ประเทศไทยเรามีดาวเทียมเป็นของตัวเองกี่ดวงครับ และมีข้อกำหนดทางกฏหมายอย่างไร?

ประเทศไทยเรามีดาวเทียมเป็นของตัวเองกี่ดวงครับ รวมที่ขายไปให้ต่างชาติ และรวมที่เราไปซื้อของต่างชาติมาเป็นของเราด้วย (ถ้ามี) แล้วทำไมเราถึงขายดาวเทียมของเราให้ชาติอื่นไปครับ? มีค่าใช้จ่ายสูง ค่าซ่อมบำรุงสูง หรือว่าไม่คุ้มทุนครับ? แล้วในแง่รัฐศาสตร์แล้วมีข้อกฎหมายระหว่างประเทศอะไรกำหนดมั๊ยครับว่าแต่ละประเทศ สามารถมีดาวเทียมเป็นของตัวเองได้ไม่เกินกี่ดวง สามารถกำหนดวิถีโคจรให้วิ่งข้ามประเทศอื่นได้หรือไม่ ต้องขออนุญาตประเทศที่ดาวเทียมจะโคจรพาดผ่านในบริเวณอวกาศของประเทศนั้นๆด้วยหรือไม่ หรือว่ามีน่านอวกาศสากล(เหมือนน่านฟ้าสากล หรือน่านน้ำสากล)

สมมุติว่าในอนาคตผม ได้เป็นมหาเศรษฐี ผมสามารถสั่งสร้างดาวเทียมจากบริษัทเอกชน แล้วจ้างเอกชน เช่น spaceX ยิงดาวเทียมของผมขึ้นสู่วงโคจร ใช้เป็นดาวเทียมส่วนตัวได้ไหมครับ?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ประเทศไทยเรามีดาวเทียมเป็นของตัวเองกี่ดวงครับ รวมที่ขายไปให้ต่างชาติ และรวมที่เราไปซื้อของต่างชาติมาเป็นของเราด้วย (ถ้ามี)
ส่วนของดาวเทียมไทยคม  ก็ตามนี้เลยครับ


นอกจากดาวเทียมไทยคม  เราก็ยังมีดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศอีก คือ ดาวเทียมไทยโชต 1
ซึ่งใช้ในโครงการ THEOS (Thailand Earth Observation Satellite)  และกำลังจะมี ดาวเทียมไทยโชต 2 ในเร็ว ๆ นี้ครับ

แล้วทำไมเราถึงขายดาวเทียมของเราให้ชาติอื่นไปครับ? มีค่าใช้จ่ายสูง ค่าซ่อมบำรุงสูง หรือว่าไม่คุ้มทุนครับ?
การขายหุ้นของบริษัทไทยคมให้บริษัททางสิงคโปร์  เป็นเรื่องทางธุรกิจน่ะครับ  และบริษัทไทยคม เอง
ก็ยังถือหุ้นอยู่เกินครึ่งนิดหน่อย  เรื่องราวโดยละเอียดเดี๋ยวรอท่านอื่นมาเสริม

แล้วในแง่รัฐศาสตร์แล้วมีข้อกฎหมายระหว่างประเทศอะไรกำหนดมั๊ยครับว่าแต่ละประเทศ สามารถมีดาวเทียมเป็นของตัวเองได้ไม่เกินกี่ดวง
เท่าที่ทราบ  ก็ไม่มีข้อจำกัดนะครับ

สามารถกำหนดวิถีโคจรให้วิ่งข้ามประเทศอื่นได้หรือไม่
การส่งดาวเทียม  เราจะต้องขออนุมัติวงโคจรดาวเทียมต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
ซึ่งหากดาวเทียมของเราเป็นแบบ Low Earth Orbit (LEO) มันก็จะโคจรรอบโลกผ่านประเทศต่าง ๆ
อยู่ทุกวันอยู่แล้วครับ  ดังนั้น  ดาวเทียมทุกดวงก็สามารถโคจรข้ามประเทศต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ

ต้องขออนุญาตประเทศที่ดาวเทียมจะโคจรพาดผ่านในบริเวณอวกาศของประเทศนั้นๆด้วยหรือไม่
หรือว่ามีน่านอวกาศสากล(เหมือนน่านฟ้าสากล หรือน่านน้ำสากล)

ไม่ต้องขออนุญาติใด ๆ เลยครับ  เราเพียงแค่ขออนุมัติวงโคจรจาก ITU เท่านั้น  ว่าเราจะได้ตำแหน่งโคจร
ที่ตำแหน่งใด  Altitude เท่าใด (วงโคจรสูงกี่กิโลเมตร)

เนื่องจากเราใช้ดาวเทียมไทยคมในการ สื่อสาร  ดังนั้น  วงโคจรของไทยคมทุกดวงจึงเป็นแบบ ค้างฟ้า
หรือ Geostationary Orbit ที่ความสูง 35,786 กิโลเมตร  แต่เนื่องจากชาติอื่น ๆ ก็ปล่อยดาวเทียมด้วยเหมือนกัน
ดังนั้น  ทาง ITU จึงต้องจัดสรรตำแหน่งของไทยคมให้ไปอยู่แบบเบียด ๆ กับดาวเทียมของชาติอื่นด้วย
เรียกว่า GEO Belt ครับ  จากภาพนี้จะเห็นว่า GEO belt นั้นหนาแน่นทีเดียว  ดาวเทียมไทยคมจึงต้อง
ไปค้างฟ้าอยู่แบบเอียง ๆ 78.5 องศา (เวลาหันจานดาวเทียมที่บ้านเรา  เราจึงต้องหันเอียงไปมากไงครับ)
ภาพของ GEO belt  https://i.stack.imgur.com/EPIBu.jpg
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่