ความทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ข้อหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า การประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นความทุกข์ ซึ่งสิ่งที่ไม่รักก็หมายถึงสิ่งน่าเกลียดหรือน่ากลัว หรือสิ่งที่เราไม่ได้อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ซึ่งก็มีทั้งบุคคลที่เราเกลียดชังหรือกลัว ที่เราจำเป็นพบเจอหรือต้องอยู่ร่วมด้วย หรืออาจเป็นสัตว์หรือสิ่งของที่เราไม่ชอบใจ หรืออาจเป็นสภาพที่เราไม่ชอบใจ เช่น ร่างกายพิการหรือไม่หล่อไม่สวย หรืออาจเป็นสภาพแวดล้อมที่เราไม่ชอบใจ เช่น ต้องอยู่ในบ้านที่ทรุดโทรมและมีขยะเน่าเหม็นเต็มไปหมด เป็นต้น หรือความต่ำต้อยด้อยเกียรติ หรือการถูกกักขังให้ขาดอิสรภาพ เป็นต้น คือสิ่งใดที่เราต้องประสบหรือพบเจอแล้วทำให้เราเกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สิ่งนั้นก็คือสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ตามธรรมดาแล้วชีวิตของเราก็ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าเรามีทรัพย์มาก เราก็อาจใช้ทรัพย์นั้นแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่มันก็เหมือนกับการหลบหนีปัญหาชั่วคราว เพราะไม่ช้าก็เร็วปัญหานั้นก็จะตามมาถึง แต่ถ้าไม่มีทรัพย์ปัญหานั้นก็จะตามมาถึงเร็ว
ความทุกข์จากการที่ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนี้มีสาเหตุมาจาก ความยึดถือ (อุปาทาน) ในบุคคลหรือสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั่นเอง คือจิตใจของเราได้ยึดถือว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริงๆ ดังนั้นจิตใจของเราจึงเกิดความไม่ชอบใจหรือเกลียดกลัวสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้นขึ้นมา ซึ่งความไม่ชอบใจหรือความเกลียดกลัวนี่เอง ที่ทำให้จิตใจของเราเกิดความทุกข์ทรมานใจ ที่เป็นความรู้สึกที่ทนได้ยากที่รุนแรง ที่เรียกว่าความทุกข์ใจขึ้นมา
แต่ถ้าจิตใจของเราไม่เกิดความยึดถือในบุคคลหรือสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้น จิตใจของเราก็จะไม่เกิดความไม่ชอบใจหรือเกลียดกลัวสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้น แล้วจิตใจของเราก็จะสงบเย็นได้แม้ชีวิตของเราต้องพบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้นอยู่ต่อไปก็ตาม ซึ่งวิธีปฏิบัติเพื่อที่จิตใจของเราจะได้ไม่เกิดความยึดถือนั้นก็คือต้องใช้ปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง), ศีล (ความปกติของจิต), และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) มาทำงานร่วมกันตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
ส่วนคนที่ไม่เข้าใจในหลักอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้องก็จะเข้าใจผิดว่า เมื่อเราเกิดมาแล้วก็ต้องมีความทุกข์จากการพลัดพรากเสมอ ใม่มีทางหลีกหนีพ้นได้ ดังนั้นวิธีการที่จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องไม่เกิดมาอีก จึงทำให้คนที่เข้าใจผิดนี้เกิดความเข้าใจในหลักอริยสัจ ๔ ผิดไปว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะได้ต้องมาเกิดอีก แล้วก็ทำให้คนที่เข้าใจผิดนี้ต้องทนทุกข์จากการพลัดพรากอยู่ต่อไปทั้งชีวิต
การประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นความทุกข์
ตามธรรมดาแล้วชีวิตของเราก็ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าเรามีทรัพย์มาก เราก็อาจใช้ทรัพย์นั้นแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่มันก็เหมือนกับการหลบหนีปัญหาชั่วคราว เพราะไม่ช้าก็เร็วปัญหานั้นก็จะตามมาถึง แต่ถ้าไม่มีทรัพย์ปัญหานั้นก็จะตามมาถึงเร็ว
ความทุกข์จากการที่ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนี้มีสาเหตุมาจาก ความยึดถือ (อุปาทาน) ในบุคคลหรือสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั่นเอง คือจิตใจของเราได้ยึดถือว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริงๆ ดังนั้นจิตใจของเราจึงเกิดความไม่ชอบใจหรือเกลียดกลัวสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้นขึ้นมา ซึ่งความไม่ชอบใจหรือความเกลียดกลัวนี่เอง ที่ทำให้จิตใจของเราเกิดความทุกข์ทรมานใจ ที่เป็นความรู้สึกที่ทนได้ยากที่รุนแรง ที่เรียกว่าความทุกข์ใจขึ้นมา
แต่ถ้าจิตใจของเราไม่เกิดความยึดถือในบุคคลหรือสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้น จิตใจของเราก็จะไม่เกิดความไม่ชอบใจหรือเกลียดกลัวสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้น แล้วจิตใจของเราก็จะสงบเย็นได้แม้ชีวิตของเราต้องพบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักนั้นอยู่ต่อไปก็ตาม ซึ่งวิธีปฏิบัติเพื่อที่จิตใจของเราจะได้ไม่เกิดความยึดถือนั้นก็คือต้องใช้ปัญญา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง), ศีล (ความปกติของจิต), และสมาธิ (จิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น อ่อนโยน) มาทำงานร่วมกันตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
ส่วนคนที่ไม่เข้าใจในหลักอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้องก็จะเข้าใจผิดว่า เมื่อเราเกิดมาแล้วก็ต้องมีความทุกข์จากการพลัดพรากเสมอ ใม่มีทางหลีกหนีพ้นได้ ดังนั้นวิธีการที่จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องไม่เกิดมาอีก จึงทำให้คนที่เข้าใจผิดนี้เกิดความเข้าใจในหลักอริยสัจ ๔ ผิดไปว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะได้ต้องมาเกิดอีก แล้วก็ทำให้คนที่เข้าใจผิดนี้ต้องทนทุกข์จากการพลัดพรากอยู่ต่อไปทั้งชีวิต