กลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุน ตอนที่ 3 : โดย คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม

บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม

ในบทความครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึงกลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนด้วย “หุ้นเติบโต” (Growth Stock) ที่ท่านควรจัดให้มีอยู่ในพอร์ตการลงทุนของท่านไปบางส่วนแล้ว

ท่านสามารถติดตามอ่านบทความก่อนหน้าได้จาก facebook หรือ blog ของผมได้ครับ

สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงการพิจารณาค่า P/E (Price-Earnings Ratio) เพื่อดูว่าหุ้นนั้นมีราคาแพงเกินไปแล้วหรือยัง โดยการประเมินหาค่า P/E อย่างคร่าวๆ ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ เป็นเทคนิคส่วนตัวที่ผมคิดค้นขึ้นมาเอง ไม่มีในตำราหรือหลักวิชาการอ้างอิงแต่อย่างใด ดังนั้นท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อเพียงแต่ให้ท่านทราบเท่านั้นว่าเป็นวิธีการหาค่า  P/E ที่ควรจะเป็นอย่างคร่าวๆของผม ที่ผมใช้อย่างได้ผลมาจนถึงทุกวันนี้  ท่านจะนำเทคนิควิธีการนี้ไปใช้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตัวท่านเองครับ

ค่าที่ได้นั้นเป็นการประเมินที่ได้จากค่า P/E ของหมวดอุตสาหกรรม และ ค่า P/E ของตลาด ซึ่งจะใช้เป็นเกณฑ์มาตราฐานสำหรับการประเมินค่า P/E อย่างคร่าวๆในหมวดอุตสาหกรรมที่เราสนใจสำหรับหุ้นที่จัดเป็นประเภท  “หุ้นเติบโต” (Growth Stock)  เท่านั้น

เมื่อท่านเข้ามาที่หน้า  “Factsheet” ของหุ้นตัวที่ท่านกำลังสนใจอยู่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามรูปด้านล่าง



ให้ท่านเลื่อนลงมาดูข้อมูลค่า “P/E” ที่อยู่ด้านล่างต่อจากรูปกราฟ


ให้ท่านนำค่า “เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” จากรูปคือค่า 24.95  และค่า “เปรียบเทียบตลาด (%)” จากรูปคือค่า 20.48 มาเข้าสูตรการคำนวณซึ่งจะแยกเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีที่ค่า P/E  ของ “เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” กับ “เปรียบเทียบตลาด (%)” มีค่าต่างกันมากกว่า 1 เท่าตัว

จะใช้สูตร

A = ( “P/E เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” + “P/E เปรียบเทียบตลาด (%)”) / จำนวนไตรมาสใน 1 ปี

โดยที่ จำนวนไตรมาสใน 1 ปี = 4 ไตรมาส   ซึ่งเมื่อได้ค่า A แล้วก็นำค่า A มาเข้าสูตร


ทั้งนี้ อัตราการเจริญเติบโตของกิจการที่คาดว่าจะเป็น (%) ของหุ้นเติบโตมักจะมีค่าอยู่ระหว่าง 10% ถึง 30% ดังนั้นค่ากลางที่ผมมักจะใช้คือ 20%


เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นผมจะยกตัวอย่างจากข้อมูลของหุ้น PTG ตามตารางด้านล่างนี้


จากตารางจะเห็นว่า “เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” กับ “เปรียบเทียบตลาด (%)” มีค่าแตกต่างกันมากกว่า 1 เท่าตัว คือ 111.70 กับ 20.47 ตามลำดับ เราก็นำค่าที่ได้มาเข้าสูตรเพื่อหาค่า A ก่อน

A = ( “P/E เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” + “P/E เปรียบเทียบตลาด (%)”) / จำนวนไตรมาสใน 1 ปี

ซึ่งจะทำให้ได้ค่า A เท่ากับ  33.04  ได้มาจาก   A = ( 111.70 + 20.47 ) / 4   เมื่อได้ค่า A แล้วก็จะมาหาค่า P/E ต่อจากสูตร


ซึ่งจะทำให้ได้ค่า P/E เท่ากับ 39.67 ได้มาจาก    P/E = 33.04 + ((33.04 x 20)/100)  

ผลลัพธ์ที่ได้มีความหมายว่า หุ้นที่จัดเป็น “หุ้นเติบโต” (Growth Stock) ในหมวดอุตสาหกรรมนี้ ควรจะมีค่า P/E ไม่เกิน 39.67

ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบค่า P/E ของหุ้น PTG ที่ได้รับการประเมินจากโบรกเกอร์จะมีค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 36.20



ลองมาดูอีกหนึ่งตัวอย่าง จากข้อมูลของหุ้น SPA ตามตารางด้านล่างนี้


จากตารางจะเห็นว่า “เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” กับ “เปรียบเทียบตลาด (%)” มีค่าต่างกันมากกว่า 1 เท่าตัว คือ 120.17 กับ 60.39 ตามลำดับ เราก็นำค่าที่ได้มาเข้าสูตรเพื่อหาค่า A ก่อน  ซึ่งจะทำให้ได้ค่า A เท่ากับ  45.14  ได้มาจาก   A = ( 120.17 + 60.39 ) / 4   

เมื่อได้ค่า A แล้วก็จะมาหาค่า P/E ต่อ ซึ่งจะทำให้ได้ค่า P/E เท่ากับ 54.17 ได้มาจาก    P/E = 45.14 + ((45.14 x 20)/100)  

ผลลัพธ์ที่ได้มีความหมายว่า หุ้นที่จัดเป็น “หุ้นเติบโต” (Growth Stock) ในหมวดอุตสาหกรรมนี้ ควรจะมีค่า P/E ไม่เกิน 54.17

ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบค่า P/E ของหุ้น SPA ที่ได้รับการประเมินจากโบรกเกอร์จะมีค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 52.40


จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลลัพธ์ของค่า P/E ที่เราคำนวณหาได้นั้นมีความคลาดเคลื่อนไปนั่นก็คือ ค่าของ “อัตราการเจริญเติบโตของกิจการที่คาดว่าจะเป็น (%)” ที่เรากำหนดค่าเข้าไปนั่นเอง

เป็นยังไงบ้างครับ..งงกันรึปล่าวครับ??  ในครั้งหน้าเราจะมาหาค่า P/E อย่างคร่าวๆในกรณีที่ค่า P/E  ของ “เปรียบเทียบหมวดอุตสาหกรรม (%)” กับ “เปรียบเทียบตลาด (%)” มีค่าต่างกันน้อยกว่า 1 เท่าตัว จะมีวิธีการประเมินค่า P/E อย่างคร่าวๆได้อย่างไร


ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.

บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่