พระ(บางรูป) ที่กราบโยม(พ่อ/แม่) ชื่อว่าทำถูกหรือผิดตามพุทธบัญญัติครับ...

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

(อ.)ท่านผู้มีอายุ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบททั้งหลายของพวกเรา เป็นส่วนของคฤหัสถ์มีอยู่ แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่สมณะศากยบุตรของพวกท่าน สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกท่าน ก็ถ้าพวกเราจักถอดถอนสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ กันไซร้ ก็จักมีผู้ว่ากล่าวเอาได้ว่า สิกขาบทที่พระสมณโคดมบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย อยู่ได้ชั่วควันไฟ สาวกเหล่านี้ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบเท่าที่ศาสดาของสาวกเหล่านี้ยังดำรงอยู่ เพราะศาสดาของสาวกเหล่านี้ปรินิพพานเสียแล้ว บัดนี้ สาวกเหล่านี้ก็ไม่ยอมศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ดังนี้
               ผิว่า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติข้อที่ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่พึงถอดถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=1
-----

         ...ดูกรอุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเรากล่าวว่าจงละโทษนี้เสียเถิด
เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้เล่า พระสมณะนี้
ช่างขัดเกลาหนักไป เขาจึงไม่ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย ดูกรอุทายี
อนึ่ง โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น เป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น
ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่.
...
         ...ดูกรอุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเรากล่าวว่า จงละโทษนี้
เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะโทษเพียงเล็กน้อยที่ควรละนี้ ซึ่ง
พระผู้มีพระภาคตรัสให้เราทั้งหลายละ ซึ่งพระสุคตตรัสให้เราทั้งหลายสละคืนด้วยเล่า ดังนี้
เขาละโทษนั้นด้วย เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละโทษนั้นแล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เยียวยาชีวิตด้วยของ
ที่ผู้อื่นให้ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ ดูกรอุทายี โทษเพียงเล็กน้อยที่ควรละของภิกษุเหล่านั้น เป็น
เครื่องผูกไม่มีกำลัง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร.
...
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C5%B1%D8%A1%D4%E2%A1%BB%C1%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33&original=1
-----

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
             [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้ คือ อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑ ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑ ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑ ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑
             บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้ ฯ

บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือ ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน ๑ ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑ ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
             บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้ ฯ...(ดูส่วนนี้แล้ว ไม่มีเลยที่เป็นคฤหัสถ์ ฆราวาส)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=2170&Z=2313
-----

...ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี หญิงยากจนคนหนึ่ง ใกล้วัดในบ้านเป็นม่ายผัวตาย จึงให้บุตรบวชในภิกษุทั้งหลาย แม้ตนเองก็บวชในภิกษุณีทั้งหลาย เธอแม้ทั้งสองเข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี ประสงค์จะเยี่ยมกันและกันบ่อยๆ มารดาได้อะไรแล้วก็นำไปให้บุตร แม้บุตรได้อะไรแล้วก็นำไปให้มารดา คบหากันทั้งเย็น ทั้งเช้าอย่างนี้ แจกสิ่งของที่ได้แล้วๆ ให้กัน ยินดีไต่ถามสุขทุกข์ หมดความระแวง. เธอทั้งสองคลุกคลีกัน เพราะเห็นกันเนืองๆ อย่างนี้ก็มีความคุ้นเคย เพราะความคลุกคลี มีช่องเพราะความคุ้นเคย มีจิตถูกราคะเข้ามากล้ำกราย บรรพชิตสัญญาและมาตุปุตตสัญญาก็อันตรธานไป แต่นั้น ก็ทำการล่วงละเมิดเขตแดน เสพอสัทธรรมและถึงความไม่มียศ พากันสึกอยู่ในท่ามกลางเรือน.
      ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษย่อมรู้หรือหนอว่า มารดาไม่กำหนัดจัดในบุตร ก็หรือบุตรไม่กำหนัดจัดในมารดาดังนี้แล้ว ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้สลดใจด้วยสูตรที่เหลือมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นแม้รูปหนึ่งอื่น แล้วตรัสว่า
               เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย
                          ภิกษุพึงเว้นมาตุคาม ดุจน้ำทองแดง
                         เหมือนเว้นพิษร้ายกาจ เหมือนเว้นน้ำมัน
                         ที่เดือดพล่าน ฉะนั้น. ...
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=313
-----

...พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อที่ตถาคตจะอนุญาตการกราบไหว้การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคามนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ที่มีธรรมอันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้ ยังไม่กระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม ก็ไฉนเล่าตถาคตจักอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่มาตุคาม
   ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=6272&Z=6348
-----

...[๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง
พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา
นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อม
ต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัติ
นั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้
ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป.
เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือ
ด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. นี้ญาณที่ ๔ เป็น
อริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว. ...
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E2%A1%CA%D1%C1%BE%D4%C2%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33&original=1
-----

(อ.)...อันตรายิกธรรมเหล่านั้น โดยใจความก็ได้แก่อาบัติ ๗ กองที่จงใจล่วงละเมิด. ความจริงโทษที่จงใจล่วงละเมิด
โดยที่สุดแม้อาบัติทุกกฏและทุพภาสิต ก็ย่อมทำอันตรายแก่มรรคและผลได้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=8
-----
(อ.)...ก็ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอันตรายิกะ เพราะอรรถว่าทำอันตราย ในบทนี้ว่า อนฺตรายิกาธมฺมา ดังนี้.
ธรรมเหล่านั้นโดยเนื้อความก็ได้แก่ กองอาบัติ ๗ ที่แกล้งล่วงละเมิด.
         จริงอยู่ กองอาบัติที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้. ...
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159
-----

[๑๑๙๖] อุ. ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
             พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕. อาการ ๕ อะไรบ้าง? คือ:-
                          ๑. ด้วยไม่ละอาย
                          ๒. ด้วยไม่รู้
                          ๓. ด้วยสงสัยแล้วขืนทำ
                          ๔. ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
                          ๕. ด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
             ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล.
             ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕. อาการ ๕ อะไรบ้าง? คือ:-
                          ๑. ด้วยไม่ได้เห็น
                          ๒. ด้วยไม่ได้ฟัง
                          ๓. ด้วยหลับ
                          ๔. ด้วยเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
                          ๕. ด้วยลืมสติ
             ดูกรอุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=8&A=11519&w=%C0%D4%A1%C9%D8%B5%E9%CD%A7%CD%D2%BA%D1%B5%D4%B4%E9%C7%C2%CD%D2%A1%D2%C3
-----
ที่ผมหาเจอครับ...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่