"ขอขอบคุณเพจ GUN in The World อย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/catwarriorandroyalthaiarmyman/
ประวัติความเป็นมา
ในช่วงปี ค.ศ.1950 นั้นรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี/เยอรมันตะวันตกนั้นมีความต้องการที่อยากจะจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธไว้ป้องกันตัวเองแต่ไม่สามารถจัดต้องกองทัพได้ในช่วงเวลานั้นชาติพันธมิตรตะวันตกมีความกังวลที่จะให้เยอรมันตะวันตกนั้นมีกำลังทหาร รัฐบาลเยอรมันตะวันตกจึงจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐ (Bundesgrenzschutz) สังกัดตำรวจแห่งสหพันธ์รัฐเยอรมนี (Bundespolizei) ซึ่งโดยรวมเป็นกองกำลังกึ่งทหารสังกัดตำรวจเยอรมันตะวันตกในปี ค.ศ.1951 (พยายามเลี่ยงบาลีจากการที่ห้ามให้มีกองทัพ
ภายหลังในปี ค.ศ.1955 หลังจากการประชุมที่ปารีสของเหล่าชาติพันธมิตรตะวันตกนั้นทุกประเทศเห็นชอบที่จะให้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกนั้นมีกองทัพได้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกจึงจัดตั้งกองทัพเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1955 โดยมีชื่อว่ากองกำลังป้องกันสหพันธรัฐ (Bundeswehr) แต่ก็หน่วยพิทักษ์ชายแดนนั้นก็ยังคงทำหน้าที่ต่อไป
ในปี ค.ศ.1955 ถึง ค.ศ.1956 รัฐบาลเยอรมันตะวันตกได้มีการสั่งซื้อ ปลย.FN FAL จากประเทศเบลเยียมจำนวนหลายพันกระบอกสำหรับหน่วยพิทักษ์ชายแดนโดยปืนเล็กยาว FN FAL ที่สั่งนั้นเป็นรุ่น FAL Type I ที่ใช้ปลอกสดแสงแบบแฉกประกับ,ด้ามปืน และ พานท้ายที่ทำจากไม้ ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันกับที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ/สหราชอาณาจักร นั้นซื้อสิทธิบัตรไปผลิตเองและได้เข้าประจำการในกองทัพสหราชอาณาจักรในชื่อ L1A1 SLR เพียงแต่ของสหราชอาณาจักรนั้นจะเลือกปรับจังหวะการยิงได้แค่ ห้ามไก และ กึ่งอัตโนมัติ เท่านั้นเนื่องจากหลักนิยมของกองทัพสหราชอาณาจักร
เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐกับ ปลย.FN FAL
โดยในช่วงเวลานั้นกองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นจะใช้ ปลยบ.M1 Garand จากสหรัฐอเมริกาซึ่งต่างจากหน่วยพิทักษ์ชายแดนที่ใช้ ปลย.FN FAL
ภายหลังในช่วง พฤศจิกายน ค.ศ.1956 รัฐบาลเยอรมันตะวันตกได้มีการสั่งซื้อ ปลย.FN FAL จำนวนกว่า 100,000 กระบอกให้กองทัพเยอรมันตะวันตกและได้ชื่อในกองทัพเยอรมันตะวันตกว่า G1 ซึ่งย่อมาจาก Gewehr 1 หรือ ปืนเล็กยาว 1 ซึ่งหน่วยพิทักษ์ชายแดนก็มีการใช้งานเช่นกัน ปลย.G1 นั้นเป็นรุ่น FAL Type I แต่ใช้ประกับลำกล้องที่ทำจากเหล็กที่มีร่องยาวบนประกับลำกล้อง ปลอกลดแสงแบบแฉก ด้ามปืนทำจากไม้ ตัวปืนมาพร้อมขาทราย และ มีด้ามหิ้ว คล้าย ๆ กับ ปลย.STG.58 ของออสเตรียซึ่ง FN ได้เริ่มทำการผลิตให้ในช่วง ค.ศ.1958 ถึง 1959
ซึ่งภายหลังก็มีการปรับเปลี่ยนแบบโดยจากด้ามปืนแบบไม้เป็นแบบด้ามปืนที่ทำจากวัสดุพลาสติกแทน
หลังจากได้เข้าประจำในกองทัพเยอรมันตะวันตกได้สักพักนั้นกองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นประทับในประสิทธิภาพของ ปลย.G1 มากจึงมีความต้องการในการซื้อสิทธิบัตรมาผลิตในประเทศแต่ทางบริษัท FN นั้นไม่อนุญาติเนื่องด้วยเหตุผลทางการเมืองและประวัติศาสตร์
ทางให้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกนั้นตัดสินใจไม่ไปต่อกับ ปลย.G1 และตัดสินใจพัฒนาอาุธปืนเล็กยาวประจำการด้วยตัวเองโดยไปซื้อแบบมาจาก CETME ของสเปนซึ่งก็คือ ปลย.CETME mod. A (ซึ่งต้นสายของปืนรุ่นนี้ก็คือ Stg.45(M) ของเยอรมันสมัยปลายสงครามโลกครั้งที่สอง) มาพัฒนาเองและกลายเป็น ปลย.G3 และเข้าประจำการในปี ค.ศ.1959 ในที่สุด
***อ่านประวัติ G3 ได้ที่นี่ครับ***
(
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/posts/1345117002253115/)
ภายหลังที่กองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นนำ ปลย.G3 เข้าประจำการก็ได้มีการขาย ปลย.G1 ไปให้ประเทศอื่น ๆ เช่นตุรกี
หน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐ กับ ปลย.G1
ทหารกองกำลังป้องกันสหพันธรัฐกับ ปลย.G1
ปลย.G1 (Early Model)
คุณลักษณะของตัวปืน
ปลย.G1 นั้นก็เหมือนกับ ปลย.FN FAL มันใช้ระบบปฏิบัติการแบบแก๊สดันต่อลูกสูบแบบช่วงชักสั้น ใช้ระบบขัดกลอนแบบกระดกแบบล็อกกับโครงปืน โครงปืนเป็นโครงปืนแบบปั๊มขึ้นรูป ตรงบริเวณด้านหน้าบนโครงปืนส่วนบนนั้นมีตัวยึดด้ามหิ้วอยู่ ตัวด้ามหิ้วนั้นสามารถงอพับเก็บได้ ตัวปืนสามารถติดตั้งเครื่องช่วยเล็งแบบ Hensoldt Optische Werk F-series กำลังขยาย X4 ได้บริเวณโครงปืนส่วนบน ด้ามปืน,พานท้าย นั้นทำจากไม้ ตัวปืนมีขาทรายติดตั้งอยู่บริเวณใต้ลำกล้องของตัวปืน ตัวปืนนั้นนั้นเลือกปรับจังหวะการยิงได้ 3 จังหวะคือ ห้ามไก,กึ่งอัตโนมัติ,อัตโนมัติ ศูนย์หน้ามาพร้อมตัวป้องกันศูนย์ ศูนย์สามารถจัดปรับได้ตั้งแต่ 100 ถึง 600 เมตร ตัวปืนสามารถยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กได้ ตัวปืนจัดปรับแก๊สได้ ซองกระสุนบรรจุ 20 นัด และ ตัวปืนสามารถติดตั้งดาบปลายปืนได้
รุ่นต่าง ๆ ของตัวปืน
1.ปลย.G1 (Early Model) ใช้ประกับลำกล้องที่ทำจากเหล็กที่มีร่องยาวบนประกับลำกล้อง ปลอกลดแสงแบบแฉก ด้ามปืนทำจากไม้ ตัวปืนมาพร้อมขาทราย และ มีด้ามหิ้ว
ปลย.G1 (Late Model)
ปืนเล็กยาวประจำการแห่งเยอรมนี
ข้อมูลทางเทคนิค (กล่าวเฉพาะรุ่นมารตฐาน)
ชื่อ : G1
ผู้ผลิต : FN Herstal
ขนาดกระสุน : 7.62x51มม
ความจุซองกระสุน : บรรจุด้วยซองกระสุน 20 นัด
ความยาวลำกล้อง : 21 นิ้ว
ความยาวตัวปืน : 43 นี้ว
น้ำหนักตัวปืน : 4,45 กิโลกรัม
ระบบ : แก๊สดันต่อลูกสูบแบบช่วงชักสั้น
อัตราเร็วการยิง : 650-700 นัด/นาที
ความเร็วปากลำกล้อง : 823 เมตร/วินาที
ระยะหวังผล : 600 เมตร
ประเทศผู้ผลิต : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ขอบคุณที่รับชมสวัสดีครับ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
@RMZ
อ้างอิง
The World's Assault Rifles
https://en.wikipedia.org/wiki/West_German_rearmament
https://en.wikipedia.org/wiki/German_military_rifles#G1_%E2%80%93_FN_FAL_(West_Germany)
https://en.wikipedia.org/wiki/FN_FAL#Germany
https://de.wikipedia.org/wiki/FN_FAL
https://modernfirearms.net/en/assault-rifles/belgium-assault-rifles/fn-fal-l1a1-c1-slr-eng/
#บทความปืนโดยGW
#GW
#แอดมินRMZ
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1265 G1 West German FN FAL
https://www.facebook.com/catwarriorandroyalthaiarmyman/
ประวัติความเป็นมา
ในช่วงปี ค.ศ.1950 นั้นรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี/เยอรมันตะวันตกนั้นมีความต้องการที่อยากจะจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธไว้ป้องกันตัวเองแต่ไม่สามารถจัดต้องกองทัพได้ในช่วงเวลานั้นชาติพันธมิตรตะวันตกมีความกังวลที่จะให้เยอรมันตะวันตกนั้นมีกำลังทหาร รัฐบาลเยอรมันตะวันตกจึงจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐ (Bundesgrenzschutz) สังกัดตำรวจแห่งสหพันธ์รัฐเยอรมนี (Bundespolizei) ซึ่งโดยรวมเป็นกองกำลังกึ่งทหารสังกัดตำรวจเยอรมันตะวันตกในปี ค.ศ.1951 (พยายามเลี่ยงบาลีจากการที่ห้ามให้มีกองทัพ
ภายหลังในปี ค.ศ.1955 หลังจากการประชุมที่ปารีสของเหล่าชาติพันธมิตรตะวันตกนั้นทุกประเทศเห็นชอบที่จะให้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกนั้นมีกองทัพได้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกจึงจัดตั้งกองทัพเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1955 โดยมีชื่อว่ากองกำลังป้องกันสหพันธรัฐ (Bundeswehr) แต่ก็หน่วยพิทักษ์ชายแดนนั้นก็ยังคงทำหน้าที่ต่อไป
ในปี ค.ศ.1955 ถึง ค.ศ.1956 รัฐบาลเยอรมันตะวันตกได้มีการสั่งซื้อ ปลย.FN FAL จากประเทศเบลเยียมจำนวนหลายพันกระบอกสำหรับหน่วยพิทักษ์ชายแดนโดยปืนเล็กยาว FN FAL ที่สั่งนั้นเป็นรุ่น FAL Type I ที่ใช้ปลอกสดแสงแบบแฉกประกับ,ด้ามปืน และ พานท้ายที่ทำจากไม้ ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันกับที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ/สหราชอาณาจักร นั้นซื้อสิทธิบัตรไปผลิตเองและได้เข้าประจำการในกองทัพสหราชอาณาจักรในชื่อ L1A1 SLR เพียงแต่ของสหราชอาณาจักรนั้นจะเลือกปรับจังหวะการยิงได้แค่ ห้ามไก และ กึ่งอัตโนมัติ เท่านั้นเนื่องจากหลักนิยมของกองทัพสหราชอาณาจักร
เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐกับ ปลย.FN FAL
โดยในช่วงเวลานั้นกองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นจะใช้ ปลยบ.M1 Garand จากสหรัฐอเมริกาซึ่งต่างจากหน่วยพิทักษ์ชายแดนที่ใช้ ปลย.FN FAL
ภายหลังในช่วง พฤศจิกายน ค.ศ.1956 รัฐบาลเยอรมันตะวันตกได้มีการสั่งซื้อ ปลย.FN FAL จำนวนกว่า 100,000 กระบอกให้กองทัพเยอรมันตะวันตกและได้ชื่อในกองทัพเยอรมันตะวันตกว่า G1 ซึ่งย่อมาจาก Gewehr 1 หรือ ปืนเล็กยาว 1 ซึ่งหน่วยพิทักษ์ชายแดนก็มีการใช้งานเช่นกัน ปลย.G1 นั้นเป็นรุ่น FAL Type I แต่ใช้ประกับลำกล้องที่ทำจากเหล็กที่มีร่องยาวบนประกับลำกล้อง ปลอกลดแสงแบบแฉก ด้ามปืนทำจากไม้ ตัวปืนมาพร้อมขาทราย และ มีด้ามหิ้ว คล้าย ๆ กับ ปลย.STG.58 ของออสเตรียซึ่ง FN ได้เริ่มทำการผลิตให้ในช่วง ค.ศ.1958 ถึง 1959
ซึ่งภายหลังก็มีการปรับเปลี่ยนแบบโดยจากด้ามปืนแบบไม้เป็นแบบด้ามปืนที่ทำจากวัสดุพลาสติกแทน
หลังจากได้เข้าประจำในกองทัพเยอรมันตะวันตกได้สักพักนั้นกองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นประทับในประสิทธิภาพของ ปลย.G1 มากจึงมีความต้องการในการซื้อสิทธิบัตรมาผลิตในประเทศแต่ทางบริษัท FN นั้นไม่อนุญาติเนื่องด้วยเหตุผลทางการเมืองและประวัติศาสตร์
ทางให้รัฐบาลเยอรมันตะวันตกนั้นตัดสินใจไม่ไปต่อกับ ปลย.G1 และตัดสินใจพัฒนาอาุธปืนเล็กยาวประจำการด้วยตัวเองโดยไปซื้อแบบมาจาก CETME ของสเปนซึ่งก็คือ ปลย.CETME mod. A (ซึ่งต้นสายของปืนรุ่นนี้ก็คือ Stg.45(M) ของเยอรมันสมัยปลายสงครามโลกครั้งที่สอง) มาพัฒนาเองและกลายเป็น ปลย.G3 และเข้าประจำการในปี ค.ศ.1959 ในที่สุด
***อ่านประวัติ G3 ได้ที่นี่ครับ***
(https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/posts/1345117002253115/)
ภายหลังที่กองทัพเยอรมันตะวันตกนั้นนำ ปลย.G3 เข้าประจำการก็ได้มีการขาย ปลย.G1 ไปให้ประเทศอื่น ๆ เช่นตุรกี
หน่วยพิทักษ์ชายแดนแห่งสหพันธรัฐ กับ ปลย.G1
ทหารกองกำลังป้องกันสหพันธรัฐกับ ปลย.G1
ปลย.G1 (Early Model)
คุณลักษณะของตัวปืน
ปลย.G1 นั้นก็เหมือนกับ ปลย.FN FAL มันใช้ระบบปฏิบัติการแบบแก๊สดันต่อลูกสูบแบบช่วงชักสั้น ใช้ระบบขัดกลอนแบบกระดกแบบล็อกกับโครงปืน โครงปืนเป็นโครงปืนแบบปั๊มขึ้นรูป ตรงบริเวณด้านหน้าบนโครงปืนส่วนบนนั้นมีตัวยึดด้ามหิ้วอยู่ ตัวด้ามหิ้วนั้นสามารถงอพับเก็บได้ ตัวปืนสามารถติดตั้งเครื่องช่วยเล็งแบบ Hensoldt Optische Werk F-series กำลังขยาย X4 ได้บริเวณโครงปืนส่วนบน ด้ามปืน,พานท้าย นั้นทำจากไม้ ตัวปืนมีขาทรายติดตั้งอยู่บริเวณใต้ลำกล้องของตัวปืน ตัวปืนนั้นนั้นเลือกปรับจังหวะการยิงได้ 3 จังหวะคือ ห้ามไก,กึ่งอัตโนมัติ,อัตโนมัติ ศูนย์หน้ามาพร้อมตัวป้องกันศูนย์ ศูนย์สามารถจัดปรับได้ตั้งแต่ 100 ถึง 600 เมตร ตัวปืนสามารถยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กได้ ตัวปืนจัดปรับแก๊สได้ ซองกระสุนบรรจุ 20 นัด และ ตัวปืนสามารถติดตั้งดาบปลายปืนได้
รุ่นต่าง ๆ ของตัวปืน
1.ปลย.G1 (Early Model) ใช้ประกับลำกล้องที่ทำจากเหล็กที่มีร่องยาวบนประกับลำกล้อง ปลอกลดแสงแบบแฉก ด้ามปืนทำจากไม้ ตัวปืนมาพร้อมขาทราย และ มีด้ามหิ้ว
ปลย.G1 (Late Model)
ปืนเล็กยาวประจำการแห่งเยอรมนี
ข้อมูลทางเทคนิค (กล่าวเฉพาะรุ่นมารตฐาน)
ชื่อ : G1
ผู้ผลิต : FN Herstal
ขนาดกระสุน : 7.62x51มม
ความจุซองกระสุน : บรรจุด้วยซองกระสุน 20 นัด
ความยาวลำกล้อง : 21 นิ้ว
ความยาวตัวปืน : 43 นี้ว
น้ำหนักตัวปืน : 4,45 กิโลกรัม
ระบบ : แก๊สดันต่อลูกสูบแบบช่วงชักสั้น
อัตราเร็วการยิง : 650-700 นัด/นาที
ความเร็วปากลำกล้อง : 823 เมตร/วินาที
ระยะหวังผล : 600 เมตร
ประเทศผู้ผลิต : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ขอบคุณที่รับชมสวัสดีครับ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
@RMZ
อ้างอิง
The World's Assault Rifles
https://en.wikipedia.org/wiki/West_German_rearmament
https://en.wikipedia.org/wiki/German_military_rifles#G1_%E2%80%93_FN_FAL_(West_Germany)
https://en.wikipedia.org/wiki/FN_FAL#Germany
https://de.wikipedia.org/wiki/FN_FAL
https://modernfirearms.net/en/assault-rifles/belgium-assault-rifles/fn-fal-l1a1-c1-slr-eng/
#บทความปืนโดยGW
#GW
#แอดมินRMZ