พุทธศาสนิกชนโปรดพิจารณา
กรรม (การกระทำ)
รวมถึง
เครดิต
http://ppantip.com/topic/34300706-138
อาบัติ จากในส่วนของพระวินัย
พน้อมด้วยคำตำหนิ จากพระพุทธองค์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๒] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง
คำด่าที่ทรามบ้าง.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาทกระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้างเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า จริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง?
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...,
ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
เรื่องโคนันทิวิสาล
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว. พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล. ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล ได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์นั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า
โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์ได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึก
นันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้ว
ได้ซบเซา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์
เหตุไรท่านจึงซบเซา?
พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่นละซิ เจ้าตัวดี.
น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกงทำไมเล่า?
ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐
กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน
๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม
เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกัน
ไปได้แล้ว.
[๑๘๔] บุคคลกล่าวควรแต่ถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ,
ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นที่จำเริญใจ ในกาลไหน ๆ.
เพราะเมื่อพราหมณ์กล่าวถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ,
โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียนหนักไป,
ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์, และได้ดีใจเพราะพราหมณ์
ได้ทรัพย์โดยการกระทำของตนนั้นแล.
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งนั้น คำด่า คำสบประมาทก็มิได้เป็นที่พอใจของเรา
ไฉน ในบัดนี้ คำด่า คำสบประมาท จักเป็นที่พอใจเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ
ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
(เนื้อความจากพระไตตปิฎกฉบับภาษาไทย)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4906&Z=5021&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=182
โดยส่วนตัว เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควร พระไม่ควรใช้คำด่าว่าผู้อื่นว่าเป็นผีเปรต
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว ว่าการใช้ผรุสวาจา คำหยาบคาย ทิ่มแทงผู้อื่น เป็นมิจฉาวาจา (ทางผิด เข้าหาทุกข์) ไม่ใช่สัมมาวาจา (ทางดับทุกข์) แต่เราหลายคนกลับถูกพระภิกษุรูปหนึ่ง เรียกด้วยคำว่าผีเปรต
จากพระไตรปิฎกที่อ้างอิงมา การกระทำนี้ ต้องอาบัติหรือไม่ ?
(ขอยกเว้นการสนทนาในห้องศาสนา ขอทราบความเห็นจากกลุ่มผู้เสียหาย คือ ผู้ต้องการรับชมหรือผู้ต้องการสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องอาบัติเท่านั้นโดยตรง)
จากกรณีหนัง"อาบัติ"หากพระ ด่าโยมว่า "ผีเปรต" พระจะต้องอาบัติหรือไม่ ?
กรรม (การกระทำ)
รวมถึง
เครดิต
http://ppantip.com/topic/34300706-138
อาบัติ จากในส่วนของพระวินัย
พน้อมด้วยคำตำหนิ จากพระพุทธองค์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๒] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาทกระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้างเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า จริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...,
ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
เรื่องโคนันทิวิสาล
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว. พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล. ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล ได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์นั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า
โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์ได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึก
นันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้ว
ได้ซบเซา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์
เหตุไรท่านจึงซบเซา?
พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่นละซิ เจ้าตัวดี.
น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกงทำไมเล่า?
ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐
กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน
๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม
เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกัน
ไปได้แล้ว.
[๑๘๔] บุคคลกล่าวควรแต่ถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ,
ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นที่จำเริญใจ ในกาลไหน ๆ.
เพราะเมื่อพราหมณ์กล่าวถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ,
โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียนหนักไป,
ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์, และได้ดีใจเพราะพราหมณ์
ได้ทรัพย์โดยการกระทำของตนนั้นแล.
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งนั้น คำด่า คำสบประมาทก็มิได้เป็นที่พอใจของเรา
ไฉน ในบัดนี้ คำด่า คำสบประมาท จักเป็นที่พอใจเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ
ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
(เนื้อความจากพระไตตปิฎกฉบับภาษาไทย)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4906&Z=5021&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=182
โดยส่วนตัว เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควร พระไม่ควรใช้คำด่าว่าผู้อื่นว่าเป็นผีเปรต
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว ว่าการใช้ผรุสวาจา คำหยาบคาย ทิ่มแทงผู้อื่น เป็นมิจฉาวาจา (ทางผิด เข้าหาทุกข์) ไม่ใช่สัมมาวาจา (ทางดับทุกข์) แต่เราหลายคนกลับถูกพระภิกษุรูปหนึ่ง เรียกด้วยคำว่าผีเปรต
จากพระไตรปิฎกที่อ้างอิงมา การกระทำนี้ ต้องอาบัติหรือไม่ ?
(ขอยกเว้นการสนทนาในห้องศาสนา ขอทราบความเห็นจากกลุ่มผู้เสียหาย คือ ผู้ต้องการรับชมหรือผู้ต้องการสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องอาบัติเท่านั้นโดยตรง)