FN HERSTAL บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาอาวุธรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก บริษัทปืนแห่งนี้ได้ประดิษฐ์นวัตกรรมปืนมากมาย ออกมาสู่สายตาชาวโลกและได้พิสูจน์ประสิทธิภาพถึงความน่าเชื่อถือ ความแม่นยำ และความคลาสสิคและสวยงามของปืนมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้บริษัทแห่งนี้ได้มีชื่อเสียงเรียกขานมาจนทุกวันนี้เราต้องขอบคุณปืนไรเฟิลกระบอกหนึ่งที่กลายเป็นตำนานที่ทำให้บริษัท fn โด่งดังจนมาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมันยังคงความความคลาสสิคและสวยงามและประสิทธิภาพที่เหมาะสมไม่แพ้กับเพื่อนร่วมรุ่นของมันอย่าง ak 47 นั่นก็คือ fn fal นั่นเอง
การพัฒนา
การพัฒนาปืนได้เริ่มขึ้นในปี 1946 หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว 1 ปีอังกฤษสามารถยึดปืนไรเฟิลผู้ปลี่ยนโลกไปตลอดกาลอย่าง stg 44 อันลือลั่นของเยอรมัน อังกฤษพบว่าอนุภาพของมันนั้นร้ายกาจและมีประสิทธิภาพเกินกว่าไรเฟิลใดๆในยุคนั้น แต่เนื่องจากโรงงานผลิตอาวุธของตัวเองเสียหายอย่างหนักจากโจมตีของกองทัพอากาศเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 บวกกับตัวเองนั้นเริ่มมีโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลเป็นของตัวเองอยู่แล้ว
อังกฤษได้ส่งปืน Stg 44 ไปยังบริษัท fn herstal ของเบลเยี่ยม เบลเยี่ยมผู้ได้รับปืนไรเฟิล stg 44 มาจึงเริ่มการแงะและพัฒนาปืนไรเฟิลเป็นของตนเอง โดยมีอังกฤษช่วยพัฒนาอีกที โดยตัวปืนมีพื้นฐานมาจากเจ้า stg 44 โดยในตอนพัฒนาครั้งแรก อังกฤษและเบลเยี่ยมมีความเห็นกันว่าปืนไรเฟิลแบบใหม่นี้จะต้องใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt และกระสุนขนาด 7x43 mm british ซึ่งอังกฤษกำลังเร่งพัฒนาอยู่ โดยปืนไรเฟิลต้นแบบจำนวนมากนั้นใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt ของเยอรมันเนื่องจากกระสุน 7x43mm ของอังกฤษยังพัฒนาไม่เสร็จ การทดสอบผ่านไปด้วยดีโดยเบลเยี่ยมคาดหวังว่าปืนไรเฟิลจะได้รับเข้าประจำการอย่างรวดเร็วหลังจากผลิตตัวปืนไรเฟิลกระบอกแรกออจากโรงงาน แต่ไม่มีอังกฤษอังฤษซึ่งได้แยกตัวออกไปกลางคันเพราะเนื่องจากตัวเองก็กำลังมีโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลของตัวเองเช่นกัน
รูปปืนไรเฟิล fal ตัวต้นแบบซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt และ 7x43 mm british
สามารถอ่านบทความการพัฒนาปืนไรเฟิลของอังกฤษซึ่งผมได้เขียนไว้แล้วได้ข้างล่าง
http://ppantip.com/topic/33872283
ในขณะที่ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดีเจ้าปืนกระบอกใหม่นี้ก็ต้องเจออุปสรรคใหม่เมื่อพบว่ากระสุนที่มันใช้อย่าง 7.92x33 kuzt ไม่สามารถใช้ร่วมมาตรฐานกับกองทัพนาโต้ ซึ่งหัวหอกอย่างสหรัฐพึ่งได้ประกาศมาตรฐานกระสุนชนิดใหม่นั่นก็คือกระสุนขนาด 7.62x51 mm nato โดยสหรัฐได้สั่งให้กองทัพทุกกองทัพต้องใช้กระสุนขนาดมาตรฐานเดียวกันนั่นก็คือกระสุนขนาด 7.62x51mm nato ที่ตนพึ่งประกาศได้ไม่นาน การถกเถียงได้เกิดขึ้นโดยเฉพาะทางอังกฤษซึ่งได้ประท้วงทางสหรัฐโดยยืนกรานว่าจะพัฒนากระสุนขนาด 7x43 british สำหรับปืนไรเฟิลแบบใหม่ของตน โดยทางเบลเยี่ยมไม่ได้โต้เถียงสหรัฐแต่อย่างใด โดยทางเบลเยี่ยมได้ยอมเปลี่ยนขนาดกระสุนของตนอย่างใยดี โดยปืนไรเฟิลชนิดใหม่ที่ออกแบบได้ถูกดัดแปลงให้ใช้กับขนาดกระสุน 7.62x51mm ของสหรัฐ โดยตัวปืนที่แก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ออกจากโรงงานกระบอกแรกในชื่อ project t65 ซึ่งต่อมาได้เข้าประจำการในกองทัพเบลเยี่ยมในปี 1953 และเปลี่ยนชื่อเป็น"fn fal"
โดยทางนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลได้ตกลงกับทางทรูแมนซึ่งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐในตอนนั้น ซึ่งทั้งสองได้หาทางออกร่วมกันคือทางอังกฤษจะซื้อ fn fal มาประจำการและผลิตเองภายใต้ชื่อ l1a1 โดยโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลของตนเองจะยังคงมีอยู่ต่อไปแต่จะเปลี่ยนไปใช้กระสุนมาตรฐานของนาโต้แทน
นอกจากอังกฤษแล้วแคนาดาก็ยังตัดสินใจนำเจ้า fn fal นำเข้าเป็นปืนประจำกายหลักของตนเช่นกันในชื่อ c1 โดยขอลิขสิทธิ์ไปผลิตเองเช่นเดียวกับอังกฤษและตามมากด้วย c2 ซึ่งเป็น c1 เวอร์ชั่นติดลำกล้องหนาและหนักและขาตั้งสำหรับดัดแปลงเป็นปืนกลประจำหมู่ ออสเตรียก็เข่นเดียวกันกัลอังกฤษและเยอรมันโดยออสเตรียได้นำเจ้า fn fal เข้าประจำการในชื่อ stg 58 ส่วนเยอรมันก็ได้นำเจ้า fn fal ไปผลิตเองในชื่อ g1 rifle เพื่อประจำการพรางๆรอไปก่อนที่ปืนไรเฟิลของตนเองกำลังพัฒนาใกล้เสร็จในชื่อ hk g3 อันลือลั่นนั่นเอง
นอกจากประเทศข้างต้นแล้วสหรัฐก็ยังได้นำเจ้า fn fal ไปทดสอบเช่นกันผู้บัญชาการสหรัฐต่างชอบะพอใจในประสิทธิภาพของมันแต่กลับไม่นำเข้าประจำการเนื่องจากตนเองมี m14 อยู่แล้วถึงแม้ผลการทดสอบหลายๆอย่างเจ้า fn fal จะเหนือกว่า m14 ก็ตาม โดยสหรัฐในขอสิทธิบัตรเจ้า fn fal ไปผลิตเอาโดยขายในตลาดพลเรือนในชื่อ Dsa 58 rifle โดยจะมีเพียงโหมด semi-auto เพียงอย่างเดียวเท่านั้นโหมด full auto ได้ถูกตัดออกไป และตัวปืนด้านบนถูกติดตั้งรางติดอุปเสริมแทนที่จะเป็นเรียบๆแบบเก่า
รูปของ l1a1 ปืนไรเฟิล fal เวอร์ชั่นอังกฤษ
รูปของ Dsa 58 fn fal ในตลาดพลเรือนของสหรัฐ
โดยศึกแรกที่เจ้า fal ได้ออกรบนั่นก็คือศึกกบฎมลายา ณ ประเทศมาเลเซีย โดยอังกฤษพบว่า l1a1 หรือ fn fal ของตนนั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าพอใจมันถึก มีประสิทธิภาพและความแม่นยำที่เหมาะสมทหารอังกฤษต่างชื่นชมมันเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่มันได้พิสูจน์อย่างแท้จริงว่าสามารถไปยืนเทียบเคียบเป็นปืนไรเฟิลในตำนานควบคู่กับเจ้า ak 47 ได้อย่างสมศักศรีดิ์ โดยเจ้า fn fal ได้เข้าร่วมสมรภูมิมากมายมันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันคือปืนไรเฟิลที่ไว้ใจได้ มีความสวยงามและมีประสิทธิภาพอย่างน่าเหลือเชื่อโดยมันได้เข้าร่วมในแนวหน้าเผชิญกับคู่กัดของมันอย่าง ak 47 มันได้เข้าประจำการในหลายประเทศเสรีที่ต่อต้านภัยร้ายจากคอมมิวนิสต์จนได้รับสมญานามว่า"ปืนไรเฟิลแห่งโลกเสรี"
กองทัพออสเตเลียซึ่งเป็นหนึ่งในเครือจักรภพของอังกฤษกับ fn fal ในสงครามเวียดนาม
รายละเอียดตัวปืน
fn fal ใช้ระบบปฏิบัติการ gas operate ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ svt 40 ของโซเวียต โดยใช้ระบบ short-storke piston โดยตัวลูกสูบกับสปริงถอยหลังอยู่ตรงเหนือลำกล้องเช่นเดียวกับเจ้า ak 47 โดยตัวปืนมีระบบกลไกล็อคภายในที่เรียกว่า tilting breechblock ซึ่งพัฒนามาจาก stg 44 ของเยอรมัน โดยตัวลูกสูบจะอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับลำกล้องและอยู่ตรงศูนย์หน้าของตัวปืนพอดิบพอดี โดยระบบ short-storke piston ถูกออกแบบมาให้ทนกับถึกสภาพแวดล้อมทั้งร้อนชื้น หนาวจัด ร้อนจัด ทุกสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศทำให้ตัวปืนนั้นมีความอึดทนอย่างมาก และเป็นเพื่อนคู่กายที่ดีของทหารราบที่ดีในสนามรบ โดยตัวลูกสูบและลำกล้องจะมี plug สำหรับดัดแปลงไว้ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้อง โดยตัวสปริงรับแรงรีคอยด์และตัว bolt ของปืนจะถูกใส่ไว้ข้างในตัวพานท้ายปืน โดยในรุ่นที่พับพานท้ายได้ตัวสปริงที่รับแรงรีคอยด์และตัว bolt จะถูกปรับเข้ามาไว้ด้านล่างของตัวโครงปืนแทนเพื่อให้สามารถพับพานท้ายได้โดยไม่ต้องไปติดขัดกับตัวสปริง ปืน fn fal นั้นมีความแม่นยำสูงแต่เมื่อยิงในโหมด full auto จะมีความแม่นยำที่ต่ำมากเพราะตัวปืนนั้นคุมได้ยาก แต่ถึงจะยังงั้นมันก็ยังได้รับความนิยมเพราะถึงแม้มันจะค่อยดีในโหมด full auto แต่ในโหมด semi auto มันมีความแม่นยำสูงดังที่เราเห็นในสงครามกลางเมืองซีเรียที่เรามักจะเห็นฝ่ายต่อต้านนิยมเอา fn fal ไปติดกล้องเล็งและทำเป็นปืนซุ่มยิงนั่นเอง
ฝ่ายกบฎ FSA กับ fn fal ติดกล้องเล็ง
รุ่นต่างๆ
1.fn fal 50.00
fn fal รุ่นมาตรฐาน
รูปของ fal 50.00
2.fn fal 50.41
fn fal รุ่นที่ดัดแปลงเป็นปืนกลประจำหมู่ โดยติดตั้งลำกล้องที่หนาขึ้นเปลี่ยนกระโจมมือแบบใหม่ใส่หูหิ้วแบบพิเศษ และติดขาตั้งที่สามารถพับเก็บ-ถอดออกได้ โดยพานท้ายปืนทำจากวัสดุสังเคราะห์
รูปของ fal 50.41
3.fn fal 50.42
เหมือนรุ่น 50.41 ทุกอย่างแต่เปลี่ยนพานท้ายที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์เป็นไม้แทน
รูปของ fal 50.42
4.fn fal 50.61
fn fal ร่นมาตรฐาน สามารถพับพานได้สำหรับสู้ในพื้นที่แคบๆและสะดวกในการพกพา
รูปของ fal 50.61
5.fn fal 50.62
fn fal รุ่นพับพานท้ายเช่นเดียวกับ 50.61 แต่ตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือ 18 นิ้ว
รูปของ fal 50.62
6.fn fal 50.63
fn fal ที่ตัดลำกล้องเหลือ 17 นิ้ว สำหรับหน่วยพลร่ม พานท้ายที่พับเก็บได้ คันรั้งที่สามารถถอดเก็บและพับเก็บได้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินยุทธวิธี
รูปของ fal 50.63
7.fn fal 50.64
fn fal ที่ดัดแปลงโดยใช้อลูมิเนียมผสมกับตัวโครงปืนทำให้ตัวปืนมีน้ำหนักที่เบาขึ้น พานท้ายที่พับเก็บได้เช่นเดียวกับรุ่นอื่นและคันรั้งตัวปืนที่มีความคล้ายคลึงกับ l1a1 ของอังกฤษซึ่ง ก็เป็น fn fal เวอร์ชั่นของอังกฤษ
รูปของ fal 50.64
นอกจากนี้ตัวปืนยังมีเวอร์ชั่น bullpub ออกมาด้วยแต่เป็นเพียงตัวต้นแบบเท่านั้นไม่ได้ทำการผลิตออกมาจริงๆ
รูป fall เวอร์ชั่น bullpub
ข้อมูลโดยรวม
ประเทศผู้ผลิต: เบลเยี่ยม
ขนาดกระสุน: 7.62x51 mm nato
ระยะหวังผล: 700 เมตร
อัตราการยิง: 600-750 นัด/นาที
ความยาวปากลำกล้อง: 21 นิ้ว(fal),18 นิ้ว(50.62),17 นิ้ว(50.63)
น้ำหนัก: 4.3 kg(fal),3.9 kg(50.61),3.8 kg(50.63)
อ้างอิง
http://world.guns.ru/assault/be/fn-fal-e.html
https://en.wikipedia.org/wiki/FN_FAL
http://specialoperations.com/28765/fn-fal-worlds-successful-battle-rifle/
FN FAL ความภาคภูมิใจของเบลเยี่ยม
การพัฒนา
การพัฒนาปืนได้เริ่มขึ้นในปี 1946 หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว 1 ปีอังกฤษสามารถยึดปืนไรเฟิลผู้ปลี่ยนโลกไปตลอดกาลอย่าง stg 44 อันลือลั่นของเยอรมัน อังกฤษพบว่าอนุภาพของมันนั้นร้ายกาจและมีประสิทธิภาพเกินกว่าไรเฟิลใดๆในยุคนั้น แต่เนื่องจากโรงงานผลิตอาวุธของตัวเองเสียหายอย่างหนักจากโจมตีของกองทัพอากาศเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 บวกกับตัวเองนั้นเริ่มมีโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลเป็นของตัวเองอยู่แล้ว
อังกฤษได้ส่งปืน Stg 44 ไปยังบริษัท fn herstal ของเบลเยี่ยม เบลเยี่ยมผู้ได้รับปืนไรเฟิล stg 44 มาจึงเริ่มการแงะและพัฒนาปืนไรเฟิลเป็นของตนเอง โดยมีอังกฤษช่วยพัฒนาอีกที โดยตัวปืนมีพื้นฐานมาจากเจ้า stg 44 โดยในตอนพัฒนาครั้งแรก อังกฤษและเบลเยี่ยมมีความเห็นกันว่าปืนไรเฟิลแบบใหม่นี้จะต้องใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt และกระสุนขนาด 7x43 mm british ซึ่งอังกฤษกำลังเร่งพัฒนาอยู่ โดยปืนไรเฟิลต้นแบบจำนวนมากนั้นใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt ของเยอรมันเนื่องจากกระสุน 7x43mm ของอังกฤษยังพัฒนาไม่เสร็จ การทดสอบผ่านไปด้วยดีโดยเบลเยี่ยมคาดหวังว่าปืนไรเฟิลจะได้รับเข้าประจำการอย่างรวดเร็วหลังจากผลิตตัวปืนไรเฟิลกระบอกแรกออจากโรงงาน แต่ไม่มีอังกฤษอังฤษซึ่งได้แยกตัวออกไปกลางคันเพราะเนื่องจากตัวเองก็กำลังมีโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลของตัวเองเช่นกัน
รูปปืนไรเฟิล fal ตัวต้นแบบซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.92x33 mm kuzt และ 7x43 mm british
สามารถอ่านบทความการพัฒนาปืนไรเฟิลของอังกฤษซึ่งผมได้เขียนไว้แล้วได้ข้างล่าง
http://ppantip.com/topic/33872283ในขณะที่ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดีเจ้าปืนกระบอกใหม่นี้ก็ต้องเจออุปสรรคใหม่เมื่อพบว่ากระสุนที่มันใช้อย่าง 7.92x33 kuzt ไม่สามารถใช้ร่วมมาตรฐานกับกองทัพนาโต้ ซึ่งหัวหอกอย่างสหรัฐพึ่งได้ประกาศมาตรฐานกระสุนชนิดใหม่นั่นก็คือกระสุนขนาด 7.62x51 mm nato โดยสหรัฐได้สั่งให้กองทัพทุกกองทัพต้องใช้กระสุนขนาดมาตรฐานเดียวกันนั่นก็คือกระสุนขนาด 7.62x51mm nato ที่ตนพึ่งประกาศได้ไม่นาน การถกเถียงได้เกิดขึ้นโดยเฉพาะทางอังกฤษซึ่งได้ประท้วงทางสหรัฐโดยยืนกรานว่าจะพัฒนากระสุนขนาด 7x43 british สำหรับปืนไรเฟิลแบบใหม่ของตน โดยทางเบลเยี่ยมไม่ได้โต้เถียงสหรัฐแต่อย่างใด โดยทางเบลเยี่ยมได้ยอมเปลี่ยนขนาดกระสุนของตนอย่างใยดี โดยปืนไรเฟิลชนิดใหม่ที่ออกแบบได้ถูกดัดแปลงให้ใช้กับขนาดกระสุน 7.62x51mm ของสหรัฐ โดยตัวปืนที่แก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ออกจากโรงงานกระบอกแรกในชื่อ project t65 ซึ่งต่อมาได้เข้าประจำการในกองทัพเบลเยี่ยมในปี 1953 และเปลี่ยนชื่อเป็น"fn fal"
โดยทางนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลได้ตกลงกับทางทรูแมนซึ่งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐในตอนนั้น ซึ่งทั้งสองได้หาทางออกร่วมกันคือทางอังกฤษจะซื้อ fn fal มาประจำการและผลิตเองภายใต้ชื่อ l1a1 โดยโปรเจคพัฒนาปืนไรเฟิลของตนเองจะยังคงมีอยู่ต่อไปแต่จะเปลี่ยนไปใช้กระสุนมาตรฐานของนาโต้แทน
นอกจากอังกฤษแล้วแคนาดาก็ยังตัดสินใจนำเจ้า fn fal นำเข้าเป็นปืนประจำกายหลักของตนเช่นกันในชื่อ c1 โดยขอลิขสิทธิ์ไปผลิตเองเช่นเดียวกับอังกฤษและตามมากด้วย c2 ซึ่งเป็น c1 เวอร์ชั่นติดลำกล้องหนาและหนักและขาตั้งสำหรับดัดแปลงเป็นปืนกลประจำหมู่ ออสเตรียก็เข่นเดียวกันกัลอังกฤษและเยอรมันโดยออสเตรียได้นำเจ้า fn fal เข้าประจำการในชื่อ stg 58 ส่วนเยอรมันก็ได้นำเจ้า fn fal ไปผลิตเองในชื่อ g1 rifle เพื่อประจำการพรางๆรอไปก่อนที่ปืนไรเฟิลของตนเองกำลังพัฒนาใกล้เสร็จในชื่อ hk g3 อันลือลั่นนั่นเอง
นอกจากประเทศข้างต้นแล้วสหรัฐก็ยังได้นำเจ้า fn fal ไปทดสอบเช่นกันผู้บัญชาการสหรัฐต่างชอบะพอใจในประสิทธิภาพของมันแต่กลับไม่นำเข้าประจำการเนื่องจากตนเองมี m14 อยู่แล้วถึงแม้ผลการทดสอบหลายๆอย่างเจ้า fn fal จะเหนือกว่า m14 ก็ตาม โดยสหรัฐในขอสิทธิบัตรเจ้า fn fal ไปผลิตเอาโดยขายในตลาดพลเรือนในชื่อ Dsa 58 rifle โดยจะมีเพียงโหมด semi-auto เพียงอย่างเดียวเท่านั้นโหมด full auto ได้ถูกตัดออกไป และตัวปืนด้านบนถูกติดตั้งรางติดอุปเสริมแทนที่จะเป็นเรียบๆแบบเก่า
รูปของ l1a1 ปืนไรเฟิล fal เวอร์ชั่นอังกฤษ
รูปของ Dsa 58 fn fal ในตลาดพลเรือนของสหรัฐ
โดยศึกแรกที่เจ้า fal ได้ออกรบนั่นก็คือศึกกบฎมลายา ณ ประเทศมาเลเซีย โดยอังกฤษพบว่า l1a1 หรือ fn fal ของตนนั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าพอใจมันถึก มีประสิทธิภาพและความแม่นยำที่เหมาะสมทหารอังกฤษต่างชื่นชมมันเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่มันได้พิสูจน์อย่างแท้จริงว่าสามารถไปยืนเทียบเคียบเป็นปืนไรเฟิลในตำนานควบคู่กับเจ้า ak 47 ได้อย่างสมศักศรีดิ์ โดยเจ้า fn fal ได้เข้าร่วมสมรภูมิมากมายมันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันคือปืนไรเฟิลที่ไว้ใจได้ มีความสวยงามและมีประสิทธิภาพอย่างน่าเหลือเชื่อโดยมันได้เข้าร่วมในแนวหน้าเผชิญกับคู่กัดของมันอย่าง ak 47 มันได้เข้าประจำการในหลายประเทศเสรีที่ต่อต้านภัยร้ายจากคอมมิวนิสต์จนได้รับสมญานามว่า"ปืนไรเฟิลแห่งโลกเสรี"
กองทัพออสเตเลียซึ่งเป็นหนึ่งในเครือจักรภพของอังกฤษกับ fn fal ในสงครามเวียดนาม
รายละเอียดตัวปืน
fn fal ใช้ระบบปฏิบัติการ gas operate ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ svt 40 ของโซเวียต โดยใช้ระบบ short-storke piston โดยตัวลูกสูบกับสปริงถอยหลังอยู่ตรงเหนือลำกล้องเช่นเดียวกับเจ้า ak 47 โดยตัวปืนมีระบบกลไกล็อคภายในที่เรียกว่า tilting breechblock ซึ่งพัฒนามาจาก stg 44 ของเยอรมัน โดยตัวลูกสูบจะอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับลำกล้องและอยู่ตรงศูนย์หน้าของตัวปืนพอดิบพอดี โดยระบบ short-storke piston ถูกออกแบบมาให้ทนกับถึกสภาพแวดล้อมทั้งร้อนชื้น หนาวจัด ร้อนจัด ทุกสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศทำให้ตัวปืนนั้นมีความอึดทนอย่างมาก และเป็นเพื่อนคู่กายที่ดีของทหารราบที่ดีในสนามรบ โดยตัวลูกสูบและลำกล้องจะมี plug สำหรับดัดแปลงไว้ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดจากปากลำกล้อง โดยตัวสปริงรับแรงรีคอยด์และตัว bolt ของปืนจะถูกใส่ไว้ข้างในตัวพานท้ายปืน โดยในรุ่นที่พับพานท้ายได้ตัวสปริงที่รับแรงรีคอยด์และตัว bolt จะถูกปรับเข้ามาไว้ด้านล่างของตัวโครงปืนแทนเพื่อให้สามารถพับพานท้ายได้โดยไม่ต้องไปติดขัดกับตัวสปริง ปืน fn fal นั้นมีความแม่นยำสูงแต่เมื่อยิงในโหมด full auto จะมีความแม่นยำที่ต่ำมากเพราะตัวปืนนั้นคุมได้ยาก แต่ถึงจะยังงั้นมันก็ยังได้รับความนิยมเพราะถึงแม้มันจะค่อยดีในโหมด full auto แต่ในโหมด semi auto มันมีความแม่นยำสูงดังที่เราเห็นในสงครามกลางเมืองซีเรียที่เรามักจะเห็นฝ่ายต่อต้านนิยมเอา fn fal ไปติดกล้องเล็งและทำเป็นปืนซุ่มยิงนั่นเอง
ฝ่ายกบฎ FSA กับ fn fal ติดกล้องเล็ง
รุ่นต่างๆ
1.fn fal 50.00
fn fal รุ่นมาตรฐาน
รูปของ fal 50.00
2.fn fal 50.41
fn fal รุ่นที่ดัดแปลงเป็นปืนกลประจำหมู่ โดยติดตั้งลำกล้องที่หนาขึ้นเปลี่ยนกระโจมมือแบบใหม่ใส่หูหิ้วแบบพิเศษ และติดขาตั้งที่สามารถพับเก็บ-ถอดออกได้ โดยพานท้ายปืนทำจากวัสดุสังเคราะห์
รูปของ fal 50.41
3.fn fal 50.42
เหมือนรุ่น 50.41 ทุกอย่างแต่เปลี่ยนพานท้ายที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์เป็นไม้แทน
รูปของ fal 50.42
4.fn fal 50.61
fn fal ร่นมาตรฐาน สามารถพับพานได้สำหรับสู้ในพื้นที่แคบๆและสะดวกในการพกพา
รูปของ fal 50.61
5.fn fal 50.62
fn fal รุ่นพับพานท้ายเช่นเดียวกับ 50.61 แต่ตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือ 18 นิ้ว
รูปของ fal 50.62
6.fn fal 50.63
fn fal ที่ตัดลำกล้องเหลือ 17 นิ้ว สำหรับหน่วยพลร่ม พานท้ายที่พับเก็บได้ คันรั้งที่สามารถถอดเก็บและพับเก็บได้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินยุทธวิธี
รูปของ fal 50.63
7.fn fal 50.64
fn fal ที่ดัดแปลงโดยใช้อลูมิเนียมผสมกับตัวโครงปืนทำให้ตัวปืนมีน้ำหนักที่เบาขึ้น พานท้ายที่พับเก็บได้เช่นเดียวกับรุ่นอื่นและคันรั้งตัวปืนที่มีความคล้ายคลึงกับ l1a1 ของอังกฤษซึ่ง ก็เป็น fn fal เวอร์ชั่นของอังกฤษ
รูปของ fal 50.64
นอกจากนี้ตัวปืนยังมีเวอร์ชั่น bullpub ออกมาด้วยแต่เป็นเพียงตัวต้นแบบเท่านั้นไม่ได้ทำการผลิตออกมาจริงๆ
รูป fall เวอร์ชั่น bullpub
ข้อมูลโดยรวม
ประเทศผู้ผลิต: เบลเยี่ยม
ขนาดกระสุน: 7.62x51 mm nato
ระยะหวังผล: 700 เมตร
อัตราการยิง: 600-750 นัด/นาที
ความยาวปากลำกล้อง: 21 นิ้ว(fal),18 นิ้ว(50.62),17 นิ้ว(50.63)
น้ำหนัก: 4.3 kg(fal),3.9 kg(50.61),3.8 kg(50.63)
อ้างอิง
http://world.guns.ru/assault/be/fn-fal-e.html
https://en.wikipedia.org/wiki/FN_FAL
http://specialoperations.com/28765/fn-fal-worlds-successful-battle-rifle/