สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่นะครับ วันนี้จะมาสอนขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนกันโดดยเอามาจากประสบการณ์แอดมิน
1. เราต้องมีบัญชีธนาคารที่ผูกมันกับบัญชีพอร์ตหุ้น แอดมินใช้บัญชีของ tmb ฝากประจำดอกเบี้ยสูงถอนได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน อันนี้จะใช้ของธนาคารไหน บัญชีอะไรก็ได้ครับมีประโยชน์ไว้สำหรับรับปันผลที่ได้จากหุ้นหรือต้องการจะถอนเงินออกจากบัญชีหุ้น ยกตัวอย่างถ้าผมซื้อหุ้นไว้ 1 ตัวแล้วบริษัทจ่ายปันผลกำไร เงินจะไม่เข้าบัญชีหุ้นแต่จะวิ่งมาเข้าบัญชีธนาคารที่เราทำไว้ครับ รูปแบบบัญชีจะเป็นแบบนี้ครับ
นักลงทุน ->บัญชีธนาคาร->บัญชีหุ้น->หุ้น
โดยปกติถ้าเราต้องการซื้อหุ้นเราจะต้องโอนเงินเข้าไปไว้ในบัญชีหุ้นของบริษัทโบรกเกอร์ที่เราสมัครไว้ (ใครสนใจรายละเอียดติดต่อหลังไมค์ได้ครับ) จากนั้นก็ทำการซื้อหุ้นและเมื่อเราขายหุ้น เงินที่ขายได้ก็จะมาอยู่ในบัญชีหุ้นครับ ส่วนบัญชีธนาคารก็มีไว้สำหรับรับปันผลและอีกกรณีคือเราถอนเงินออกจากบัญชีหุ้น เงินก็จะมาเข้าบัญชีธนาคารภายใน 2- 3วันทำการครับ
2. กรอกเอกสารที่สมัคร โดยเอกสารสมัครเราสามารถไปขอจากตัวบริษัทโดยตรงหรือจากทางเว็บไซต์ก็ได้ครับ โดยในเอกสารการสมัครก็จะมีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและทางด้านการเงิน รวมถึงมีแบบทดสอบง่ายๆสำหรับความเสี่ยงที่เรารับได้ในการลงทุน (ประมาณว่าถ้าเงินเราลดแค่นี้รับได้ไหมหรือถ้าลงนี้โอกาสได้เงินเยอะแต่โอกาสสูญเงินก็เยอะตามกัน) และก็มีพวกสำเนาเอกสารต่างๆที่จำเป็นครับ ที่สำคัญคือถ้าเรารู้จักนายหน้าที่เราสนใจหรือรู้จักของบริษัทนั้นๆกรุณาแจ้งด้วยนะครับ ไม่งั้นเขาจะจัดนายหน้าให้เราเอง
3. นายหน้า โดยทั่วไปคนจะเรียกนายหน้ากันผิดนะครับ เรียกว่าโบรกเกอร์ โบรกเกอร์คือบริษัทนายหน้าที่ทำการซื้อ-ขายหุ้นให้แกเรา แต่คนที่ดูแลเราจะเรียกนายหน้า นายฟน้ามีความสำคัญมากต่อนักลงทุนใหม่และเก่า โดยนายหน้าที่ดีจะพยายามให้ข้อมูลการลงทุนแก่เราเช่นอัพเดทข้อมูลข่าวการลงทุนรายวัน มีการพูดคุยปรึกษาได้ตลอดเวลา อารมณ์ดีไม่โกรธไม่โมโหง่าย โดยแอดมินเคยมีนายหน้าด้วยกันสองคน โดยนายหน้าคนแรกคือคนที่บริษัทจัดการหาให้เอง คนนี้ก็โอเคนะครับคือถ้าผมต้องการโอนเงินอะไรแบบนี้ก็จัดการให้ ไม่บ่น ไม่อารมณ์เสียแต่พอผมขอข้อมูลการลงทุน พี่เขากลับให้ไปดูข้อมูลในเว็บบริษัทคือมันก็ได้นะครับแต่ผมต้องการนายหน้าที่ส่งข้อมูลและวิเคราะห์มาให้แล้ว หรือปรึกษาได้ว่าลงทุนตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ผมเลยเปลี่ยนไปที่พี่อีกคนที่รู้จักกันในอินเทอร์เน็ต พี่เขามีกลุ่มไลน์ไว้สำหรับคนที่มีพี่แกเป็นนายหน้า และก็ไลน์ส่วนตัวไว้พูดคุยแยก โดยจะมีการอัพเดทข่าวการลงทุนทุกวัน หรือไม่ก็มีการแชร์กันในกลุ่มว่าใครลงตัวไหนเป็นอย่างไรบ้าง ปรับทุกข์ปรับสุขกันเองก็มีทุกวัน ส่วนถ้าเราต้องการข้อมูลเฉพาะก็เข้าไปถามในไลน์ส่วนตัวได้แบบนี้ถือว่าเป็นนายหน้าที่ดีกว่าครับ
4. ต่อจากนั้นทางบริษัทโบรกเกอร์ก็จะทำการลงทะเบียนและติดต่อกับธนาคารเอกสารต่างๆเป็นที่เรียบร้อย เราก็จะมีบัญชีหุ้นไว้ซื้อขายด้วยตัวเองครับ โดยการซื้อขายจะมีหลายแบบคือเรากรอกเอกสารการซื้อขายเองแล้วส่งไปที่บริษัทแบบนี้ช้า ลำบาก ไม่มีใครค่อยทำกันยกเว้นมีมูลค่ามากๆ ต่อไปซื้อขายผ่านนายหน้าอันนี้ก็สะดวกดีครับ โทรไปบอกว่าอยากได้ตัวไหนราคาเท่าไหร่เขาจะทำรายการให้เราเองแต่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครับ อันนี้สะดวกสุดคือซื้อ-ขายเองผ่านอินเตอร์เน็ต จะซื้อตัวไหนยังไงกำหนดทำเองทุกอย่าง แถมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มให้นายหน้าครับ บทต่อไปจะสอนขั้นตอนกระบวนการการลงทุน ว่าเงินออกจากบัญชียังไง ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่ไหน เสียเท่าไหร่ เสียกี่ครั้ง คิดยังไงครับ
ติดตามเพจได้ที่ fb : Investment for student
https://www.facebook.com/Investment-for-student-1519848498288167/?ref=bookmarks
เปิดบัญชีหุ้นอย่างไร
1. เราต้องมีบัญชีธนาคารที่ผูกมันกับบัญชีพอร์ตหุ้น แอดมินใช้บัญชีของ tmb ฝากประจำดอกเบี้ยสูงถอนได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน อันนี้จะใช้ของธนาคารไหน บัญชีอะไรก็ได้ครับมีประโยชน์ไว้สำหรับรับปันผลที่ได้จากหุ้นหรือต้องการจะถอนเงินออกจากบัญชีหุ้น ยกตัวอย่างถ้าผมซื้อหุ้นไว้ 1 ตัวแล้วบริษัทจ่ายปันผลกำไร เงินจะไม่เข้าบัญชีหุ้นแต่จะวิ่งมาเข้าบัญชีธนาคารที่เราทำไว้ครับ รูปแบบบัญชีจะเป็นแบบนี้ครับ
นักลงทุน ->บัญชีธนาคาร->บัญชีหุ้น->หุ้น
โดยปกติถ้าเราต้องการซื้อหุ้นเราจะต้องโอนเงินเข้าไปไว้ในบัญชีหุ้นของบริษัทโบรกเกอร์ที่เราสมัครไว้ (ใครสนใจรายละเอียดติดต่อหลังไมค์ได้ครับ) จากนั้นก็ทำการซื้อหุ้นและเมื่อเราขายหุ้น เงินที่ขายได้ก็จะมาอยู่ในบัญชีหุ้นครับ ส่วนบัญชีธนาคารก็มีไว้สำหรับรับปันผลและอีกกรณีคือเราถอนเงินออกจากบัญชีหุ้น เงินก็จะมาเข้าบัญชีธนาคารภายใน 2- 3วันทำการครับ
2. กรอกเอกสารที่สมัคร โดยเอกสารสมัครเราสามารถไปขอจากตัวบริษัทโดยตรงหรือจากทางเว็บไซต์ก็ได้ครับ โดยในเอกสารการสมัครก็จะมีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและทางด้านการเงิน รวมถึงมีแบบทดสอบง่ายๆสำหรับความเสี่ยงที่เรารับได้ในการลงทุน (ประมาณว่าถ้าเงินเราลดแค่นี้รับได้ไหมหรือถ้าลงนี้โอกาสได้เงินเยอะแต่โอกาสสูญเงินก็เยอะตามกัน) และก็มีพวกสำเนาเอกสารต่างๆที่จำเป็นครับ ที่สำคัญคือถ้าเรารู้จักนายหน้าที่เราสนใจหรือรู้จักของบริษัทนั้นๆกรุณาแจ้งด้วยนะครับ ไม่งั้นเขาจะจัดนายหน้าให้เราเอง
3. นายหน้า โดยทั่วไปคนจะเรียกนายหน้ากันผิดนะครับ เรียกว่าโบรกเกอร์ โบรกเกอร์คือบริษัทนายหน้าที่ทำการซื้อ-ขายหุ้นให้แกเรา แต่คนที่ดูแลเราจะเรียกนายหน้า นายฟน้ามีความสำคัญมากต่อนักลงทุนใหม่และเก่า โดยนายหน้าที่ดีจะพยายามให้ข้อมูลการลงทุนแก่เราเช่นอัพเดทข้อมูลข่าวการลงทุนรายวัน มีการพูดคุยปรึกษาได้ตลอดเวลา อารมณ์ดีไม่โกรธไม่โมโหง่าย โดยแอดมินเคยมีนายหน้าด้วยกันสองคน โดยนายหน้าคนแรกคือคนที่บริษัทจัดการหาให้เอง คนนี้ก็โอเคนะครับคือถ้าผมต้องการโอนเงินอะไรแบบนี้ก็จัดการให้ ไม่บ่น ไม่อารมณ์เสียแต่พอผมขอข้อมูลการลงทุน พี่เขากลับให้ไปดูข้อมูลในเว็บบริษัทคือมันก็ได้นะครับแต่ผมต้องการนายหน้าที่ส่งข้อมูลและวิเคราะห์มาให้แล้ว หรือปรึกษาได้ว่าลงทุนตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ผมเลยเปลี่ยนไปที่พี่อีกคนที่รู้จักกันในอินเทอร์เน็ต พี่เขามีกลุ่มไลน์ไว้สำหรับคนที่มีพี่แกเป็นนายหน้า และก็ไลน์ส่วนตัวไว้พูดคุยแยก โดยจะมีการอัพเดทข่าวการลงทุนทุกวัน หรือไม่ก็มีการแชร์กันในกลุ่มว่าใครลงตัวไหนเป็นอย่างไรบ้าง ปรับทุกข์ปรับสุขกันเองก็มีทุกวัน ส่วนถ้าเราต้องการข้อมูลเฉพาะก็เข้าไปถามในไลน์ส่วนตัวได้แบบนี้ถือว่าเป็นนายหน้าที่ดีกว่าครับ
4. ต่อจากนั้นทางบริษัทโบรกเกอร์ก็จะทำการลงทะเบียนและติดต่อกับธนาคารเอกสารต่างๆเป็นที่เรียบร้อย เราก็จะมีบัญชีหุ้นไว้ซื้อขายด้วยตัวเองครับ โดยการซื้อขายจะมีหลายแบบคือเรากรอกเอกสารการซื้อขายเองแล้วส่งไปที่บริษัทแบบนี้ช้า ลำบาก ไม่มีใครค่อยทำกันยกเว้นมีมูลค่ามากๆ ต่อไปซื้อขายผ่านนายหน้าอันนี้ก็สะดวกดีครับ โทรไปบอกว่าอยากได้ตัวไหนราคาเท่าไหร่เขาจะทำรายการให้เราเองแต่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครับ อันนี้สะดวกสุดคือซื้อ-ขายเองผ่านอินเตอร์เน็ต จะซื้อตัวไหนยังไงกำหนดทำเองทุกอย่าง แถมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มให้นายหน้าครับ บทต่อไปจะสอนขั้นตอนกระบวนการการลงทุน ว่าเงินออกจากบัญชียังไง ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่ไหน เสียเท่าไหร่ เสียกี่ครั้ง คิดยังไงครับ
ติดตามเพจได้ที่ fb : Investment for student
https://www.facebook.com/Investment-for-student-1519848498288167/?ref=bookmarks