จากรายงานของรอยเตอร์ส อินดัสทริออล (IndustriALL) สหภาพแรงงานระดับโลกซึ่งมีสมาชิกกว่า 50 ล้านคนได้เผยในวันนี้ (7 ตุลาคม) ว่า ทางองค์กรได้ยื่นคำร้องกล่าวโทษไทยต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หนึ่งในหน่วยงานของยูเอ็นในข้อพิพาท 18 กรณีเกี่ยวกับการล่วงละเมิดแรงงานในประเทศไทย
"อินดัสทริออล ซึ่งมีสหภาพแรงงานที่เป็นพันธมิตร 7 แห่งในประเทศ (ไทย) ขอกล่าวหาว่า รัฐบาลไทยล้มเหลวในการปกป้องแรงงานกว่า 39 ล้านคน ซึ่งกว่าครึ่งนึงถูกจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมนอกระบบ" แถลงการณ์ของอินดัสทริออลกล่าว
"ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานโลกสำหรับบริษัทข้ามชาติจำนวนมากรัฐบาลจะต้องทำงานหนักกว่านี้เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานของตน ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจ" ไจร์กี ไรนา เลขาธิการของอินดัสทริออลกล่าวในแถลงการณ์
"เช่นเดียวกันบริษัทข้ามชาติต่างๆต้องไม่ยอมให้มีการละเมิดแรงงานเกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับบริษัท(ซัพพลายเออร์) และบริษัทลูกในประเทศไทย เพียงเพราะบริษัทเหล่านี้สามารถหาทางหลบเลี่ยงได้" แถลงการณ์กล่าว
อินดัสทริออลกล่าวหาว่าไทย ไม่สามารถยืนยันสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และการรวมตัวเพื่อต่อรองให้กับแรงงานกว่า 75 เปอร์เซนต์ ทำให้ไทยมีการรวมตัวเป็นสหภาพในอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเพียงเค่ 1.5 เปอร์เซนต์
"ลูกจ้างมักถูกไล่ออกเพราะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ หรือพยายามรวมตัวต่อรองกับนายจ้าง ... หลายกรณีที่ศาลสั่งให้รับลูกจ้างเข้าทำงานอีกครั้ง นายจ้างมักไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือสร้างแรงกดดันให้ลูกจ้างต้องลาออก และอีกหลายกรณีที่การพิจารณาคดีกินเวลายาวนาน บีบให้ลูกจ้างจำต้องรับเงินบางส่วนแล้วลาออกไปเอง" อีกส่วนของแถลงการณ์กล่าว
JJNY : องค์กรแรงงานนานาชาติฟ้องไทยต่อยูเอ็นหาว่า "ไทยปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิแรงงาน"
"อินดัสทริออล ซึ่งมีสหภาพแรงงานที่เป็นพันธมิตร 7 แห่งในประเทศ (ไทย) ขอกล่าวหาว่า รัฐบาลไทยล้มเหลวในการปกป้องแรงงานกว่า 39 ล้านคน ซึ่งกว่าครึ่งนึงถูกจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมนอกระบบ" แถลงการณ์ของอินดัสทริออลกล่าว
"ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานโลกสำหรับบริษัทข้ามชาติจำนวนมากรัฐบาลจะต้องทำงานหนักกว่านี้เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานของตน ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจ" ไจร์กี ไรนา เลขาธิการของอินดัสทริออลกล่าวในแถลงการณ์
"เช่นเดียวกันบริษัทข้ามชาติต่างๆต้องไม่ยอมให้มีการละเมิดแรงงานเกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ป้อนวัตถุดิบให้กับบริษัท(ซัพพลายเออร์) และบริษัทลูกในประเทศไทย เพียงเพราะบริษัทเหล่านี้สามารถหาทางหลบเลี่ยงได้" แถลงการณ์กล่าว
อินดัสทริออลกล่าวหาว่าไทย ไม่สามารถยืนยันสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และการรวมตัวเพื่อต่อรองให้กับแรงงานกว่า 75 เปอร์เซนต์ ทำให้ไทยมีการรวมตัวเป็นสหภาพในอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเพียงเค่ 1.5 เปอร์เซนต์
"ลูกจ้างมักถูกไล่ออกเพราะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ หรือพยายามรวมตัวต่อรองกับนายจ้าง ... หลายกรณีที่ศาลสั่งให้รับลูกจ้างเข้าทำงานอีกครั้ง นายจ้างมักไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือสร้างแรงกดดันให้ลูกจ้างต้องลาออก และอีกหลายกรณีที่การพิจารณาคดีกินเวลายาวนาน บีบให้ลูกจ้างจำต้องรับเงินบางส่วนแล้วลาออกไปเอง" อีกส่วนของแถลงการณ์กล่าว