จากมติชนออนไลน์
จากรายงานของ Rocket News 24 การแต่งกายเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนหรืออะนิเมะเป็นที่นิยมอย่างมากในญี่ปุ่นและในหลายประเทศก็เริ่มรับกระแสนิยมนี้ไปเช่นกันแต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือการละเมิดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากตัวละครเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
เว็บไซต์ Oshiete!goo ซึ่งเป็นเว็บไซต์ถาม-ตอบ ปัญหาต่างๆที่ถูกคัดเลือกมา ได้สอบถามไปยัง ยูจิ โอคุมะ นักกฎหมายประจำสำนักงานกฎหมายและสิทธิบัตร Toranomon ว่า การแต่งกายด้วยชุดคอสตูมเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนต่างๆ ถือว่าเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครอง ลิขสิทธิ์หรือไม่
โอคุมะกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายละเมิดสิทธิในการผลิตซ้ำ ตามมาตรา 21 ของกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่น และสิทธิในการดัดแปลง ตามมาตรา 27 แต่การทำชุดคอสเพลย์เพื่อใช้เองสามารถทำได้ เนื่องจากเป็น "การผลิตซ้ำเพื่อใช้ประโยชน์เป็นการส่วนตัว" ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมาย แต่หากเป็นการผลิตชุดคอสเพลย์เพื่อผู้อื่น หรือเพื่อการค้าย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นอีกต่อไป
นอกจากนี้นักกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นยังแนะนำให้นักเล่นคอสเพลย์ตรวจสอบก่อนแต่งกายเลียนแบบตัวละครใดๆว่าตัวละครดังกล่าวมีผู้ใดเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และอาจขออนุญาตในการใช้สิทธิอย่างเป็นทางการเพื่อเลี่ยงปัญหา ซึ่งอาจต้องใช้เวลาไม่น้อย
สำหรับกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยก็มีหลักการตามหลักสากลเช่นเดียวกับกฎหมายของญี่ปุ่นที่มีข้อยกเว้นในการกระทำใดๆต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นหากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ตาม มาตรา 32 (2) พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
นักกฎหมายญี่ปุ่นชี้ ทำชุด "คอสเพลย์" ให้ชาวบ้านใส่ระวัง "ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์"
จากรายงานของ Rocket News 24 การแต่งกายเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนหรืออะนิเมะเป็นที่นิยมอย่างมากในญี่ปุ่นและในหลายประเทศก็เริ่มรับกระแสนิยมนี้ไปเช่นกันแต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือการละเมิดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากตัวละครเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
เว็บไซต์ Oshiete!goo ซึ่งเป็นเว็บไซต์ถาม-ตอบ ปัญหาต่างๆที่ถูกคัดเลือกมา ได้สอบถามไปยัง ยูจิ โอคุมะ นักกฎหมายประจำสำนักงานกฎหมายและสิทธิบัตร Toranomon ว่า การแต่งกายด้วยชุดคอสตูมเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนต่างๆ ถือว่าเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครอง ลิขสิทธิ์หรือไม่
โอคุมะกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายละเมิดสิทธิในการผลิตซ้ำ ตามมาตรา 21 ของกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่น และสิทธิในการดัดแปลง ตามมาตรา 27 แต่การทำชุดคอสเพลย์เพื่อใช้เองสามารถทำได้ เนื่องจากเป็น "การผลิตซ้ำเพื่อใช้ประโยชน์เป็นการส่วนตัว" ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมาย แต่หากเป็นการผลิตชุดคอสเพลย์เพื่อผู้อื่น หรือเพื่อการค้าย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นอีกต่อไป
นอกจากนี้นักกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นยังแนะนำให้นักเล่นคอสเพลย์ตรวจสอบก่อนแต่งกายเลียนแบบตัวละครใดๆว่าตัวละครดังกล่าวมีผู้ใดเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และอาจขออนุญาตในการใช้สิทธิอย่างเป็นทางการเพื่อเลี่ยงปัญหา ซึ่งอาจต้องใช้เวลาไม่น้อย
สำหรับกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยก็มีหลักการตามหลักสากลเช่นเดียวกับกฎหมายของญี่ปุ่นที่มีข้อยกเว้นในการกระทำใดๆต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นหากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ตาม มาตรา 32 (2) พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537