เศรษฐกิจโลกเสี่ยงชะลอตัวถึงปีหน้า.....
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/6505/เศรษฐกิจโลกเสี่ยงชะลอตัวถึงปีหน้า
ผลสำรวจของรอยเตอร์สเปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ราว 300 คน มองว่าสภาวะทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำนี้อาจลากยาวไปจนถึงปี 2016
ผลสำรวจของรอยเตอร์สเปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ราว 300 คน มองว่าสภาวะทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำนี้อาจลากยาวไปจนถึงปี 2016 ซึ่งเป็นผลมาจาก "ภาวะการไม่มีเงินเฟ้อ" คือการที่ราคาสินค้าเฉลี่ยสูงขึ้นสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าธนาคารกลางหลายแห่งได้ออกนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่ดูเหมือนว่านโยบายดังกล่าวจะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเท่าที่ควร ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยังคงไม่ชัดเจน ซึ่งได้อ้างถึงภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ซึ่งได้อ้างถึงภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจดังกล่าว อีกทั้ง การค้าระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเช่นกัน
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุอีกว่า เศรษฐกิจในบางประเทศที่กระเตื้องขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะสหรัฐ กลุ่มประเทศแถบยูโรโซนและอังกฤษ ยิ่งเป็นการย้ำเตือนถึงแรงซื้อที่ ลดลงและอาจส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
ความกังวลดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความกังวลในตลาดการเงินที่กำลังประสบปัญหาในหลายด้าน ตั้งแต่ดัชนีตลาดหุ้นโลกไปจนถึงผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
คริสเตียน เคลเลอร์ หัวหน้านักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ของ ธนาคารบาร์คเลย์ ระบุ ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปจะฟื้นคืนสู่สภาวะปกตินั้นดูเลือนรางยิ่งกว่าเดิม แม้เศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปจะมีโอกาสฟื้นตัวเร็วสุดในภูมิภาคก็ตาม
แม้ก่อนหน้านี้จะมีการคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2016 จะเติบโตดีกว่าในปีนี้ แต่เมื่อไม่นานมานี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงทั้งของปีนี้และปี 2016 โดยหั่นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.1% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2009 ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ก.ค. ที่ระดับ 3.3%
ไอเอ็มเอฟยังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2016 สู่ระดับ 3.6% ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ก.ค. ที่ระดับ 3.8%
นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐ ศาสตร์ยังได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศ ทั้งที่ปรับขึ้น แต่ยังต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้และปรับลงที่ระดับต่ำกว่าเดิม ซึ่งสะท้อนว่า นโยบายทางการเงินที่ใช้อยู่ช่วยกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวดีขึ้นยิ่งในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยขณะนี้สหรัฐกำลังประสบปัญหาเงินเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2008 และส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงินตามมาในปี 2009
ขณะเดียวกัน อังกฤษก็กำลังประสบปัญหาในลักษณะที่ใกล้เคียงกันนี้ โดยกลุ่มประเทศแถบยูโรโซนกำลังเผชิญปัญหาอัตราการจ้างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง ส่งผลกระทบต่อโครงการซื้อสินทรัพย์มูลค่าล้าน ล้านยูโร
ด้านรัฐบาลจีนที่หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานได้ส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากพยายามมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2009
แต่กระนั้น ธนาคารกลางจีน (พีบีโอซี) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผล กระทบจากการส่งออกผลผลิตภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงการบริโภคภายในประเทศ
ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างเป็นทางการอาจต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลปักกิ่งตั้งไว้ที่ 7% สำหรับปีนี้ และมีแนวโน้มว่าจะชะลอไปจนถึงปี 2016 อีกด้วย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นกังวลมากที่สุดขณะนี้ คือภาวะทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างแอฟริกาใต้ บราซิล เป็นต้น ซึ่งมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
----------------------
ปล... มีความเห็นยังไงกันบ้าง
.............เศรษฐกิจโลกเสี่ยงชะลอตัวถึงปีหน้า..............
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/6505/เศรษฐกิจโลกเสี่ยงชะลอตัวถึงปีหน้า
ผลสำรวจของรอยเตอร์สเปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ราว 300 คน มองว่าสภาวะทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำนี้อาจลากยาวไปจนถึงปี 2016
ผลสำรวจของรอยเตอร์สเปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ราว 300 คน มองว่าสภาวะทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำนี้อาจลากยาวไปจนถึงปี 2016 ซึ่งเป็นผลมาจาก "ภาวะการไม่มีเงินเฟ้อ" คือการที่ราคาสินค้าเฉลี่ยสูงขึ้นสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าธนาคารกลางหลายแห่งได้ออกนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่ดูเหมือนว่านโยบายดังกล่าวจะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเท่าที่ควร ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยังคงไม่ชัดเจน ซึ่งได้อ้างถึงภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ซึ่งได้อ้างถึงภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจดังกล่าว อีกทั้ง การค้าระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเช่นกัน
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุอีกว่า เศรษฐกิจในบางประเทศที่กระเตื้องขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะสหรัฐ กลุ่มประเทศแถบยูโรโซนและอังกฤษ ยิ่งเป็นการย้ำเตือนถึงแรงซื้อที่ ลดลงและอาจส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
ความกังวลดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความกังวลในตลาดการเงินที่กำลังประสบปัญหาในหลายด้าน ตั้งแต่ดัชนีตลาดหุ้นโลกไปจนถึงผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
คริสเตียน เคลเลอร์ หัวหน้านักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ของ ธนาคารบาร์คเลย์ ระบุ ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปจะฟื้นคืนสู่สภาวะปกตินั้นดูเลือนรางยิ่งกว่าเดิม แม้เศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปจะมีโอกาสฟื้นตัวเร็วสุดในภูมิภาคก็ตาม
แม้ก่อนหน้านี้จะมีการคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2016 จะเติบโตดีกว่าในปีนี้ แต่เมื่อไม่นานมานี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงทั้งของปีนี้และปี 2016 โดยหั่นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.1% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2009 ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ก.ค. ที่ระดับ 3.3%
ไอเอ็มเอฟยังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2016 สู่ระดับ 3.6% ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ก.ค. ที่ระดับ 3.8%
นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐ ศาสตร์ยังได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหลายประเทศ ทั้งที่ปรับขึ้น แต่ยังต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้และปรับลงที่ระดับต่ำกว่าเดิม ซึ่งสะท้อนว่า นโยบายทางการเงินที่ใช้อยู่ช่วยกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้ ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวดีขึ้นยิ่งในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยขณะนี้สหรัฐกำลังประสบปัญหาเงินเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2008 และส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงินตามมาในปี 2009
ขณะเดียวกัน อังกฤษก็กำลังประสบปัญหาในลักษณะที่ใกล้เคียงกันนี้ โดยกลุ่มประเทศแถบยูโรโซนกำลังเผชิญปัญหาอัตราการจ้างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง ส่งผลกระทบต่อโครงการซื้อสินทรัพย์มูลค่าล้าน ล้านยูโร
ด้านรัฐบาลจีนที่หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานได้ส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากพยายามมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2009
แต่กระนั้น ธนาคารกลางจีน (พีบีโอซี) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผล กระทบจากการส่งออกผลผลิตภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงการบริโภคภายในประเทศ
ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างเป็นทางการอาจต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลปักกิ่งตั้งไว้ที่ 7% สำหรับปีนี้ และมีแนวโน้มว่าจะชะลอไปจนถึงปี 2016 อีกด้วย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นกังวลมากที่สุดขณะนี้ คือภาวะทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างแอฟริกาใต้ บราซิล เป็นต้น ซึ่งมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
----------------------
ปล... มีความเห็นยังไงกันบ้าง