ADVANC หมดปัญหา “เสาโทรคมนาคม” จำนวน 13,198 สถานีฐาน ล่าสุดทีโอทีเปรย 3 แนวทาง “ตั้งบริษัทร่วมทุน-จัดตั้งอินฟราฯฟันด์-ทำสัญญาเช่าระยะยาว” ผู้บริหารทีโอทีส่งซิกสนใจแนวทางดึง ADVANC ร่วมตั้งอินฟราฯฟันด์ เชื่อถือเป็นผลดีระยะยาว มั่นใจภายในปีนี้ได้ข้อสรุป จับตาหุ้น ADVANC วันนี้เด้ง!
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เปิดเผยว่า แผนการต่อยอดธุรกิจจากคลื่น 900 MHz หลังจาก TOT ได้รับโอนมอบทรัพย์สินจาก ADVANC ระบบ 2G จำนวน 13,198 สถานีฐาน เสาโทรคมนาคมระบบ 2G ที่ ADVANC นำไปอัพเกรดเป็น 3G อีก 3,700 สถานีฐาน และเสาโทรคมนาคมของ TOT ย่านความถี่ 2100 MHz จำนวน 5,320 สถานีฐาน รวมเป็นทรัพย์สินทางเสาโทรคมนาคมจำนวน 22,218 สถานีฐาน ที่สามารถนำมาให้บริการได้
ขณะที่เสาโทรคมนาคมที่เป็นข้อพิพาทกับ ADVANC อยู่นั้น จะพยายามให้สิ้นสุดภายในสิ้นปีนี้ โดยแนวทางการยุติข้อพิพาทเพื่อให้ใช้ทรัพย์สินร่วมกันได้มีการหารือในการร่วมเป็นพันธมิตร 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ตั้งบริษัทร่วมทุน 2.การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเสาโทรคมนาคม (IFF) และ 3.ทำสัญญาเช่าระยะยาว
“ไม่มีใครปฏิเสธหรือขัดขวางที่จะให้เกิดข้อยุติในข้อพิพาท เพื่อให้ใช้ทรัพย์สินร่วมกัน และเพื่อให้เกิดรายได้กับ TOT เพียงแต่ว่าจะต้องเลือก 3 แนวทางนี้ว่า แนวทางไหนจะเหมาะสมสุด สำหรับ TOT มองว่าการตั้ง IFF มีการยกเว้นภาษี เป็นผลดีกับ TOT ระยะยาว เชื่อว่าถ้าตั้ง IFF ขึ้นมา ADVANC ถือ 30% TOT ถือ 30% ส่วนที่เหลือ 40% ขายให้กับนักลงทุนในตลาด ขณะที่เรื่องบริษัทร่วมทุน เรากังวลเกี่ยวกับเรื่องภาษี” นายมนต์ชัย กล่าว
ส่วนการหาพันธมิตรทางธุรกิจ TOT ทีมผู้บริหารได้รายงานผลการสรุปเบื้องต้นไปที่บอร์ด TOT แล้ว โดยบอร์ดมีมติกลับมาว่าให้ส่งแผนธุรกิจร่วมกับพันธมิตรไปถามคณะกรรมการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) และสำนักงานกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เชื่อว่าจะทราบผลเดือนต.ค.นี้ และตั้งใจสรุปเรื่องพันธมิตรภายในสิ้นปีนี้
สำหรับผลประกอบการ TOT ปี 2558 จะมีรายได้ 30,000 ล้านบาท เบื้องต้นจากการรายงานของฝ่ายการเงิน ระบุว่า ปัจจุบันขาดทุนแล้ว 1,300 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายการเกษียณอายุราชการของพนักงานก่อนกำหนด (เออร์รี่ รีไทร์) ประมาณ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กรณี TOT ได้คลื่นความถี่ 900 MHz มาให้บริการต่อนั้น ตามแผนธุรกิจ TOT จะมีรายได้ 22,800 ล้านบาทต่อปี จากการต่อยอดในย่านความถี่ดังกล่าว โดยรายได้ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G ที่มีลูกค้าค้างอยู่ 2.4 ล้านราย อยู่ที่ 4,800 ล้านบาทต่อปี และรายได้จากการโรมมิ่งบริการจาก 3G ของ TOT อีก 18,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้ TOT สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 1, 27)
AIS ไร้ปัญหาเสาโทรคม! ทีโอทีจ่อตั้งอินฟราฟันด์ สรุป 3 แนวทางก่อนสิ้นปี-วันนี้ ADVANC-INTUCH เด้ง!
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เปิดเผยว่า แผนการต่อยอดธุรกิจจากคลื่น 900 MHz หลังจาก TOT ได้รับโอนมอบทรัพย์สินจาก ADVANC ระบบ 2G จำนวน 13,198 สถานีฐาน เสาโทรคมนาคมระบบ 2G ที่ ADVANC นำไปอัพเกรดเป็น 3G อีก 3,700 สถานีฐาน และเสาโทรคมนาคมของ TOT ย่านความถี่ 2100 MHz จำนวน 5,320 สถานีฐาน รวมเป็นทรัพย์สินทางเสาโทรคมนาคมจำนวน 22,218 สถานีฐาน ที่สามารถนำมาให้บริการได้
ขณะที่เสาโทรคมนาคมที่เป็นข้อพิพาทกับ ADVANC อยู่นั้น จะพยายามให้สิ้นสุดภายในสิ้นปีนี้ โดยแนวทางการยุติข้อพิพาทเพื่อให้ใช้ทรัพย์สินร่วมกันได้มีการหารือในการร่วมเป็นพันธมิตร 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ตั้งบริษัทร่วมทุน 2.การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเสาโทรคมนาคม (IFF) และ 3.ทำสัญญาเช่าระยะยาว
“ไม่มีใครปฏิเสธหรือขัดขวางที่จะให้เกิดข้อยุติในข้อพิพาท เพื่อให้ใช้ทรัพย์สินร่วมกัน และเพื่อให้เกิดรายได้กับ TOT เพียงแต่ว่าจะต้องเลือก 3 แนวทางนี้ว่า แนวทางไหนจะเหมาะสมสุด สำหรับ TOT มองว่าการตั้ง IFF มีการยกเว้นภาษี เป็นผลดีกับ TOT ระยะยาว เชื่อว่าถ้าตั้ง IFF ขึ้นมา ADVANC ถือ 30% TOT ถือ 30% ส่วนที่เหลือ 40% ขายให้กับนักลงทุนในตลาด ขณะที่เรื่องบริษัทร่วมทุน เรากังวลเกี่ยวกับเรื่องภาษี” นายมนต์ชัย กล่าว
ส่วนการหาพันธมิตรทางธุรกิจ TOT ทีมผู้บริหารได้รายงานผลการสรุปเบื้องต้นไปที่บอร์ด TOT แล้ว โดยบอร์ดมีมติกลับมาว่าให้ส่งแผนธุรกิจร่วมกับพันธมิตรไปถามคณะกรรมการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) และสำนักงานกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เชื่อว่าจะทราบผลเดือนต.ค.นี้ และตั้งใจสรุปเรื่องพันธมิตรภายในสิ้นปีนี้
สำหรับผลประกอบการ TOT ปี 2558 จะมีรายได้ 30,000 ล้านบาท เบื้องต้นจากการรายงานของฝ่ายการเงิน ระบุว่า ปัจจุบันขาดทุนแล้ว 1,300 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายการเกษียณอายุราชการของพนักงานก่อนกำหนด (เออร์รี่ รีไทร์) ประมาณ 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กรณี TOT ได้คลื่นความถี่ 900 MHz มาให้บริการต่อนั้น ตามแผนธุรกิจ TOT จะมีรายได้ 22,800 ล้านบาทต่อปี จากการต่อยอดในย่านความถี่ดังกล่าว โดยรายได้ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G ที่มีลูกค้าค้างอยู่ 2.4 ล้านราย อยู่ที่ 4,800 ล้านบาทต่อปี และรายได้จากการโรมมิ่งบริการจาก 3G ของ TOT อีก 18,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้ TOT สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 1, 27)