02 กันยายน 2556 CAT เตรียมฟ้อง TRUEMOVE ให้หมดสัมปทานเรื่องไม่คืนเสาเพิ่มอีก 1 คดี !! พร้อมแจ้ง ก.ล.ต. พักเบรค การตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานชี้ เรื่อง เสายังมีปัญหา
ประเด็นหลัก
นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายในสัปดาห์นี้ กสท จะดำเนินการยื่นหนังสือถึงบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ตามมติบอร์ดกสท เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กสท ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) แต่ต้องการให้ตรวจสอบ เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และสิทธิ์ของกสทตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว
เนื่องจากทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานนั้น ทรูมูฟ และกสท ยังมีกรณีพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ เรื่องเสาโทรคมนาคมจำนวน 4,500 เสา และยังมีเสาโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการอีก 3,000 เสา รวมถึงระบบสื่อสัญญาณด้วยดังนั้นจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
"ถึงแม้ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ จะแจ้งมายังกสทแล้วว่า ไม่ได้นำเสาโทรคมนาคมที่อยู่ในกรณีข้อพิพาท เข้าไปจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ กสท ก็ต้องรักษาสิทธิ์ของกสท และเพื่อความชัดเจนว่าไม่มีทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และทรัพย์สินตามสิทธิ์สัญญา 3G HSPA เข้าไปอยู่ในกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด"
กรุงเทพธุรกิจ 02 กันยายน 2556
ข่าวหุ้นธุรกิจ 02 กันยายน 2556
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000109751
______________________________________
กสทแจ้งก.ล.ต.เบรกทรูมูฟ ตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
กสท ส่งหนังสือแจ้งก.ล.ต. และ เตือนทรูมูฟ ต้องเคลียร์ทรัพย์สินของกสท ที่ค้างคาอยู่ในกระบวนการอนุญาโตุลาการให้ชัดเจนก่อนตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) โดยเฉพาะเสาโทรคมนาคมกว่า 7,500 เสารวมทั้งระบบสื่อสัญญาณด้วย
นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายในสัปดาห์นี้ กสท จะดำเนินการยื่นหนังสือถึงบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ตามมติบอร์ดกสท เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กสท ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) แต่ต้องการให้ตรวจสอบ เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และสิทธิ์ของกสทตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว
เนื่องจากทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานนั้น ทรูมูฟ และกสท ยังมีกรณีพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ เรื่องเสาโทรคมนาคมจำนวน 4,500 เสา และยังมีเสาโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการอีก 3,000 เสา รวมถึงระบบสื่อสัญญาณด้วยดังนั้นจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
"ถึงแม้ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ จะแจ้งมายังกสทแล้วว่า ไม่ได้นำเสาโทรคมนาคมที่อยู่ในกรณีข้อพิพาท เข้าไปจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ กสท ก็ต้องรักษาสิทธิ์ของกสท และเพื่อความชัดเจนว่าไม่มีทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และทรัพย์สินตามสิทธิ์สัญญา 3G HSPA เข้าไปอยู่ในกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด"
ขณะที่กระบวนการพิจารณาข้อพิพาทนั้น ตอนนี้คณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ว่า ขณะนี้สัญญายังไม่สิ้นสุด ก็ไม่สามารถตัดสินคดีได้ ดังนั้นต้องรอให้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 หลังจากนั้น กสท จะยื่นให้คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินคดีดังกล่าวอีกครั้ง
นางสาวธันวดี วงศ์ธีรฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อทดแทนรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดลงนับตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายระบุไว้ว่ารายได้จากสัญญาสัมปทานทั้งหมดต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน โดยที่ผ่านมา กสท ได้ปรับกลยุทธ์ และปรับตัวเองมาโดยตลอด ทั้งลดค่าใช้จ่ายและ การมุ่งสร้างรายได้เพิ่ม
ทั้งนี้กสท จะให้ความสำคัญใน 2 ธุรกิจหลักคือ 1.การเป็นผู้ให้เช่าโครงข่าย 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA หรือโครงการ HSPA ซึ่งในตอนนี้กสท ได้ทำสัญญากับกลุ่มทรูไปแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติงบประมาณการลงทุนทั้งโครงการเป็นระยะเวลา 15 ปี (2554-2568) แบ่งเป็นงบลงทุนสร้างโครงข่าย 14,500 ล้านบาท และงบเช่าโครงข่ายจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อนำมาให้บริการต่ออีกทอดหนึ่งจำนวน 220,000 ล้านบาท และ 2.โครงการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่าย FTTx ภายใต้งบลงทุน 4,500 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอครม.เพื่ออนุมัติเช่นกัน
"หากกสท ไม่มีการลงทุนทั้งโครงการ HSPA และ FTTx กสทก็จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ฉะนั้นกสทจึงจำเป็นต้องผลักดันทั้ง 2 โครงการให้ผ่านการอนุมัติของครม. เพื่อความอยู่รอดขององค์กร"
นอกจากนี้กสท ยังคาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่รวมสัญญาสัมปทาน ประมาณ 15,000 ล้านบาท และมีกำไร 600 ล้านบาท แต่หากได้รับการอนุมัติจากครม.ในทั้ง 2 โครงการจะส่งผลให้ในปีหน้ากสทจะมีรายได้ และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000109751
________________________________________________
กรุงเทพธุรกิจ 02 กันยายน 2556
ข่าวหุ้นธุรกิจ 02 กันยายน 2556
CAT เตรียมฟ้อง TRUEMOVE ให้หมดสัมปทานเรื่องไม่คืนเสาเพิ่มอีก1คดี!!พร้อมแจ้ง ก.ล.ต.พักเบรคการตั้งกองทุนเรื่องเสามีปัญหา
ประเด็นหลัก
นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายในสัปดาห์นี้ กสท จะดำเนินการยื่นหนังสือถึงบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ตามมติบอร์ดกสท เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กสท ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) แต่ต้องการให้ตรวจสอบ เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และสิทธิ์ของกสทตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว
เนื่องจากทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานนั้น ทรูมูฟ และกสท ยังมีกรณีพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ เรื่องเสาโทรคมนาคมจำนวน 4,500 เสา และยังมีเสาโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการอีก 3,000 เสา รวมถึงระบบสื่อสัญญาณด้วยดังนั้นจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
"ถึงแม้ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ จะแจ้งมายังกสทแล้วว่า ไม่ได้นำเสาโทรคมนาคมที่อยู่ในกรณีข้อพิพาท เข้าไปจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ กสท ก็ต้องรักษาสิทธิ์ของกสท และเพื่อความชัดเจนว่าไม่มีทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และทรัพย์สินตามสิทธิ์สัญญา 3G HSPA เข้าไปอยู่ในกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด"
กรุงเทพธุรกิจ 02 กันยายน 2556
ข่าวหุ้นธุรกิจ 02 กันยายน 2556
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000109751
______________________________________
กสทแจ้งก.ล.ต.เบรกทรูมูฟ ตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
กสท ส่งหนังสือแจ้งก.ล.ต. และ เตือนทรูมูฟ ต้องเคลียร์ทรัพย์สินของกสท ที่ค้างคาอยู่ในกระบวนการอนุญาโตุลาการให้ชัดเจนก่อนตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) โดยเฉพาะเสาโทรคมนาคมกว่า 7,500 เสารวมทั้งระบบสื่อสัญญาณด้วย
นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายในสัปดาห์นี้ กสท จะดำเนินการยื่นหนังสือถึงบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ตามมติบอร์ดกสท เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กสท ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) แต่ต้องการให้ตรวจสอบ เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และสิทธิ์ของกสทตามสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว
เนื่องจากทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานนั้น ทรูมูฟ และกสท ยังมีกรณีพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ เรื่องเสาโทรคมนาคมจำนวน 4,500 เสา และยังมีเสาโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการอีก 3,000 เสา รวมถึงระบบสื่อสัญญาณด้วยดังนั้นจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน
"ถึงแม้ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ จะแจ้งมายังกสทแล้วว่า ไม่ได้นำเสาโทรคมนาคมที่อยู่ในกรณีข้อพิพาท เข้าไปจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ กสท ก็ต้องรักษาสิทธิ์ของกสท และเพื่อความชัดเจนว่าไม่มีทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน และทรัพย์สินตามสิทธิ์สัญญา 3G HSPA เข้าไปอยู่ในกองทุนดังกล่าวแต่อย่างใด"
ขณะที่กระบวนการพิจารณาข้อพิพาทนั้น ตอนนี้คณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ว่า ขณะนี้สัญญายังไม่สิ้นสุด ก็ไม่สามารถตัดสินคดีได้ ดังนั้นต้องรอให้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 หลังจากนั้น กสท จะยื่นให้คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินคดีดังกล่าวอีกครั้ง
นางสาวธันวดี วงศ์ธีรฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อทดแทนรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดลงนับตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายระบุไว้ว่ารายได้จากสัญญาสัมปทานทั้งหมดต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน โดยที่ผ่านมา กสท ได้ปรับกลยุทธ์ และปรับตัวเองมาโดยตลอด ทั้งลดค่าใช้จ่ายและ การมุ่งสร้างรายได้เพิ่ม
ทั้งนี้กสท จะให้ความสำคัญใน 2 ธุรกิจหลักคือ 1.การเป็นผู้ให้เช่าโครงข่าย 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA หรือโครงการ HSPA ซึ่งในตอนนี้กสท ได้ทำสัญญากับกลุ่มทรูไปแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติงบประมาณการลงทุนทั้งโครงการเป็นระยะเวลา 15 ปี (2554-2568) แบ่งเป็นงบลงทุนสร้างโครงข่าย 14,500 ล้านบาท และงบเช่าโครงข่ายจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อนำมาให้บริการต่ออีกทอดหนึ่งจำนวน 220,000 ล้านบาท และ 2.โครงการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่าย FTTx ภายใต้งบลงทุน 4,500 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอครม.เพื่ออนุมัติเช่นกัน
"หากกสท ไม่มีการลงทุนทั้งโครงการ HSPA และ FTTx กสทก็จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ฉะนั้นกสทจึงจำเป็นต้องผลักดันทั้ง 2 โครงการให้ผ่านการอนุมัติของครม. เพื่อความอยู่รอดขององค์กร"
นอกจากนี้กสท ยังคาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่รวมสัญญาสัมปทาน ประมาณ 15,000 ล้านบาท และมีกำไร 600 ล้านบาท แต่หากได้รับการอนุมัติจากครม.ในทั้ง 2 โครงการจะส่งผลให้ในปีหน้ากสทจะมีรายได้ และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000109751
________________________________________________
กรุงเทพธุรกิจ 02 กันยายน 2556
ข่าวหุ้นธุรกิจ 02 กันยายน 2556