ชนกัน หรือหักล้างถางป่าที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง ตัดหญ้าให้เตียนโล่ง (ตัดถึงดิน)  ทิ้งไว้ให้หญ้าแห้ง หลังจากกวาดทั้งหญ้าและดินมาเผาเป็นมายาต่อไป (เป็นปุ๋ย)

ขั้นตอนการปลูกก็ไม่ยุ่งยากครับ ตัดไม้ไปมาทำบอก (เหมือนกระบอกน้ำ) เอาข้าวเปลือกใส่ในบอก ข้าวเปลือกที่หนำหรือปลูกไม่ต้องแช่น้ำ เอาไม้สัก 2 อัน ที่ทำจากลวดไม้ (ต้นไม้ขนาดประมาณเท่าข้อมือยาวประมาณ 2 เมตร)  เหลียมปลายไม้พอพ้าน ๆ กะประมาณว่าพอสัก(ปักไม้ลงดิน)ลงดินแล้วมีความลึกประมาณ 2 ข้อมือ  หลังจากนั้นจึงไปออกปากสาว ๆ หรือเพื่อนบ้านมาช่วยหยอดข้าวเปลือกสักคน หาจุดเริ่มต้นจากริมสวน สักหรือหน่ำไม้ลงดิน ซ้ายทีขวาที สักถอยหลังไปเรื่อย ส่วนสาวเจ้าที่ออกปากมาก็จะก้ม ๆ เงย ๆ หยอดข้าวเปลือกเดินหน้า
“คนสักถอยหลัง คนหยอดเดินหน้า”
ให้มีความห่างระหว่างหลุมพองาม ประมาณ 2 คืบ ถึง 1 ศอก เทเมล็ดข้าวเปลือกจากกระบอกหยอดลงหลุมประมาณ 5-6 เมล็ด ทำอย่างนี้ไปเรื่อย จนหมดพื้นที่ ที่เตรียมดินไว้ ต่อจากนั้นหากิ่งไม้ทั้งใบหรือทางหมากกวาดดินและเศษหญ้าปิดหลุม เป็นอันเสร็จขั้นตอนการหน่ำข้าวไร่
การดูแล น้องหมูที่เล่าให้ฟังบอกว่า หลังจากนั้นปล่อยให้เป็นเรื่องของเทวดาเป็นผู้ดูแลแทน จะเข้าไปดู ก็ตอนนกเขานกมากินข้าวเปลือก “ไปหยิกนกเขา” ส่วนลูกหญ้าที่งอกมาหลังจากหน่ำข้าว “งอกก่อนต้นข้าว” เขาใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดเผาไหม้ ผสมอ่อน ๆ ฉีดพ่นบาง ๆ เพื่อคุมลูกหญ้า เป็นการทำหญ้าครั้งแรกและครั้งเดียว

ฤดูกาลที่นิยมปลูก อยู่ระหว่างเดือน 8-9 ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงฝนตกของทางใต้ เพื่อให้ได้เก็บตอนเดือนอ้ายหรือเดือนยี่ ช่วงที่ผมไปเก็บภาพมาฝากชาวเรา ระหว่างนั่งคุยกับน้องบ่าวได้กลิ่นหอมมาหรุ่ย ๆ น้องหมู ว่าข้าวกำลังทั้งท้องอ่อน ๆ อีกประมาณ  2 เดือนน่าจะได้เก็บเกี่ยว

ส่วนการดูแลอื่น ๆ น้องบ่าวบอกว่าใส่ปุ๋ยไปครั้งเดียว ใส่มากไม่ได้อ้วนเกินไปเดี่ยวต้นข้าวล้มแหม็ด  แต่ถ้าปีไหนเทวดาปล่อยน้ำฝนลงมามาก และเป็นช่วงที่ข้าวกำลังออกดอก ออกรวง ปีนั้นอาจจะได้ข้าวน้อย ไม่มีไหรมาก เกสรข้าวร่วงแหม็ด เป็นข้าวลีบไป

ถึงตอนนี้หลายท่านสงสัยว่าชาวบ้านที่ปลูกข้าวไร่เอาพันธ์ข้าวมาจากไหน น้องหมูจะคัดพันธ์ข้าวรวงงาม ๆ ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อไว้ปลูกในปีถัดไป

ครับรอถึงเดือนอ้าย แหล้วค่อยมาเล่าต่อครับ..


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่