ST Kinetics Sar 21 ปืนไรเฟิลสำหรับกองทัพยุคสมัยใหม่ของสิงคโปร์

พอดี จขกท.เขียนต่อจากบทความนี้นะครับ http://m.ppantip.com/topic/33988052?
เนื่องจากไอดีเก่าของ จขกท.มีปัญหาเข้าไม่ได้ ซึ่งทางบทความนี้ จขกท.กะจะไปทำต่อนานแล้วแต่ติดธุระจนลืมทำไปเลย ก็เลยกะจะมาต่อให้จบนะครับต้องขออภัยทุกท่านจริงๆ
   
     กองทัพสิงคโปร์กองทัพที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน แต่การจะเข้าสู่การเป็นกองทัพสมัยใหม่และทันสมัย สิงคโปร์จึงต้องเตรียมตัวอะไรหลายๆอย่าง การพยายามพึ่งพาตนเองอย่างความพยายามในคิดค้นปืนไรเฟิลของตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่ความเป็นกองทัพสมัยใหม่ของสิงคโปร์เช่นกัน ปัจจุบันประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆนี้คือประเทศที่มีกองทัพที่ทันสมัยที่สุดและมีความพร้อมรบที่สุดในอาเซียน เราจะมาพูดถึงปืนไรเฟิลที่เป็นผลพวงจากความพยายามในการยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง อย่างเจ้า Sar 21 กัน

เริ่มต้น
     ในช่วงปลายทศววรศที่ 1960 สิงคโปร์ได้ตัดสินใจประจำการเจ้าปืน m16 โดยซื้อลิขสิทธิ์ตัวปืน m16 มาผลิตเองภายในประเทศโดยตั้งชื่อเจ้าปืน m16 ที่ผลิตโดยตัวเองว่าปืน m16s1
m16s1


     แต่ถึงอย่างนั้นจำนวนการผลิตปืนนั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการผลิตปืนให้เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ(สมัยนั้นสิงคโปร์ยังไม่รวย) เนื่องจากทั้งงบประมาณและทรัพยากรที่ต้องนำเข้าเพื่อมาผลิตปืนชนิดนี้ทำให้สิงคโปร์ไม่สามารถผลิตปืนให้พอกับความต้องการของกองทัพ วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือต้องขายอาวุธที่ผลิตโดยตัวเองอย่าง m16s1 เพื่อเอางบในการขายอาวุธมาผลิตปืนให้เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ แต่ปัญหาคือในตอนนั้นสิงคโปร์ไม่สามารถขาย m16s1 ได้เนื่องจากตอนซื้อลิขสิทธิ์ปืนมานั้นทางสหรัฐเองห้ามสิงคโปร์ขายเจ้า m16s1 ให้กับชาติใดก็ตาม ทำให้สิงคโปร์ต้องทำเรื่องซึ่งกว่าทางสหรัฐจะอนุญาติให้ขายได้ก็ถือว่าลำบากพอสมควร
     แต่ถึงอย่างนั้นในช่วงต้นทศวรรศที่ 1970 สิงคโปร์ได้เริ่มการพัฒนาปืนในแบับแบบของตัวเองโดยได้จ้าง frank water ซึ่งเป็นวิศวกรของ Sterling Armaments Company (ต่อไปนี้จะเรียกย่อสั้นๆว่า sac)มาช่วยในการออกแบบปืนครั้งนี้โดยใช้เจ้าปืน ar18 เป็นต้นแบบในการพัฒนาแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเรื่องยุ่งยากเนื่องจากทาง sac นั้นมีปัญหาอยู่ที่ตัว ar18 ติดลิขสิทธิ์ทำให้ไม่สามาถนำตัวปืนมาพัฒนาตรงๆได้ ทำใหเกิดปัญหายุ่งยากอย่างมากแต่สุดท้ายการพัฒนาปืนก็สามารถผ่านไปได้โดยหลังจากไม่นานตัวปืนก็พัฒนาเสร็จในปี 1984 โดยสิงคโปร์ได้ตังชื่อปืนกระบอกนี้ว่า "Singapore Assault Rifle 80" แปลได้ตรงๆว่า ปืนไรเฟิลจู่โจมของสิงคโปร์ 80 หรือชื่อย่อสั้นๆว่า sar 80 แต่ถึงอย่างนั้นเจ้า sar 80 ถึงเจ้า Sar 80 จะออกแบบเพื่อเป็นไรเฟิลราคาถูกสำหรับกองทัพและสรีระคนสิงคโปร์ก็ยังมีปัญหามากมายไม่ว่าความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ความน่าเชื่อถือของตัวปืนรวมถึงขนาดน้ำหนักของตัวปืนที่ถือว่า"หนัก"อย่างมากสำหรับขนาดของคนเอเชีย เมื่อเทียบกับยุโรป ทำให้ตัวปืนไม่ค่อยถูกสั่งซื้อจากทางกองทัพมากนักโดยกองทัพสั่งซื้อเจ้า sar 80 เพียง 20000 กระบอกเท่านั้น
sar 80


    หลังจากที่เจ้า sar 80 นั้นไปประสบความสำเร็จนักทั้งยอดขายและความน่าเชื่อถือของตัวปืน ทาง cis หรือ     Chartered Industries of Singapore ได้นำเจ้าปืน sar 80 มาพัฒนาใหม่อีกครั้งโดยเปลี่ยนทั้งกระโจมมือ พานท้ายของตัวปืน เปลี่ยนศูนย์เล็งแบบใหม่ เปลี่ยนวัสดุรวมทั้งเทคนิคภายในรังเพลิงแบบใหม่(เรียกได้ว่าเปลี่ยนแบบยกเครื่อง) โดยตัวปืนใช้ระบบลูกสูบชักยาวโดยตัวท่แแก๊สและลูกสูบทำจากแผ่นโครเมี่ยมคุณภาพสูง โดยตัวปืนสามารถปรับแก๊สได้ 2 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งแรกสำหรับสถานการณ์ปกติ ตำแหน่งที่ 2 สำหรับยิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้อง โดยตัวลำกล้องเพิ่มปลอกลดแสง โดยตัวโครงปืนด้านล่างนั้นทำจากอะลูมีเนียมคุณภาพสูงเพื่อความเบาและตัวโครงปืนด้านบนทำจากแผ่นเหล็กปั๊มขึ้นรูป และกระโจมมือ ด้ามจับปืน และพานท้ายทำจากพลาสติกคุณภาพสูงโดยพานท้ายตัวปืนเป็นแบบพับได้ โดยสิงคโปร์เรียกปืนที่ปรับปรุงนี้ว่า sar 88 ในปี 1988
รูปของ sar 88


แต่ถึงอย่างตัวปืน sar 88 ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักโดยกองทัพสั่งซื้อเจ้า sar 88 เพียงน้อยนิดโดยถึงแม้เจ้า sar 88 จะออกแบบมาให้เหมือนกับเจ้า sar 80 คือเป็นปืนไรเฟิลราคาถูกสำหรับกองทัพแต่ทางกองทัพก็ไม่ประทับใจกับประสิทธิภาพของตัวปืนมากนัก ทำให้สั่งซื้อน้อยมากทำให้กองทัพสิงคโปร์ยังคงประจำการเจ้า m16s1 เป็นไรเฟิลหลักสำหรับทหารราบไปจนถึงช่วงทศววรศที่ 1990 ปลายๆ

การพัฒนา
      หลังจากไม่ประสบความสำเร็จกับทาง sar 80 และ sar 88 สิงคโปร์ก็ยังไม่ยอมแพ้โดยในช่วงปี 1996 ทางกองทัพสิงคโปร์ได้มีวคามต้องการปืนไรเฟิลประจำการแบบใหม่อีกครั้งโดยหวังมาแทนที่เจ้า m16s1 ที่เริ่มล้าสมัยและรองรับกับกระสุนแบบใหม่อย่าง 5.56x45mm m855 ทำให้ทางกอิงทัพสิงคโปร์มอบหมายให้ทาง cis พัฒนาปืนไรเฟิลชนิดใหม่อีกครั้งเพื่อมาแทนที่เจ้า m16s1 ที่เริ่มล้าสมัย โดยการออกแบบตัวปืนนั้นเรียกได้ว่ารื้อแบบแปลนใหม่ทั้งหมดเมื่อเทียบกับ sar 80 และ sar 88 โดยทางสิงคโปร์กะว่าถ้าโปรเจ็คในการพัฒนาปืนไรเฟิลชนิดใหม่นี่ไม่สำเร็จตัวเองก็จะไปซื้อเจ้า m16a2 มาประจำการแทนเจ้า m16s1 โดยการออกแบบตัวปืนแบบใหม่ครั้งนี้ทางสิงคโปร์ได้ใช้ปืนรูปทรง bullpub ต้ามสมัยนิยมเป้นต้นแบบในการพัฒนา
      ปืนชนิดใหม่นี้ทำจากโพลีเมอร์คุณภาพสูง การผลิตที่ล้าสมัยได้ถูกทิ้งไปโดยใช้เครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงโดยผ่านการคำนวณทางตัวเลขอย่างแม่นยำอย่างเครื่อง cnc machine โดยการเชื่อมส่วนประกอบของตัวโครงปืนนั้นเชื่อมด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิคคุณภาพสูง ซึ่งให้ความแม่นยำและเรียบเนียนและใช้เวลาน้อยกว่าการผลิตแบบเก่าถึงครึ่งนึง ด้านลำกล้องปืนนั้นใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ cold hammer forged ซึ่งให้ลำกล้องที่คุณภาพสุงแข็งแรงและไม่สร้างอันตรายต่อผู้ใช้ ด้านกลไกปืนนั้นทาง kinetics ได้นำระบบกลไกของ m16 sar 88 sar 80 มันโมดิฟายใหม่อีกครั้ง โดยตัวปืนชนิดใหม่นี้ทางสิงคโปร์ได้เคลมว่ามันทมีความน่าเชื่อถือที่สูง และแรงรีคอยด์จากการยิงที่ต่ำส่งผลให้ตัวปืนมีความแม่นยำมากขึ้นอย่างน่าพอใจ แม็กกาซีนแบบโปร่งแสงวึ่งส่งผลให้สามารถคำนวณกระสุนในแม็กกาซีนได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้การดำเนินการตัดสินใจทางกลยุทธ์ในเรื่องจำนวนกระสุนทำได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
      sar 21 คือปืนไรเฟิลกระบอกแรกของโลกที่ติดเลเซอร์ชี้เป้าสำหรับดำเนินทางยุทธวิธีมากับตัวปืนเลย ต่างกับปืนชนิดอื่นที่ต้องไปหาติดเอาทีหลัง โดยสามารถปรับระดับความเข้ม-อ่อนของตัวแสงเลเซอร์ได้ถึง 5 ตำแหน่ง โดยสามารถปรับตำแหน่งให้ตัวเลเซอร์ยิงแสงอย่างต่อเนื่อง หรือจะให้ส่องแบบหน่วงเวลาสำหรับการดำเนินทางยุทธวิธีที่เหมาะสม โดยจะมีปุ่มปรับอยู่ทางซ้ายของตัวปืนโดยสามารถใช้นิ้วหัวแม่มือของผู้ใช้ปรับได้เลย นอกจากนี้ตัวปืนยังติดตั้งแผ่นเคฟลาร์อยู่เหนือตำแหน่งช่องคัดปลอกกระสุน เพื่อป้องกันผู้ยิงในกรณีรังเพลิงระเบิดหรือกลไกข้างในมีปัญหา นอกจากนี้ตัวปืนยังมาพร้อมกับกล้องเล็งแบบกำลังขยาย 1.5x (โดยสามารถเปลี่ยนไปใช้เป็นกล้องกำลังขยายแบบ 3x แทนได้) โดยตัวกล้องเล็งของปืนจะติดตั้งเหนือคันรั้งปืนอีกทีหนึ่ง โดยัตวกล้องเล็งนั้นออกแบบให้อำนวยความสะดวกต่อผู้ยิงในสภาพแวดล้อมที่แสงต่ำได้ และตัวกล้องนั้นปกติจะปรับศูนย์ของกล้องเป็นค่า 0 เมื่ออกจากโรงงาน โดยผู้ใช้สามารถปรับค่าของกล้องได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช่งาน
      โดยภายนอกของ sar 21 มันก็ไม่ต่างจาก tar 21 ของอิสราเอล vector cr 21  ของแอฟริกาใต้ที่เป็นปืนรูปทรง bullpub  ซึ่งออกแบบปืนตามยุคสมัยนั่นเอง
เลเซอร์ที่ติดมาภายในตัวปืนเลยเมื่ออกมาจากโรงงาน


เมื่อเทียบกับ m16 s1 ของสิงคโปร์เอง
    อย่างไรก็ตามกองทัพสิงคโปร์ก็ไม่ต่างจากกองทัพไทยในตอนที่ซื้อเจ้า tar 21 มาใหม่ๆนั่นก็คือ"ความไม่คุ้นชินในมือผู้ใช้งานนั่นเอง" นั่นคือ
- ปุ่มปลดแม็กกาซีนนั้นไม่สะดวกต่อการใช้งานและขัดกับสรีระของผู้ยิงอย่างชัดเจน และการปลดแม็กกาซีนไม่สามารถทำได้โดยใช้มือ 2 ข้างอย่างแท้จริง ทำให้การปลดแม็กกาซีนและการใส่แม็กกาซีนใหม่นั้นค่อนข้างเสียเวลาและทำได้ยุ่งยากกว่า m16
- ในการปรับตำแหน่งโหมดการยิงแต่ละครั้งนั้นทำได้ยุ่งยากและเสียเวลากว่า m16 และการปรับตำแหน่งแต่ละครั้งต้องใช้นิ้วโป้งข้างซ้าย ทำให้ต้องละปืนก่อนปรับตำแหน่งการยิงแทบทุกครั้ง ทำให้ไม่สามารถปรับตำแหน่งในขณะยิงได้
- ไกปืนนั้นหนักและไม่นุ่มนวลเหมือนเจ้า m16
- น้ำหนักตัวปืนที่ไม่ค่อยสมดุลเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับ m16
- ตัวปืนนั้นเสียงดังและยิงไปแสบตาไปเพราะกลไกการระเบิดของรังเพลงตัวปืนนั้นไปอยู่ข้างๆหูผู้ใช้พอดี(คุ้นๆไหม) ทำให้ภายหลังต้องติดตั้งแผ่นกรองเสียงข้างๆช่องดีดปลอกกระสุนเพื่อลดเสียงและติดตั้งแผ่นบังแสงเพื่อให้ผู้ใช้ไม่แสบตาขนาดยิงนั่นเอง
- ตัวปืนนั้นออกแบบมาสำหรับคนที่ถนัดขวาเท่านั้น ทำให้คนที่ถนัดซ้ายจำเป้นต้องใช้มือขวาข้างไม่ถนัดยิงซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากให้กับคนที่ถนัดซ้าย
- ตัวศูนย์หน้าสำรองของปืนมักจะชอบหลุดออกประจำเวลาปืนนั้นตกกระแทกกับพื้น
- ตัวกล้องปืนนั้นนั้นไร้ประสิทธิภาพและไม่มีศักยภาพในเวลาเล็งปืนในตอนกลางคืน

  จากปัญหาทีกล่าวไปข้างต้นซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับความไม่คุ้นชินของผุ้ใช้ แต่สิงคโปร์จึงได้แก่ปัญหาโดย
- เปลี่ยนการฝึกการใช้งานของผู้ใช้งานทั้งหมดโดยเพิ่มความคันชินให้ผู้ใช้งานสามารถปลดปุ่มล็อคแม็กกาซีนได้อย่างรวดเร็วและใช้ทั้งสองมือ
- เพิ่มความยืดหยุ่นของตัวไกปืนโดยใช้แผ่นแข็งและยืดหยุ่นและนุ่มนวลมาติดแถวๆไกปืนทำให้ไกปืนนั้นมีวคามนุ่มนวลและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน
- ศูนย์ปืนของสำรอง styer aug ถูกนำมาแทนศูนย์ปืนสำรองแบบเก่า
- แก้ปัญหาของคนไม่ถนัดขวาโดยตคิดตัวเบี่ยงวิถีช่องคัดปลอกในรังเพลิง โดยให้ตัวปืนดีดปลอกกระสุนออกไปทางเยื้องข้างหน้าแทนทำให้ตัวปลอกไม่ไปกระแทกกับแก้มผู้ใช้ในกรณีคนถนัดซ้าย
sar 21


กลไกตัวปืน
  เหมือนกับ m16 ตัว bolt ปืนจะเปิดค้างไว้เพื่อบอกผู้ใช้ว่ากระสุนหมด ในกรณีที่ปืนขัดลำเนื่องจากแม็กกาซีนมีปัญหาหรือตัวกระสุนในแม็กกาซีนมีปัญหานั้นมีความคล้ายคลึงกับ ak 47 โดยกระชากคันรั้งมาข้างหลังแล้วเช็คตัวรังเพลิงว่ามีปัญหาหรือไม่ โดยหลังจากจากใส่ซองกระสุนภายในตัวปืนแล้วให้กระชากคันรั้ง 1 ครั้งเพื่อป้อนกระสุนในแม็กกาซีนเข้าสู่รังเพลิง โดยตัวปุ่มปรับการยิงจะอยู่ตรงพานท้ายปืน ปุ่มเปิด-ปิด เลเซอร์นั้นอยู่ข้างซ้ายของกระโจมมือปืน sar 21 นั้นระบบปฏิบัติการ long stroke piston โดยตัวท่อแก๊สกับลูกสูบอยู่เหนือลำกล้อง โดยตัวคานเหวี่ยงของปืนนั้นมีตัวล็อค 2 ตัวและล็อคอยู่ข้างในตัวลำกล้อง ตัวสปริงรับแรงกระแทกจากลูกสูบอยู่ข้างในตัวปืน โดยอยู่ภายในช่องกลวงเล็กๆของท่อแก๊สและอยู่ข้างหลังลูกสูบตัวปืนอีกที ด้วยกลไกแบบนี้ทำให้ sar 21 นั้นมีความอึดถึกทนต่อสภาพแวดล้อมทุกชนิด และให้ความสเถียรในการยิงสูงไม่ต่างจากปืนแบบอื่นๆที่ใช้ระบบ long stroke
ระบบการทำงานของ long stroke
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่