[มองอีกมุมกับ] The Little Prince (Mark Osborne,2015)
จะว่าไปแล้ววรรณกรรมเรื่องเจ้าชายน้อยของอองตวน เดอ แซ็งแตก ซูว์เปรี ตัวเราก็ไม่ได้ชอบอะไรมากมายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะจริงๆในยุคที่เราอ่านตอนเรียน หรือ หวนกลับมาอ่านอีกครั้งตอนโต เราก็ "เฉยๆ" กับวิธีคิดเรื่องการสูญเสียวัยเด็กหรือกระทั่งการมองโลกในแง่ดีก็ตาม #อาจจะเป็นเพราะเราเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน #แต่เราก็มีความสุขกับบริบทอื่นๆของชีวิตมากกว่า #เนื่องจากไม่ชอบวรรณกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้จะบอกว่าหนังมันไม่ดีนะ The Little Prince มันเป็นหนังที่โอเคประมาณหนึ่งเลยทีเดียว
ในเวอร์ชั่นหนังมันแยกออกเป็น 2 ส่วนคือเรื่องในส่วน "เจ้าชายน้อย" และ "เด็กสาวตัวน้อย" ซึ่งในส่วนของเจ้าชายน้อยก็เป็น "บทคัดย่อ" มากกว่าจะเป็นเรื่องเต็มๆ โลกสองอันมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกันอย่างชัดเจน แต่ปัญหาสำคัญของหนังอยู่ตรงที่ว่าโลกของเด็กหญิงนั้นถูกออกแบบมาเปรียบเทียบจงใจหนักข้อ จนเราสัมผัสได้ถึงความไม่เป็นธรรมชาติ แห้งแล้งและค่อนข้างน่าเบื่อ อาทิคุณแม่เจ้ากี้เจ้าการวางแผนชีวิตทุกอย่าง คุณลุงข้างบ้านเป็นพวกฮิปปี้ที่เคยบินไปเจอเจ้าชายน้อยในทะเลทรายซาฮาร่า (เส้นแบ่งอันพร่าเลือนของจินตนาการกับความจริง) คนละแวกบ้านที่ไม่เป็นมิตร (เจอลุงพฤติกรรมประหลาดแบบในเรื่องเราก็ไม่อยากเป็นมิตรด้วยหรอก) หรือกระทั่งตึกรามบ้านช่องที่ออกแบบมาให้ "เหลี่ยม" เหมือนกันหมด (สะท้อนความเหมือนกันไปหมด)
ความเป็นจริงคือเราเข้าใจจุดประสงค์ของตัวคนเขียนบทและผู้กำกับที่พยายามจะพูดถึงการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและวงจรชีวิตอันซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย (แบบที่ตอนหลังของเรื่องเด็กหญิงได้ขับเครื่องบิน บินไปยังดินแดนหนึ่งที่น่าจะเรียกว่า "เมืองใหญ่") อันที่จริงมันเหมือนเป็นความพยายามจะที่จะผลักไสให้ "ผู้ใหญ่" ในเรื่องนี้กลายเป็นด้านมืดของชีวิตมนุษย์ที่ไม่มีใครอยากจะเป็น แต่เอาเข้าจริงๆเราว่ามันเป็นการมองโลกที่ไม่ค่อยแฟร์ (ในแง่วิธีการนำเสนอ) เพราะคงไม่มีใครเป็นเด็กไปได้ตลอดกาล และอย่างที่บอกก็คือตัวหนังเองก็นำเสนอแง่ลบของตัวละครผู้ใหญ่ทุกตัว (เว้นคุณลุงฮิปปี้) และเชิดชูความเป็นเด็ก (เจ้าชายน้อย) จนกลายเป็นขาวกับดำไปเลย
ในฐานะที่เราเป็นผู้ใหญ่เราเชื่อแหล่ะว่า การสูญเสียความเป็นวัยเยาว์ไปมันไม่ได้เป็นเรื่องที่เลวร้าย ปัญหาคือหนังไม่ได้พยายามบอกให้คนดูหรือกระทั่งเด็กหญิง "รับมือ" กับมันยังไง (ตัวอย่างเปรียบเทียบที่น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้มากขึ้นคือตัวละครของไรลีย์ ใน INSIDE OUT เรื่องนั้นมันก็คือการสูญเสียวัยเยาว์ไปเช่นกัน) และแต่เลือกจะให้หนังเข้าสู่บทสรุปห้วนๆ ฟุ้งๆ โดยที่ระหว่างทางหนังกลับแยกเป็นส่วนๆ ไม่ค่อยมีความเชื่อมโยงระหว่างกันเท่าที่ควร ทำให้เราไม่ค่อยเชื่อในบทสรุปของหนังสักเท่าไหร่
อันที่จริงมันเป็นแอนิเมชั่นที่กระตุ้นให้คนดูคิดอยู่ตลอดเวลา และแน่นอนคนทำก็คิดมาเยอะมาก แต่ความคิดเยอะที่เราบอกที่แหละคือปัญหาที่ทำให้ THE LITTLE PRINCE ไม่สามารถเชื่อมโยงทุกส่วนของหนังให้เข้ากันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และเราก็เป็นอีกคนหนึ่งที่คิดตามกับหนัง แต่ไม่ได้เชื่อมโยงหรือมีอารมณ์ร่วมไปกับมันเท่าที่ควร
[SR] [มองอีกมุมกับ] The Little Prince (Mark Osborne,2015)
[มองอีกมุมกับ] The Little Prince (Mark Osborne,2015)
จะว่าไปแล้ววรรณกรรมเรื่องเจ้าชายน้อยของอองตวน เดอ แซ็งแตก ซูว์เปรี ตัวเราก็ไม่ได้ชอบอะไรมากมายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะจริงๆในยุคที่เราอ่านตอนเรียน หรือ หวนกลับมาอ่านอีกครั้งตอนโต เราก็ "เฉยๆ" กับวิธีคิดเรื่องการสูญเสียวัยเด็กหรือกระทั่งการมองโลกในแง่ดีก็ตาม #อาจจะเป็นเพราะเราเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน #แต่เราก็มีความสุขกับบริบทอื่นๆของชีวิตมากกว่า #เนื่องจากไม่ชอบวรรณกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้จะบอกว่าหนังมันไม่ดีนะ The Little Prince มันเป็นหนังที่โอเคประมาณหนึ่งเลยทีเดียว
ในเวอร์ชั่นหนังมันแยกออกเป็น 2 ส่วนคือเรื่องในส่วน "เจ้าชายน้อย" และ "เด็กสาวตัวน้อย" ซึ่งในส่วนของเจ้าชายน้อยก็เป็น "บทคัดย่อ" มากกว่าจะเป็นเรื่องเต็มๆ โลกสองอันมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกันอย่างชัดเจน แต่ปัญหาสำคัญของหนังอยู่ตรงที่ว่าโลกของเด็กหญิงนั้นถูกออกแบบมาเปรียบเทียบจงใจหนักข้อ จนเราสัมผัสได้ถึงความไม่เป็นธรรมชาติ แห้งแล้งและค่อนข้างน่าเบื่อ อาทิคุณแม่เจ้ากี้เจ้าการวางแผนชีวิตทุกอย่าง คุณลุงข้างบ้านเป็นพวกฮิปปี้ที่เคยบินไปเจอเจ้าชายน้อยในทะเลทรายซาฮาร่า (เส้นแบ่งอันพร่าเลือนของจินตนาการกับความจริง) คนละแวกบ้านที่ไม่เป็นมิตร (เจอลุงพฤติกรรมประหลาดแบบในเรื่องเราก็ไม่อยากเป็นมิตรด้วยหรอก) หรือกระทั่งตึกรามบ้านช่องที่ออกแบบมาให้ "เหลี่ยม" เหมือนกันหมด (สะท้อนความเหมือนกันไปหมด)
ความเป็นจริงคือเราเข้าใจจุดประสงค์ของตัวคนเขียนบทและผู้กำกับที่พยายามจะพูดถึงการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและวงจรชีวิตอันซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย (แบบที่ตอนหลังของเรื่องเด็กหญิงได้ขับเครื่องบิน บินไปยังดินแดนหนึ่งที่น่าจะเรียกว่า "เมืองใหญ่") อันที่จริงมันเหมือนเป็นความพยายามจะที่จะผลักไสให้ "ผู้ใหญ่" ในเรื่องนี้กลายเป็นด้านมืดของชีวิตมนุษย์ที่ไม่มีใครอยากจะเป็น แต่เอาเข้าจริงๆเราว่ามันเป็นการมองโลกที่ไม่ค่อยแฟร์ (ในแง่วิธีการนำเสนอ) เพราะคงไม่มีใครเป็นเด็กไปได้ตลอดกาล และอย่างที่บอกก็คือตัวหนังเองก็นำเสนอแง่ลบของตัวละครผู้ใหญ่ทุกตัว (เว้นคุณลุงฮิปปี้) และเชิดชูความเป็นเด็ก (เจ้าชายน้อย) จนกลายเป็นขาวกับดำไปเลย
ในฐานะที่เราเป็นผู้ใหญ่เราเชื่อแหล่ะว่า การสูญเสียความเป็นวัยเยาว์ไปมันไม่ได้เป็นเรื่องที่เลวร้าย ปัญหาคือหนังไม่ได้พยายามบอกให้คนดูหรือกระทั่งเด็กหญิง "รับมือ" กับมันยังไง (ตัวอย่างเปรียบเทียบที่น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้มากขึ้นคือตัวละครของไรลีย์ ใน INSIDE OUT เรื่องนั้นมันก็คือการสูญเสียวัยเยาว์ไปเช่นกัน) และแต่เลือกจะให้หนังเข้าสู่บทสรุปห้วนๆ ฟุ้งๆ โดยที่ระหว่างทางหนังกลับแยกเป็นส่วนๆ ไม่ค่อยมีความเชื่อมโยงระหว่างกันเท่าที่ควร ทำให้เราไม่ค่อยเชื่อในบทสรุปของหนังสักเท่าไหร่
อันที่จริงมันเป็นแอนิเมชั่นที่กระตุ้นให้คนดูคิดอยู่ตลอดเวลา และแน่นอนคนทำก็คิดมาเยอะมาก แต่ความคิดเยอะที่เราบอกที่แหละคือปัญหาที่ทำให้ THE LITTLE PRINCE ไม่สามารถเชื่อมโยงทุกส่วนของหนังให้เข้ากันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และเราก็เป็นอีกคนหนึ่งที่คิดตามกับหนัง แต่ไม่ได้เชื่อมโยงหรือมีอารมณ์ร่วมไปกับมันเท่าที่ควร
รีวิวเรื่องอื่นๆที่เข้าฉาย
The Intern >> https://goo.gl/qctFsi
Bridge of Spies >> https://goo.gl/7iB8i7
THE VISIT >> https://goo.gl/qaWzBw
อาบัติ >> https://goo.gl/UfJbDua
Crimson Peak >> https://goo.gl/8PSjpm
PAN >> https://goo.gl/uwewYM
Sicario > > https://goo.gl/dRTo0C
THE WALK >> https://goo.gl/Cc34ri
เมย์ไหน....ไฟแรงเฟร่อ >> https://goo.gl/jtKj05
The Martian>>https://goo.gl/xrgikR
หนังเก่าที่เราคิดถึง
House of Wax >> https://goo.gl/uJifVE