ยางจีนหนีซบไทยตั้งฐานผลิตส่งออก ไทยหวั่นสหรัฐฯขึ้นภาษีเอดียางรถ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางผวา ยักษ์ใหญ่ยางแดนมังกรใช้ไทยเป็นฐานส่งออก หวั่นดัมพ์ราคาต่ำตลาดสหรัฐฯ ดึงไทยถูกขึ้นภาษีเอดีซ้ำรอยจีน จี้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบข้อมูลค่าเฉลี่ยราคาส่งออกตัดไฟแต่ต้นลม ขณะยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรอบ 9 เดือนปี 58 ยังติดลบตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ตลาดสหรัฐฯ สวนกระแสโต
ดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” กรณีที่สหรัฐอเมริกาได้เรียกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด(AD)สินค้ายางรถยนต์ นำเข้าจากจีนจากปี 2557 เรียกเก็บที่ 81.29% เพิ่มเป็น 87.99% เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่จากจีน 2 รายในระดับท็อป 5 ที่มีตลาดหลักที่สหรัฐฯ ได้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทยที่จังหวัดระยองเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังผู้ผลิตยางรถยนต์อันดับ 1 ของอินเดีย(อพอลโล ไทร์ส)ยังมาลงทุนด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีการลงทุนดังกล่าวแม้จะส่งผลดีช่วยเพิ่มเม็ดเงินลงทุนจากต่าง ประเทศ ช่วยเพิ่มการใช้วัตถุดิบยางพาราในประเทศ และช่วยเพิ่มยอดการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์จากประเทศไทย แต่อีกมุมหนึ่งทางผู้ประกอบการไทยมีความกังวลว่า ผู้ผลิตยางรถยนต์จากจีนจะใช้ไทยเป็นผลิตส่งออกไปสหรัฐฯโดยดัมพ์ขายในราคาต่ำ ซึ่งในอนาคตหากมีผู้ผลิตยางรถยนต์ในสหรัฐฯ ร้องเรียนว่าถูกดัมพ์ตลาด อาจยื่นเรื่องให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดไต่สวนการทุ่มตลาด และหากพบมีมูลจริงอาจมีการขึ้นภาษีเอดีสินค้ายางรถยนต์จากไทยในอัตราสูง ซึ่งจะกระทบผู้ประกอบการทุกรายในไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ได้
“ปกติยางรถยนต์ของบริษัทจีนจะตั้งราคาต่ำ ทั้งนี้ในปีนี้ ปีหน้ามีความเสี่ยงที่เราจะถูกเพ่งเล็ง ซึ่งหากเราถูกใช้ภาษีเอดีจริงจะกระทบยอดส่งออกยางรถยนต์ของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 อย่างมาก (ปี 2557 ไทยส่งออกยางยานพาหนะไปสหรัฐฯ มูลค่า 2.64 หมื่นล้านบาท และช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ส่งออก 2.60 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 32.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)”
ในเรื่องนี้อยากให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามตรวจสอบข้อมูลการส่งออกสินค้ายางรถยนต์ด้วยว่าในสินค้ายางรถยนต์ ไซซ์เดียวกันมีใครตั้งราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่ เพื่อกำกับดูแลไม่ให้กระทบภาพรวมต่อไป
ดร.ชโย กล่าวถึงคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางในภาพรวมของไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า ยังอยู่ในภาวะทรงตัว ไม่ได้ดีกว่าหรือหวือหวากว่า เมื่อเทียบกับ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ดังนั้นถึงสิ้นปีนี้หากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยทำได้ใกล้เคียง หรือเสมอตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว จากการตรวจสอบข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือของกรมศุลกากรระบุว่า ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมูลค่า 1.74 แสนล้านบาท ขยายตัวลดลงหรือติดลบ 10.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออก 5 อันดับแรกของไทยได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย โดยมีการส่งออกแต่ละตลาดมูลค่า 4.17 หมื่นล้านบาท , 2.75 หมื่นล้านบาท, 1.15 หมื่นล้านบาท , 8.64 พันล้านบาท และ 6.01 พันล้านบาท ตามลำดับ และมีอัตราขยายตัว +12.82% , -36.44% , -4.29% , +5.76% และ -8.75% ตามลำดับ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 30 ตุลาคม 2558)
http://www.thansettakij.com/2015/10/30/16000
ยางจีนหนีซบไทยตั้งฐานผลิตส่งออก ไทยหวั่นสหรัฐฯขึ้นภาษีเอดียางรถ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางผวา ยักษ์ใหญ่ยางแดนมังกรใช้ไทยเป็นฐานส่งออก หวั่นดัมพ์ราคาต่ำตลาดสหรัฐฯ ดึงไทยถูกขึ้นภาษีเอดีซ้ำรอยจีน จี้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบข้อมูลค่าเฉลี่ยราคาส่งออกตัดไฟแต่ต้นลม ขณะยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรอบ 9 เดือนปี 58 ยังติดลบตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ตลาดสหรัฐฯ สวนกระแสโต
ดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” กรณีที่สหรัฐอเมริกาได้เรียกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด(AD)สินค้ายางรถยนต์ นำเข้าจากจีนจากปี 2557 เรียกเก็บที่ 81.29% เพิ่มเป็น 87.99% เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่จากจีน 2 รายในระดับท็อป 5 ที่มีตลาดหลักที่สหรัฐฯ ได้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทยที่จังหวัดระยองเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังผู้ผลิตยางรถยนต์อันดับ 1 ของอินเดีย(อพอลโล ไทร์ส)ยังมาลงทุนด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีการลงทุนดังกล่าวแม้จะส่งผลดีช่วยเพิ่มเม็ดเงินลงทุนจากต่าง ประเทศ ช่วยเพิ่มการใช้วัตถุดิบยางพาราในประเทศ และช่วยเพิ่มยอดการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์จากประเทศไทย แต่อีกมุมหนึ่งทางผู้ประกอบการไทยมีความกังวลว่า ผู้ผลิตยางรถยนต์จากจีนจะใช้ไทยเป็นผลิตส่งออกไปสหรัฐฯโดยดัมพ์ขายในราคาต่ำ ซึ่งในอนาคตหากมีผู้ผลิตยางรถยนต์ในสหรัฐฯ ร้องเรียนว่าถูกดัมพ์ตลาด อาจยื่นเรื่องให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดไต่สวนการทุ่มตลาด และหากพบมีมูลจริงอาจมีการขึ้นภาษีเอดีสินค้ายางรถยนต์จากไทยในอัตราสูง ซึ่งจะกระทบผู้ประกอบการทุกรายในไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ได้
“ปกติยางรถยนต์ของบริษัทจีนจะตั้งราคาต่ำ ทั้งนี้ในปีนี้ ปีหน้ามีความเสี่ยงที่เราจะถูกเพ่งเล็ง ซึ่งหากเราถูกใช้ภาษีเอดีจริงจะกระทบยอดส่งออกยางรถยนต์ของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 อย่างมาก (ปี 2557 ไทยส่งออกยางยานพาหนะไปสหรัฐฯ มูลค่า 2.64 หมื่นล้านบาท และช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ส่งออก 2.60 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 32.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)”
ในเรื่องนี้อยากให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามตรวจสอบข้อมูลการส่งออกสินค้ายางรถยนต์ด้วยว่าในสินค้ายางรถยนต์ ไซซ์เดียวกันมีใครตั้งราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่ เพื่อกำกับดูแลไม่ให้กระทบภาพรวมต่อไป
ดร.ชโย กล่าวถึงคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางในภาพรวมของไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า ยังอยู่ในภาวะทรงตัว ไม่ได้ดีกว่าหรือหวือหวากว่า เมื่อเทียบกับ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ดังนั้นถึงสิ้นปีนี้หากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยทำได้ใกล้เคียง หรือเสมอตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว จากการตรวจสอบข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือของกรมศุลกากรระบุว่า ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมูลค่า 1.74 แสนล้านบาท ขยายตัวลดลงหรือติดลบ 10.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออก 5 อันดับแรกของไทยได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย โดยมีการส่งออกแต่ละตลาดมูลค่า 4.17 หมื่นล้านบาท , 2.75 หมื่นล้านบาท, 1.15 หมื่นล้านบาท , 8.64 พันล้านบาท และ 6.01 พันล้านบาท ตามลำดับ และมีอัตราขยายตัว +12.82% , -36.44% , -4.29% , +5.76% และ -8.75% ตามลำดับ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 30 ตุลาคม 2558)
http://www.thansettakij.com/2015/10/30/16000