เห็นเครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ออกมาตีปี๊บแสดงความกังวลต่อการประมูล เพื่อออกใบอนุญาต 4 จีบนคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz ที่ กสทช.จะดีเดย์เปิดประมูลติดต่อกัน 2 วัน ในวันที่ 11 และ 12 พฤศจิกายนนี้
โดยอ้างรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ว่าการร่นเวลาประมูล 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 MHz มาประมูลต่อเนื่องไปพร้อมการประมูลคลื่น 1800 MHz อาจเปิดช่องทำให้เอกชนสุมหัวกันกดราคาประมูลให้ต่ำลงหรือฮั้วประมูลเอาได้ และการที่ กสทช.ตั้งราคาตั้งต้นไว้เพียงร้อยละ 80 ของราคาคลื่นความถี่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเฉกเช่นการประมูลคลื่น 3G ก่อนหน้าเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งรัฐได้ค่าธรรมเนียมประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ทำให้รัฐเสียรายได้ไปหลายหมื่นล้านบาท
พร้อมเสนอให้มีการประมูลคลื่นความถี่แยกเป็นสองกลุ่มในเวลาที่ต่างกันอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูล พร้อมให้ยกเลิกเงื่อนไขเพดานการถือครองใบอนุญาต 60 MHz ไป กำหนดเกณฑ์การบังคับให้ผู้รับใบอนุญาตต้องขยายเครือข่ายครอบคลุม 60% จากเกณฑ์ที่ กสทช.กำหนด 40% ของจำนวนประชากรเพื่อให้ประชาชนในชนบทได้อานิสงอย่างแท้จริง!
อ่านรายงานข้างต้นแล้วแม้จะเห็นด้วยว่าการประมูล 3จี ก่อนหน้าและ 4จี ที่เกิดขึ้นมีบริษัทสื่อสารเข้ามาประมูลน้อยรายเต็มที ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลที่เป็นตัวจริงก็มีเพียง 3-4 รายเท่านั้น คือบริษัทในเครือ AIS, DTAC, True Move และ Jasmine นั้นซึ่งก็ล้วนแต่หน้าเก่าทั้งนั้น ทำให้เสี่ยงเสี่ยงต่อการฮั้วประมูลเพื่อให้ได้ราคาต่ำกว่า
แต่ที่ไม่เข้าใจก็คือการเสนอให้ดึงเวลาประมูลอีกคลื่นออกไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน 6 เดือนนั้นจะทำให้รัฐได้ค่าต๋งเพิ่มขึ้นมากนั้น ตรงนี้แหละที่งงว่ามาจากปัจจัยอะไรหรือ? จะทำให้มีเอกชนหน้าใหม่กระโจนเข้ามาร่วมแข่งขันมากขึ้นหรือ? หรือทำให้หน้าเก่าที่พลาดประมูลครั้งแรกจะต้องใส่ราคาเต็มที่ ขณะรายที่ได้ใบอนุญาตไปก่อนก็คงไม่ยอมน้อยหน้ากระนั้นหรือ?
บอกตามตรงยังมองไม่ออกไม่เข้าใจตรรกะหลุดโลกอะไรที่ว่านั่น!
กับข้อห่วงใยที่ว่าการจัดประมูลต่อเนื่องกันไปอาจทำให้บริษัทสื่อสารฮั้วกดราคาประมูลเอานั้น กสทช. เขามีมาตรการป้องกันการฮั้วโดยตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลประมูล 4จี หรือคณะกรรมการตรวจสอบการประมูล 4จี ที่ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามาเต็มลำเรืออยู่แล้ว
ทั้งยังมีการวางหลักเกณฑ์ตีกันการฮั้วประมูล กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประมูลจะต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อใบอนุญาต อย่างคลื่น 1800 จำนวน 2 ใบอนุญาตที่ตั้งราคาเบื้องต้นไว้ 15,912 ล้านบาท (80% ของราคาคลื่น) นั้นก็ตั้งเกณฑ์เอาไว้ให้ผู้ประมูลจะต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้งๆ ละ 5% ของราคาเบื้องต้น หรือ 796 ล้านบาท หากมีผู้ประมูล 3 รายเคาะราคาครั้งแรกไป ราคาใบอนุญาตใบแรกก็ทะยานไปอยู่ที่ 18,300 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำแล้ว 2 ใบอนุญาตรวมกันยังไงก็ต้องมากกว่า 36,0000 ล้านบาทขึ้นไปแน่
เช่นเดียวกับคลื่น 900 MHz 2 ใบอนุญาตที่ตั้งราคาประมูลขึ้นต้นไว้ที่ 12,864 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 644 ล้านบาท แค่แต่ละรายต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต้องถูกปรับขึ้นไปเป็น 14,796 ล้านบาทแต่ถ้าไม่มีใครเคาะก็จะปรับราคาขึ้นไปเป็น 100% ที่ 16,080 ล้านบาท โดยอัตโนมัติเช่นกัน
ไม่แต่เท่านั้น ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ออกมาระบุก่อนหน้านี้หากพบว่าเอกชนที่เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมส่อฮั้วประมูลจะยกเลิกการประมูลทันที และจะดำเนินคดีอาญารวมทั้งขึ้นแบลก์ลิสต์ถึงขั้นริบใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเดิมด้วย เล่นบทเข้มซะขนาดนี้ใครมันจะกล้าแหยมอีกหรือ
จะว่าไป การที่การประมูล 3จีเมื่อ 3 ปีก่อนหรือจะ 4จีครั้งนี้ที่ดูจะมีแต่บริษัทสื่อสารหน้าเดิมเข้าร่วมประมูลจนอาจทำให้รัฐสูญเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลนั้น เรื่องนี้เราไม่อาจจะโทษใครได้เลย ก็ต้องโทษรัฐบาล “ขิงแก่” ที่ไปตกหลุมพรางนักวิชาการไดโนซอรัสจนพาลไปยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมไปต่างหาก
นั่นต่างหากที่ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเม็ดเงิน รายได้จากภาษีนับหมื่น นับแสนล้านไปอย่างน่าเสียดาย
หาไม่แล้ววันนี้ต่อให้รัฐประมูลได้ค่าธรรมเนียมแค่ 50,000-70,000 ล้านบาทยังไง ก็ยังคงจะได้เม็ดเงินจากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมอีกในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 10-20% สำหรับบริการโทรศัพท์พื้นฐานและอินเตอร์เน็ตและ 20-50%ของผลประกอบการสำหรับบริการมือถือ
เม็ดเงินจำนวนมหาศาลนับหมื่นนับแสนล้านที่รัฐและประเทศต้องสูญไปจารกการที่รัฐต้องตกหลุมพรางนักวิชาการไดโนซอรัสนั้น ก็ไม่รู้ชาตินี้ประชาชนคนไทยจะไปทวงคืนเอาจากใครได้!!!
ตีปลาหน้าไซ "4จี"
โดยอ้างรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ว่าการร่นเวลาประมูล 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 MHz มาประมูลต่อเนื่องไปพร้อมการประมูลคลื่น 1800 MHz อาจเปิดช่องทำให้เอกชนสุมหัวกันกดราคาประมูลให้ต่ำลงหรือฮั้วประมูลเอาได้ และการที่ กสทช.ตั้งราคาตั้งต้นไว้เพียงร้อยละ 80 ของราคาคลื่นความถี่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเฉกเช่นการประมูลคลื่น 3G ก่อนหน้าเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งรัฐได้ค่าธรรมเนียมประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ทำให้รัฐเสียรายได้ไปหลายหมื่นล้านบาท
พร้อมเสนอให้มีการประมูลคลื่นความถี่แยกเป็นสองกลุ่มในเวลาที่ต่างกันอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการประมูล พร้อมให้ยกเลิกเงื่อนไขเพดานการถือครองใบอนุญาต 60 MHz ไป กำหนดเกณฑ์การบังคับให้ผู้รับใบอนุญาตต้องขยายเครือข่ายครอบคลุม 60% จากเกณฑ์ที่ กสทช.กำหนด 40% ของจำนวนประชากรเพื่อให้ประชาชนในชนบทได้อานิสงอย่างแท้จริง!
อ่านรายงานข้างต้นแล้วแม้จะเห็นด้วยว่าการประมูล 3จี ก่อนหน้าและ 4จี ที่เกิดขึ้นมีบริษัทสื่อสารเข้ามาประมูลน้อยรายเต็มที ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลที่เป็นตัวจริงก็มีเพียง 3-4 รายเท่านั้น คือบริษัทในเครือ AIS, DTAC, True Move และ Jasmine นั้นซึ่งก็ล้วนแต่หน้าเก่าทั้งนั้น ทำให้เสี่ยงเสี่ยงต่อการฮั้วประมูลเพื่อให้ได้ราคาต่ำกว่า
แต่ที่ไม่เข้าใจก็คือการเสนอให้ดึงเวลาประมูลอีกคลื่นออกไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน 6 เดือนนั้นจะทำให้รัฐได้ค่าต๋งเพิ่มขึ้นมากนั้น ตรงนี้แหละที่งงว่ามาจากปัจจัยอะไรหรือ? จะทำให้มีเอกชนหน้าใหม่กระโจนเข้ามาร่วมแข่งขันมากขึ้นหรือ? หรือทำให้หน้าเก่าที่พลาดประมูลครั้งแรกจะต้องใส่ราคาเต็มที่ ขณะรายที่ได้ใบอนุญาตไปก่อนก็คงไม่ยอมน้อยหน้ากระนั้นหรือ?
บอกตามตรงยังมองไม่ออกไม่เข้าใจตรรกะหลุดโลกอะไรที่ว่านั่น!
กับข้อห่วงใยที่ว่าการจัดประมูลต่อเนื่องกันไปอาจทำให้บริษัทสื่อสารฮั้วกดราคาประมูลเอานั้น กสทช. เขามีมาตรการป้องกันการฮั้วโดยตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลประมูล 4จี หรือคณะกรรมการตรวจสอบการประมูล 4จี ที่ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามาเต็มลำเรืออยู่แล้ว
ทั้งยังมีการวางหลักเกณฑ์ตีกันการฮั้วประมูล กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประมูลจะต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อใบอนุญาต อย่างคลื่น 1800 จำนวน 2 ใบอนุญาตที่ตั้งราคาเบื้องต้นไว้ 15,912 ล้านบาท (80% ของราคาคลื่น) นั้นก็ตั้งเกณฑ์เอาไว้ให้ผู้ประมูลจะต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้งๆ ละ 5% ของราคาเบื้องต้น หรือ 796 ล้านบาท หากมีผู้ประมูล 3 รายเคาะราคาครั้งแรกไป ราคาใบอนุญาตใบแรกก็ทะยานไปอยู่ที่ 18,300 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำแล้ว 2 ใบอนุญาตรวมกันยังไงก็ต้องมากกว่า 36,0000 ล้านบาทขึ้นไปแน่
เช่นเดียวกับคลื่น 900 MHz 2 ใบอนุญาตที่ตั้งราคาประมูลขึ้นต้นไว้ที่ 12,864 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 644 ล้านบาท แค่แต่ละรายต้องเคาะราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต้องถูกปรับขึ้นไปเป็น 14,796 ล้านบาทแต่ถ้าไม่มีใครเคาะก็จะปรับราคาขึ้นไปเป็น 100% ที่ 16,080 ล้านบาท โดยอัตโนมัติเช่นกัน
ไม่แต่เท่านั้น ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ออกมาระบุก่อนหน้านี้หากพบว่าเอกชนที่เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมส่อฮั้วประมูลจะยกเลิกการประมูลทันที และจะดำเนินคดีอาญารวมทั้งขึ้นแบลก์ลิสต์ถึงขั้นริบใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเดิมด้วย เล่นบทเข้มซะขนาดนี้ใครมันจะกล้าแหยมอีกหรือ
จะว่าไป การที่การประมูล 3จีเมื่อ 3 ปีก่อนหรือจะ 4จีครั้งนี้ที่ดูจะมีแต่บริษัทสื่อสารหน้าเดิมเข้าร่วมประมูลจนอาจทำให้รัฐสูญเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลนั้น เรื่องนี้เราไม่อาจจะโทษใครได้เลย ก็ต้องโทษรัฐบาล “ขิงแก่” ที่ไปตกหลุมพรางนักวิชาการไดโนซอรัสจนพาลไปยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมไปต่างหาก
นั่นต่างหากที่ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเม็ดเงิน รายได้จากภาษีนับหมื่น นับแสนล้านไปอย่างน่าเสียดาย
หาไม่แล้ววันนี้ต่อให้รัฐประมูลได้ค่าธรรมเนียมแค่ 50,000-70,000 ล้านบาทยังไง ก็ยังคงจะได้เม็ดเงินจากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมอีกในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 10-20% สำหรับบริการโทรศัพท์พื้นฐานและอินเตอร์เน็ตและ 20-50%ของผลประกอบการสำหรับบริการมือถือ
เม็ดเงินจำนวนมหาศาลนับหมื่นนับแสนล้านที่รัฐและประเทศต้องสูญไปจารกการที่รัฐต้องตกหลุมพรางนักวิชาการไดโนซอรัสนั้น ก็ไม่รู้ชาตินี้ประชาชนคนไทยจะไปทวงคืนเอาจากใครได้!!!