คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คืออย่างนี้ครับ กลไกของร่างกายเมื่อเราท้องเสียจากอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย
หรือ จุลินทรีย์อื่น ๆ นั้นจะทำให้เกิดการกระตุ้นลำไส้ได้ใน 2 แบบ คือ ....
1. แบคทีเรียพวกนั้นจะขยายประมาณอย่างมหาศาลและจะไปจับตัวกับผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมน้ำได้
หรือ จะทำให้เยื่อบุผิวระคายเคือง ทำให้ผนังลำไส้ ปล่อยน้ำ จำนวนมากออกมาครับ
2. แบคทีเรียพวกนั้นได้สร้างสารพิษ และปล่อยออกมาในอาหารตั้งแต่ก่อนที่เราจะกินแล้ว ทำให้พิษเหล่านี้
ส่งผลแก่ผนังลำไส้โดยตรง และ รวดเร็ว ทำให้เกิดการขับน้ำออกมาจำนวนมากกว่ากรณีแรก โดยขับน้ำเร็วกว่าด้วยครับ
เพียง 1 - 2 ชั่วโมง ก็จะท้องเสียรุนแรงได้แล้ว (กรณีนี้มักจะเรียกว่า อาหารเป็นพิษ)
จาก 2 ข้อที่กล่าวไป จุดสำคัญ คือ การขับน้ำจำนวนมากออกจากผนังลำไส้ ทำให้อาหารทั้งเก่า และ ใหม่
ถูงขับปน ๆ กันออกมาได้อย่างรวดเร็วกว่าการแซงคิวเลยครับ เพราะอาหารเหล่านั้นมันจะถูกน้ำจากผนังลำไส้
ผสมปนเปกัน และลำไส้จะบีบตัวออกมาพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจมีการแซงคิวได้บ้างในกรณีที่อาหารที่กินใหม่มีความหนาแน่น
ต่ำกว่าอาหารที่กินไปก่อนหน้า .... สรุปแล้ว มันมีทั้งการแซงคิวด้วย ตามคิวด้วย เพราะอาหารทั้งเก่า และ ใหม่ นั้น
ถูกผสมด้วยน้ำจำนวนมาก และถูกลำไส้บีบตัวออกมาครับ
หรือ จุลินทรีย์อื่น ๆ นั้นจะทำให้เกิดการกระตุ้นลำไส้ได้ใน 2 แบบ คือ ....
1. แบคทีเรียพวกนั้นจะขยายประมาณอย่างมหาศาลและจะไปจับตัวกับผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมน้ำได้
หรือ จะทำให้เยื่อบุผิวระคายเคือง ทำให้ผนังลำไส้ ปล่อยน้ำ จำนวนมากออกมาครับ
2. แบคทีเรียพวกนั้นได้สร้างสารพิษ และปล่อยออกมาในอาหารตั้งแต่ก่อนที่เราจะกินแล้ว ทำให้พิษเหล่านี้
ส่งผลแก่ผนังลำไส้โดยตรง และ รวดเร็ว ทำให้เกิดการขับน้ำออกมาจำนวนมากกว่ากรณีแรก โดยขับน้ำเร็วกว่าด้วยครับ
เพียง 1 - 2 ชั่วโมง ก็จะท้องเสียรุนแรงได้แล้ว (กรณีนี้มักจะเรียกว่า อาหารเป็นพิษ)
จาก 2 ข้อที่กล่าวไป จุดสำคัญ คือ การขับน้ำจำนวนมากออกจากผนังลำไส้ ทำให้อาหารทั้งเก่า และ ใหม่
ถูงขับปน ๆ กันออกมาได้อย่างรวดเร็วกว่าการแซงคิวเลยครับ เพราะอาหารเหล่านั้นมันจะถูกน้ำจากผนังลำไส้
ผสมปนเปกัน และลำไส้จะบีบตัวออกมาพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจมีการแซงคิวได้บ้างในกรณีที่อาหารที่กินใหม่มีความหนาแน่น
ต่ำกว่าอาหารที่กินไปก่อนหน้า .... สรุปแล้ว มันมีทั้งการแซงคิวด้วย ตามคิวด้วย เพราะอาหารทั้งเก่า และ ใหม่ นั้น
ถูกผสมด้วยน้ำจำนวนมาก และถูกลำไส้บีบตัวออกมาครับ
แสดงความคิดเห็น
ท้องไส้คนเราเป็นแบบQueue(เข้าก่อน ออกก่อน) แล้วทำไมเวลาท้องเสียสิ่งที่เราทานมันถึงออกมาทันที?
แล้วสมมติว่า ถ้าผมกินข้าวมื้อเช้าเป็นข้าวผัด แล้วกินมื้อเย็นเป็นส้มตำ (สมมติว่าส้มตำทำให้ท้องเสีย)
ข้าวผัดที่กินไปในตอนเช้าย่อยหมดแล้ว อัดเป็นแท่งอยู่ในลำไส้ตรง รอการเอาออก แต่ในตอนเย็นกินส้มตำแล้วรู้สึกท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษ
คำถามคือ ถ้าท้องไส้คนเราเป็นแบบคิว (Queue) เข้าก่อน ออกก่อน
ลำดับในการถ่ายอุจจาระออกมา มันควรจะเป็นแบบนี้รึป่าว?
ข้าวผัดอัดแท่งออกมาก่อน แล้วตามมาด้วยของเหลวจากส้มตำ
แต่ทำไมในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย มันปะปนก็ไปเรื่อย และดูเหมือนจะเป็นของเหลวทั้งหมดด้วย จนแยกไม่ออกว่าท้องเสียจากมื้อไหน
แล้วถ้ามื่อที่ไม่ได้ทำให้ท้องเสียยังย่อยไม่เสร็จ กำลังอยู่ในลำไส้เล็ก กำลังดูดซึมสารอาหารเลย
มันก็ต้องถูกส้มตำดันออกมาทั้งๆที่ยังดูดซึมอาหารไม่เสร็จเหรอครับ
สมมติถ้าผมกินเวย์เข้าไป แล้วมื้อต่อไปทำให้ผมท้องเสีย เท่ากับเวย์โปรตีนผมไหลออกมาหมดเลยยเหรอครับ?