เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วางกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาตรา 35 ให้รัฐมีกลไกการป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองและเพื่อควบคุมพรรคการเมือง โดยให้จัดทำสัญญาประชาคมให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังที่ดี และต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าการใช้จ่าย ว่า คิดว่าแนวคิดดังกล่าวสืบเนื่องมาจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างฯ เดิมที่ถูกคว่ำ ซึ่งปชป.ก็เห็นด้วยเนื่องจากการใช้นโยบายประชานิยมบางนโยบายนั้นมุ่งหวังให้ประชาชนพอใจอย่างเดียว แต่ในระยะยาวกลับทำประเทศชาติเสียหายเรียกกันว่าการใช้นโยบายรัฐซื้อเสียงประชาชน ซึ่งปชป.ไม่เห็นด้วยมาตลอด อย่างไรก็ตามนโยบายประชานิยมนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่จำเป็นต้องมีกลไกของรัฐเข้าไปตรวจสอบด้วย
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ปชป.ไม่มีปัญหาอะไรหากจะเข้ามากำกับเรื่องนี้ เพราะความจริงนโยบายของพรรคการเมืองต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งความจริงพรรคการเมืองทุกพรรครู้อยู่แล้วว่านโยบายไหนทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าเขาจะทำหรือไม่มากกว่า
เมื่อถามว่าหากมีการเลือกตั้งปชป.ต้องเข้มงวดกับนโยบายพรรคก่อนประกาศหาเสียงหรือไม่ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า
ปชป.ไม่เคยมีนโยบายประชานิยมอยู่แล้ว ส่วนข้อสังเกตที่ว่าทำไมกรธ.ต้องกำกับไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญนั้น ตนคิดว่าเขามีแนวคิดนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่เราก็ต้องดูในรายละเอียดด้วยว่าไม่ควรจะไปกำกับตัวนโยบายเสียเองทั้งหมด และไม่ควรให้ข้าราชการมาเป็นคนตัดสินว่านโยบายใดที่พรรคการเมืองทำได้หรือทำไม่ได้ นั่นจะเข้าข่ายข้าราชการเป็นคนกำหนดนโยบายเสียเอง ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองต้องเป็นคนกำหนดนโยบายไม่ใช่ข้าราชการประจำ
“หน่วยงานหรือองค์กรที่จะเข้ามากำกับก็ไม่ควรมีสิทธิบอกว่านโยบายนี้ใช้ได้ นโยบายนั้นใช้ไม่ได้ ดังนั้นกรธ.ก็ต้องหาจุดกึ่งกลางว่าตรงไหนทำได้ ตรงไหนทำไม่ได้ เช่นการใช้หน่วยงานกลางมาตรวจสอบว่าหากออกนโยบายนี้แล้วคุณจะใช้เงินจากไหน เมื่อคำนวนดูรายได้ประเทศแล้วทำได้ไหม ต้องมานั่งคุยกันว่าหากออกนโยบายนี้แล้วตัวเลขงบประมาณมันไปไม่ได้เพราะอะไร เป็นลักษณะพูดคุยแบบนี้จะดีกว่า
เมื่อถามว่าหน่วยงานที่จะมาตรวจสอบนโยบายควรเป็นหน่วยงานใด นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าต้องมีหน่วยงานการคลังของประเทศเข้ามาตรวจสอบด้วย เพราะหากจะประเมินว่าสามารถดำเนินนโยบายนี้ได้หรือไม่ก็ต้องประเมินผ่านหน่วยงานการคลัง แต่ไม่ต้องถึงขนาดเอาสำนักงบประมาณมากำกับดูแล
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444461065
ขอถามหน่อยเถอะ แล้วโครงการเช็คช่วยชาติ, ประกันราคาข้าว, รักษาฟรี 48 ล้านคน, เรียนฟรี 15 ปี ฯลฯ ไม่ใช่ประชานิยมหรือไร?
อยากจะหัวเราะเป็นภาษาเกาหลี "นิพิฏฐ์"บอก "ประชาธิปัตย์ไม่เคยทำประชานิยม"
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วางกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาตรา 35 ให้รัฐมีกลไกการป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองและเพื่อควบคุมพรรคการเมือง โดยให้จัดทำสัญญาประชาคมให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังที่ดี และต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าการใช้จ่าย ว่า คิดว่าแนวคิดดังกล่าวสืบเนื่องมาจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างฯ เดิมที่ถูกคว่ำ ซึ่งปชป.ก็เห็นด้วยเนื่องจากการใช้นโยบายประชานิยมบางนโยบายนั้นมุ่งหวังให้ประชาชนพอใจอย่างเดียว แต่ในระยะยาวกลับทำประเทศชาติเสียหายเรียกกันว่าการใช้นโยบายรัฐซื้อเสียงประชาชน ซึ่งปชป.ไม่เห็นด้วยมาตลอด อย่างไรก็ตามนโยบายประชานิยมนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่จำเป็นต้องมีกลไกของรัฐเข้าไปตรวจสอบด้วย
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ปชป.ไม่มีปัญหาอะไรหากจะเข้ามากำกับเรื่องนี้ เพราะความจริงนโยบายของพรรคการเมืองต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งความจริงพรรคการเมืองทุกพรรครู้อยู่แล้วว่านโยบายไหนทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าเขาจะทำหรือไม่มากกว่า
เมื่อถามว่าหากมีการเลือกตั้งปชป.ต้องเข้มงวดกับนโยบายพรรคก่อนประกาศหาเสียงหรือไม่ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ปชป.ไม่เคยมีนโยบายประชานิยมอยู่แล้ว ส่วนข้อสังเกตที่ว่าทำไมกรธ.ต้องกำกับไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญนั้น ตนคิดว่าเขามีแนวคิดนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่เราก็ต้องดูในรายละเอียดด้วยว่าไม่ควรจะไปกำกับตัวนโยบายเสียเองทั้งหมด และไม่ควรให้ข้าราชการมาเป็นคนตัดสินว่านโยบายใดที่พรรคการเมืองทำได้หรือทำไม่ได้ นั่นจะเข้าข่ายข้าราชการเป็นคนกำหนดนโยบายเสียเอง ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองต้องเป็นคนกำหนดนโยบายไม่ใช่ข้าราชการประจำ
“หน่วยงานหรือองค์กรที่จะเข้ามากำกับก็ไม่ควรมีสิทธิบอกว่านโยบายนี้ใช้ได้ นโยบายนั้นใช้ไม่ได้ ดังนั้นกรธ.ก็ต้องหาจุดกึ่งกลางว่าตรงไหนทำได้ ตรงไหนทำไม่ได้ เช่นการใช้หน่วยงานกลางมาตรวจสอบว่าหากออกนโยบายนี้แล้วคุณจะใช้เงินจากไหน เมื่อคำนวนดูรายได้ประเทศแล้วทำได้ไหม ต้องมานั่งคุยกันว่าหากออกนโยบายนี้แล้วตัวเลขงบประมาณมันไปไม่ได้เพราะอะไร เป็นลักษณะพูดคุยแบบนี้จะดีกว่า
เมื่อถามว่าหน่วยงานที่จะมาตรวจสอบนโยบายควรเป็นหน่วยงานใด นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าต้องมีหน่วยงานการคลังของประเทศเข้ามาตรวจสอบด้วย เพราะหากจะประเมินว่าสามารถดำเนินนโยบายนี้ได้หรือไม่ก็ต้องประเมินผ่านหน่วยงานการคลัง แต่ไม่ต้องถึงขนาดเอาสำนักงบประมาณมากำกับดูแล
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444461065
ขอถามหน่อยเถอะ แล้วโครงการเช็คช่วยชาติ, ประกันราคาข้าว, รักษาฟรี 48 ล้านคน, เรียนฟรี 15 ปี ฯลฯ ไม่ใช่ประชานิยมหรือไร?