สอบถามผู้รู้คำว่า "น่านฟ้า" นี่มันมีข้อจำกัดด้านความสูงไหมครับ?

กระทู้คำถาม

น่านฟ้าแต่ละประเทศมีอยู่แล้วในลักษณะขอบเขตความกว้าง แต่สำหรับด้านความสูงนี่มันจำกัดไหมครับ?
เพราะไม่งั้นดาวเทียมสัญชาติอื่นๆมันโคจรผ่านน่านฟ้าไทย ก็ต้องเป็นการละเมิดน่านฟ้า
ขอความกระจ่างเรื่องนี้ด้วยครับ

และ อีกหนึ่งคำถาม น่านฟ้าสากล นับกันยังไงครับ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ตามหลักสากล นั้น จะใช้เส้น Karman line เป็นรอยต่อระหว่างอากาศ กับ เขตอวกาศครับ  คือที่ความสูง 100 กิโลเมตร
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Atmosphere_layers-en.svg/174px-Atmosphere_layers-en.svg.png

Karman line นี้คือความสูง 100 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล  โดยถือเป็นขอบเขตของชั้นบรรยากาศ กับ อวกาศ ครับ
ชื่อ Karman นี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่  Theodore von Kármán  วิศวกร และ นักฟิสิกส์ชาว  Hungarian-American
ผู้ซึ่งทำการวิจัยว่าชั้นบรรยากาศที่ความสูงระดับ 100 กิโลเมตร นี้  มีบรรยากาศเบาบางเกินไปสำหรับ Aeronautical flight
หรือ การบินด้วยอากาศยาน  ดังนั้น  น่านฟ้า จึงยุติลงที่ความสูงตามเส้นนี้ครับ   ดาวเทียมทั้งหมดจึงสามารถโคจรได้อย่างอิสระ  
โดยไม่ต้องพิจารณากฏหมายเรื่องน่านฟ้าครับ  เพราะดาวเทียมแบบ Low Earth Orbit (LEO)  ก็จะสูงเกิน 160 กิโลเมตร ++ ทั้งนั้น

นอกจากนี้  ยังมีการยึดถือตาม Chicago Convention 1944 (อนุสัญญาการบินกรุงชิคาโกปี 1944)  ที่ว่า ....
จุดสิ้นสุดของความสูงน่านฟ้า และ สิ้นสุดความรับผิดชอบด้านอากาศยาน หรือ การบินด้วยชั้นบรรยากาศโลก  คือ  
ที่ความสูงซึ่งอากาศยานไม่สามารถทำงานตามหลัก Aeronautical flight  (ทั้งเรื่อง Aerodynamics และ Engine combustion)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่