SIG550 ปืนไรเฟิลสัญชาติแดนนาฬิกา

มีคนเคยได้กล่าวไว้"ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นไม่มีกองทัพ เพราะทั้งประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นคือกองทัพ" (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่าสวิส)เนื่องจากผู้ชายของประเทศนนี้ทุกคนต้องเป็นทหารจนกระทั่งอายุ 40 ปี โดยประชาชนที่เป็นผู้ชายสวิสทุกคนจะได้รับปืน 1 กระบอกพร้อมซองกระสุน 2 ซองโดยมีกฎว่าห้ามแง้มหรือเปิดกับซองกระสุนเด็ดขาด(พูดง่ายๆคือห้ามไปแตะหรือทำอะไรกับซองกระสุน) โดยกำลังพลทุกคนสามารถเรียกมารวมกันได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ทหารสวิสนั้นมีเกียรติศัพท์ในเรื่องฝีมือการรบมาอย่างนาวนานจนถึงขั้นได้รับโอกาสได้เป็นหน่วยทหารองค์รักษ์คุ้มครององพระสันตปาปา ที่นครวาติกันแน่นอนวันนี้ผมก็ขอมาพูดถึงปืนไรเฟิลประจำชาติของประเทศนี้หน่อยละกัน

เริ่มต้น
  ในปี 1963 ทาง Schweizerische Industrie Gesellschaft หรือ sig ได้ร่วมมือกับทาง baretta เพื่อพัฒนาปืนไรเฟิลแบบใหม่เพื่อทดแทนปืนไรเฟิลแบบเก่าของตน โดยการออกแบบนั้นเพื่อให้ตัวปืนนั้นรองรับการใช้งานกระสุนขนาด 5.56x45 mm มาตรฐานนาโต้ที่พึ่งประกาศได้ไม่นานในตอนนั้น โดยการออกแบบตัวปืนนั้นใช้ระบบปฏิการ gas operate,roller-lock system แต่ถึงกระนั้นหลังจากต้นแบบออกกระบอกแรกออกมาได้ไม่นานทางสวิสก็ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 530 แต่ถึงกระนั้นการพัฒนาก็ประสบความล่าช้าบวกกับตัวปืนนั้นมีปํญหาด้านความน่าเชื่อถือไม่ว่าจะเป็นตัวกลไกหรือความเป็นมิตรกับผู้ใช้การพัฒนาประสบความล่าช้าบวกกับทั้ง 2 บริษัทมีความเห็นในการพัฒนาตัวปืนที่ไม่ตรงกัน จนในที่สุด baretta ประกาศแยกทางกับทาง sig โดยหันไปพัฒนาปืนตัวต้นแบบในฉบับตนเอง(โดยพัฒนาเสร็จได้ปืน ar70/90 ซึ่งจะเขียนประวัติให้ภายหลัง)
รูปของปืน sig 530

รูปของ ar70/90 ญาติของเจ้า sig 530 และ sig 550 ในปัจจบัน

โดยหลังจากแยกตัวกันได้ไม่นาน ทาง sig ก็ได้ตัดสินใจนำเจ้า sig 530 นั้นไปพัฒนาต่อโดยได้ดัดแปลงระบบลูกสูบแบบชักยาวและระบบ rotating bolt ของปืนแห่งศตรววรษอย่าง ak 47 มาดัดแปลงพัฒนากับปืนของตน โดยตัวปืนมีทั้งหมด 3 โหมดได้แก่ Semi-auto,full auto, และยิงชุดละ 3 นัด โดยทาง sig นั้นพยายามออกแบบให้ตัวปืนมีราคาถูกและกลไกซับซ้อนน้อยลงเมื่อเทียบกับ sig 530 ที่มีกลไกซับซ้อนกว่าและราคาแพงกว่ามาก โดยหลังจากออกแบบเสร็จได้ไม่นานในช่วงปี 1972 sig ก็ได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 540 และได้เข้าประจำการในกองทัพสวิสในช่วงปีปี 1977 โดย sig 540 นั้นใช้ระบบปฏิบัติการแบบลูกสูบชักยาว,rotating bolt โดยตัวปืนมีระบบสำหรับปรับตัวแรงดันแก๊ส 3 ตำแหน่งได้แก่ "0"-ใช้ในกรณียิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องแบบ FN/Luchaire Type 58-N  "1"ใช้ในสภาพแวดล้อมปกติ "2"ใช้ในสภาพแวดล้อมทีเลวร้ายสุดๆเช่นหนาวจัด ร้อนจัด ลุยน้ำลุยโคลนเป็นต้น โดยหลังจากยิงกระสุนหมดตัว bolt ของปืนจะเปิดออกเพื่อเป็นการบอกผู้ใช้งานว่ากระสุนหมด โดยตัวปปืนมีศูนย์เล็งสามารถปรับสุงสุดได้ที่ระยะ 500 เมตร
รูปของ sig 540

แต่ถึงกระนั้นสวิสก็ศั่งซื้อ Sig 540 โดยนำไปดัดแปลงอีกครั้งโดยในปี 1981 ก็ได้พัฒนากระสุนชนิดใหม่เพื่อนำไปดัดแปลงใช้กับเจ้าปืน sig 540 โดยมีกระสุนขนาด 7.62x51 mm ของนาโต้เป็นตัวต้นแบบโดยพัฒนาเสร็จก็ได้สุนขนาด 6.45x48 GP 80 ของตนเองแต่ถึงกระนั้นเนื่องจากขนาดกระสุนที่ใหญ่เกินไปทำให้สวิสนำเจ้ากระสุน 6.45x48 GP 80  ไปพัฒนาดัดแปลงให้เล็กลงอีกครั้งโดยลดขนาดเหลือเพียง 5.6×45mm โดยสวิสตั้งชื่อว่า 5.6x45mm gp90 ซึ่งตัวกระสุนมีขนาดเท่ากับ 5.56x45 mm ของนาโต้ซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้เพราะขนาดกระสุนเท่ากันทุกอย่าง ซึ่งสวิสตัดสินในประจำการเจ้ากระสุน gp90 โดยจัดสินใจได้เจ้ากระสุน gp90 ไปดัดแปลงให้ใส่กับปืน sig 540 ของตนและเปลี่ยนชื่อปืนที่ใช้กับกระสุน gp90 นอกจากนี้ตัวปืนยังเปลี่ยนไปใช้พานท้ายแบบใหม่และพัฒนาชุดยิงแบบใหม่โดยสวิสได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า sig 541 หรือ Sturmgewehr-90 หรือย่อสั้นๆ stgw90 ในขณะที่รุ่นส่งออกนั้นของปืนชนิดนี้นั้นจะใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm m855 แทน โดยการสวิสประกาศให้เจ้าปืน sig 541 ประจำการทดแทนเจ้าปืน sig 540 ทั้งหมด ทำให้เจ้า Sig 541 กลายเป็นปืนไรเฟิลประจำกายมาตรฐานของกองทัพสวิสในปี 1983 และปืน sig 541 กระบอกแรกออกจากโรงงานในปี 1986 (กว่าจะผลิตจริงประจำการจริงๆก็ปาไป 3 ปีแหม่)จนในถึงช่วงทศวรรศที่ 1990 sig ก็ได้พัฒนาเจ้า sig 541 อีกครั้งในชื่อ "sig550" โดยเจ้า sig 550 ไม่ว่าจะเป็นพานท้ายที่พับได้แทนพานท้ายตายตัวแบบของเก่า น้ำหนักที่เบาขึ้นและมีการะดัดแปลงเทคนิคภายในรังเพลิงแบบใหม่ โดยตัวปืนสามารถใช้ซองกระสุนแบบ stanag ร่วมกับชาติอื่นๆในนาโต้ได้ และยังเปลี่ยนไปใช้ปลอกลดแสงแบบใหม่ โดยรุ่นส่งออกของปืนชนิดนี้จะใช้กระสุนแบบ m855 มาตรฐานนาโต้แทน gp90 ของตน โดยทางกองทัพสวิสได้สั่งซื้อ Sig 550 เข้าประจำการแทน sig 541 เกือบทั้งหมด
รูปของ sig 550

โดยศูนย์เล็งของ sig 550 นั้นเป็นศูนย์เล็งแบบเรืองแสงในเวลากลางคืนที่พัฒนามาจาก hk g3 ตัวศูนย์สามารถปรับระยะเล็งสุงสุดได้ถึง 500 เมตร ซึ่งในการปรับตัวสุนย์เล็งนั้นจะมีหมายเลขกำกับอยู่ "1" หมายถึงศูนย์เล็งในระยะ 100 เมตร "2"หมายถึงศูนย์เล็งในระยะ 200 เมตร "3"หมายถึงศูนย์เล็งในระยะ 300 เมตร และ"4"หมายถึงศูนย์เล็งในระยะ 400 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการปรับศูนย์เล็งไปถึงระดับ 400-500 เมตรนั้นจะเป็นการปรับการยิงเพื่อการกีฬาหรือเพื่อการแข่งขันมากกว่าที่จะใช้จริงๆ โดยศูนย์เล็งของตัวปืนเป็นแบบศูนย์เล็งต่ำเพื่อให้พลยิงชะโงกออกจากที่กำบังน้อยที่สุดหัวน้อยที่สุดเวลาเล็งปืน
รูปศูนย์เล็งของ sig 550

รูปศูนย์เล็งของ sig550 เวลากลางคืนสังเกตว่าตัวศูนย์เล็งนั้นจะเรืองแสง

โดยตัวพานท้ายปืนนั้นหุ้มด้วยยางเพื่อดูดซับแรงกระแทกและด้านบนพานท้ายมีแผ่นรองแก้มเพื่อความสะดวกสะบายในการเล็งปืน โดยด้ามจับตัวปืนนั้นเป็นที่เก็บอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดตัวปืน(คล้ายๆ m16 แต่ m16 เก็บในพานท้าย) โดยแม็กกาซีนที่มากับตัวปืนนั้นเป็นแม็กกาซีนแบบโปร่งแสงโดยทำจากโพลีเมอร์เพื่อความเบาและให้พลยิงสามารถเช็คกระสุนภายในซองกระสุนได้
รูปซองกระสุนที่แถมมากับตัวปืน sig 550

โดยตัวโกร่งปืนสามารถพับออกไปด้านช้างได้ในกรณีที่คนยิงสวมถุงมือขนาดทำการยิง ตัวกระโจมมือ ตัวด้ามจับและตัวพานท้ายของปืนนั้นทำจากโพลีเมอร์คุณภาพสูงเพื่อความเบาและสามารถติดตั้งขาตั้งได้โดยทางกองทัพสวิสได้นำเจ้า sig 550 ไปทดสอบทั้งลุยน้ำลุยโคลน เพื่อทดสอบความถึกของตัวปืนซึ่งการทดสอบสามารถผ่านไปด้วยดีถึงแม้จะมีรายงานว่าตัวท่อแก๊สนั้นมีปัญหากับพวกโคลนหนือน้ำทำให้เกิดอาการท่อแก๊สกร่อนซึ่งต่อมาทางกองทัพก็ได้แก้ไข โดยใช้ท่อแก๊สแบบใหม่ โดยการผลิตปืนนั้นจะใช้วิธีใช้โลหะแผ่นปั๊มขึ้นรูปโดยแผ่นเหล็กที่ใช้ขึ้นรูปนั้นจะเคลือบโดยเซรามิคคุณภาพสูงหรือที่รู้จักกันในชื่อ Ilaflon ในขณะที่การผลิตตัวระบบท่อแก๊สนั้นจะใช้แผ่นสแตนเลสคุณภาพสูงขปั๊มขึ้นรูป โดยตัวลำกล้อง และตัว bolt นั้นใช้วิธีการขึ้นรูปแล้วรมด้วยแก๊สไนรโตเจน เพื่อให้ตัวลำกล้องนั้นมีความแข็งแกร่งและให้เหลือคาร์บอนภายในตัวเหล็กน้อยที่สุด โดยตัวลำกล้องปืนนั้นจะมีรอบเกลียวอยู่ 1/10 ถ้าใช้กระสุนแบบ gp90 แต่ในรุ่นส่งออกจะเหลือเกลียวเพียง 1/7 เพื่อรองรับกับกระสุนแบบ 5.56x45 mm m855
       โดยสำหรับภารกิจพลแม่นปืนนั้น sig 550 จะติดตั้งกล้องเล็งกากบาท แบบ kern 4x24 กำลังขยาย 4x
รูป sig 550 กับกล้องเล็งแบบ kerm 4x24

ตัวปืนยังสามารถติดตั้งเครื่องลูกระเบิดแบบ sig gl5040 ขนาด 40mm ได้ โดยตัวเครื่องยิงลูกระเบิดมีระยะยิง 200 เมตร โดยคัวเครื่องยิงลูกระเบิดทำจากอะลูมีเนียมคุณภาพสูงทำให้มีน้ำหนักที่เบาโดยมีน้ำหนักเพียง 1.7 kg เท่านั้น
รูป sig 550 กับเครื่องยิงลูกระเบิด gl5040

โดยตัวปืนยังสามารถติดดาบปลายปืนอเนกประสงค์สำหรับการต่อสู้ระยะประชิดที่ผลิตโดย wenger โดยตัวมีความยาว 310 mm และตัวใบมีด
มีความยาว 177 mm  
รูป sig 550 กับดาบปลายปืน


รุ่นต่างๆ
1.sig 551 เป็นเวอร์ชั่นพัฒนาจาก sig 550 โดยตัดลำกล้องให้สั้นเหลือเพียง 18.3 นิ้ว โดยเปลี่ยนกระโจมมือแบบใหม่และตัวขาตั้งที่ติดมากับกระโจมมือถูกถอดออกโดยตัว sig 551 ไม่สามารถติดดาบปลายปืนหรือเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องได้(ติดได้แต่ใต้ลำกล้อง) โดยตัวปืนนั้นถูกออกแบบให้ใช้กับหน่วยรบพิเศษแลำตัวของปืนยังติดตั้งรางสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อติดตั้งเสริมแบบพิเศษต่างๆอีกด้วย นอกจากนั้นตัว sig 551 ยังแบ่งรุ่นแยกย่อยได้อีกด้วย(ลูกหลานเยอะจริงๆ)ได้แก่
    1.1 sig 551 cabine เหมือน sig 551 ทุกอย่างเพียงแต่ตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือ 14.3 นิ้ว
    1.2 sig 551-1p รุ่นสำหรับตำรวจโดยเฉพาะมีลำกล้องขนาด 14.3 นิ้วเท่ากับรุ่น cabine โดยตัวปืนมีระยะหวังผล 300 เมตรและติดตั้งกล้องเล็งแบบ Hensoldt 6x42 ใช้ศูนย์เล็งแบบกากบาท โดยตัวกล้องเล็งมีกำลังขยาย 6x โดยสามารถติดตั้งแผ่นรองแก้มแบบถอดออกได้
    1.3 sig 551 swat ออกแบบมาให้ใช้สำหรับภารกิจต่อต้านการก่อการร้าย ตัวลำกล้องเท่ารุ่น cabine โดยตัวปืนสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะเช่น ขาตั้ง เครื่องเล็งด้วยเลเซอร์ และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย
    1.4 sig 551-lb เป็นรุ่นที่ตัดลำกล้องให้สั้นลงโดยเหลือเพียง 17.9 นิ้วโดยสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องและดาบปลายปืนได้
รูปของปืน sig 551


2.sig 552 commando หลังจากตัดลำกล้องสั้นยังไม่จุใจทาง sig ในรุ่น carbine ในรุ่น commando ทาง sig ก็ได้ตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือเพียง 9 นิ้วในปี 1998 โดยการออกแบบนั้นได้เปลี่ยนไปใช้กระโจมมือแบบใหม่และรูระบายอากาศแบบใหม่ ท่อแก๊สแบบใหม่ ตัว bolt แบบใหม่เนื่องจากตัวปื้นที่สั้นกระทัดรัดทำให้ต้องออกแบบกลไกภายในแบบใหม่เกือบหมด นอกจากนี้ตัวปืนยังมีแบ่งรุ่นย่อยลงไปอีกได้แก่
     1.1 sig 552 (ไม่มีคำว่า commando ต่อท้าย)โดยเพิ่มความยาวลำกล้องให้เป็น 14.2 นิ้ว
     1.2 sig 552-lb เพิ่มความลำกล้องเป็น 13.6 นิ้วโดยตัวปืนสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องและดาบปลายปืนได้
รูปของ sig 552 commando
  

3.sig 553 โดยทาง Sig ได้นำปืน sig 552 commando มาพัฒนาใหม่อีกครั้งในปี 2008 กลไกภายในแทบไม่ต่างจากเจ้า commmando มากนักโดยใส่ตัวสปริงค์รับแรงรีคอยร์ครอบก้านลูกสูบอีกทีนึงเหมือนกับ sig550/551 เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของกลไกภายในตัวปืนตัว Sig 553 ตัดสินใจใช้คันกระชากแบบเดียวกับ sig 550/551 โดยตัวปืนมีความยาวลำกล้อง 13.3 นิ้วและลำตัวปืนด้านบนยังติดตั้งรางสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมแบบต่างๆและยังแบ่งรุ่นย่อยได้อีกคือ
      1.1 sig 553-lb เหมือน sig 553 ทุกอย่างแต่เพิ่มความยาวลำกล้องเป็น 13.7 นิ้ว โดยตัวปืนสามารถยิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้องและติดดาบปลายปืนได้
      1.2 sig 553-r เหมือนกับ sig 553 ทุกประการเพียงแต่ใช้กระสุนขนาด 7.62x39 mm แบบ Ak47 และยังสามารถใส่ซองบรรจุกระสุนของเจ้า ak 47 ได้อีกด้วย
รูปของปืน sig 553
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่