* ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญ แต่เป็นคนที่รักในดาราศาสตร์และอยากจะแชร์ความรู้ครับ เลยลองใช้ภาษาอังกฤษที่มีอยู่ลองแปลดูครับ หากมีข้อผิดพลาดประการใดสามารถแจ้งได้ครับ *
จากงานวิจัยที่เพิ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Nature Geoscience ในวันนี้ ร่วมกับการแถลงข่าวจากนาซ่า ซึ่งประกาศว่า นี่คือครั้งแรกที่เราค้นพบน้ำบนดาวอังคารในรูปของเหลวผสมเกลือ ซึ่งมีร่องรอยการไหลชัดเจนในช่วงฤดูร้อนของดาวอังคาร (ซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดได้แค่ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ซึ่งมากกกว่าจุดเดือดของน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งมีค่าประมาณ 10 องศาเซลเซียส ทำให้ก่อนหน้านี้เราไม่เชื่อว่าจะมีน้ำในรูปของเหลวบนดาวอังคารได้ )
หนึ่งในผู้ทำวิจัยดังกล่าว คือ นาย Lujendra Ojha นักศึกษาปริญาตรี (ภาพประกอบที่ 1) ชาวเนปาล ผู้เคยประกาศว่าจะสร้างเครื่องย้อนเวลา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่ Georgia Institute of Technology ได้สังเกตุพบว่า บนเทือกเขาบนดาวอังคารนั้น มีร่องรอยสีดำ เป็นทางยาวประมาณร้อยเมตร ซึ่งจะปรากฏในฤดูร้อนชัดสุด และหายไปในฤดูหนาว ( ชวนให้นึกถึงการละลายของน้ำแข็งในฤดูร้อน) ดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 1 : ภาพของ Lujendra Ojha นักศึกษาปริญาตรีชาวเนปาล ภาพจาก
http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/08/05/how-an-undergrad-spotted-possible-water-on-mars/
ภาพประกอบที่ 2 ภาพของแถบสีเข้มที่ถูกเรียกว่า recurring slope lineae ซึ่งหมายถึงเส้นที่เกิดขึ้นซ้ำๆ บริเวณที่ลาดชัน ซึ่งค่อยๆ เกิดจากบริเวณขอบของหลุม Garni บนดาวอังคาร ซึ่งคาดว่าเกิดจากการไหลของน้ำเค็มบนดาวอังคาร ภาพจาก NASA/JPL/University of Arizona
เพื่อให้แน่ใจว่าร่องรอยดังกล่าว เกิดจากน้ำเค็ม (การรวมตัวกันของน้ำและสารประกอบเกลือ เช่น เกลือบ้านที่เรารู้จัก, NaCl, แคลเซียมเปอร์คลอเรท, CaCl2 เป็นต้น เพราะการมีเกลือผสมในน้ำจะทำให้น้ำมีจุดเยือกแข็ง และจุดเดือดต่ำลง จนอาจจะพอที่จะเป็นของเหลวได้ ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำของดาวอังคาร) จึงต้องมีการศึกษาเชิงสเปกตรัมของบริเวณดังกล่าว เทียบกับบริเวณที่เป็นสีอ่อน หากมีสเปกตรัมของเกลือที่มีน้ำผสมอยู่จริง ก็จะสามารถพิสูจน์สมมุติฐานนี้ได้ โดยการทดลองนี้ ได้ใช้ภาพจาก NASA's Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ซึ่งติดตั้ง High Resolution Imaging Science Experiment (HiRISE) เพื่อถ่ายภาพความละเอียดสูง และ Reconnaissance Imaging Spectrometer for Mars (CRISM) เพื่อถ่ายภาพสเปกตรัมความละเอียดสูงในช่วง 0.4 ถึง 3.92 ไมโครเมตร โดยการทดลองแรกถ่ายภาพหลุม Palikir โดยรูป a และ b เป็นภาพตำแหน่งที่วัดสเปกตรัม ซึ่งถ่ายด้วย HiRISE รูป c คือ สเปกตรัมของแต่ละตำแหน่ง และรูป d คือผลของสเปกตรัมมาตรฐานของสารประกอบระหว่างเกลือและน้ำ แสดงในเส้นสีน้ำเงิน แดง และ เขียว และ สเปกตรัมของน้ำในรูปของเหลว แสดงด้วยเส้นสีดำ ซึ่งพบว่า มีช่วงการดูดกลืนที่สอดคล้องกัน ระหว่างเกลือผสมน้ำ และ เส้นทึบบนดาวอังคาร (เส้นดูดกลืนที่ 1.5 และ 1.9 ไมโครเมตร )ดังภาพประกอบ 3
ภาพประกอบ 3 ข้อมูลของภาพและสเปกตรัมที่ได้จากหลุม Palikir ภาพจากงานวิจัยอ้างอิงที่ 1
เพื่อเป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำเกลือนั้นอยู่เฉพาะบริเวณแถบสีเข้ม การทดลองต่อมาจึงเปรียบเทียบระหว่างสองบริเวณ ของหลุม Horowitz ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดสเปกตัมดูดกลืนของน้ำเค็มเฉพาะในบริเวณแถบสีเข้ม ดังภาพประกอบที่ 4
ภาพประกอบ 4 แสดงภาพและสเปกตรัมที่ได้จากหลุม Horowitz
ซึ่งจากสเปกตรัมที่ได้ ทำให้สรุปได้ว่า รอยเข้มดังกล่าว น่าจะเกิดจากสารผสมของ Magnesium perchlorate (Mg(ClO4)2), Magnesium chlorate(Mg(ClO3)2), และ Magnesium chloride (MgCl2) ซึ่งพบว่า เกลือดังกล่าวน่าจะทำให้น้ำมีจุดเยือกแข็งและจุดเดือด ลดลงไปถึง 40-70 องศาเซลเซียส (ซึ่งอาจจะทำให้น้ำมีจุดเดือดที่ 30 องศา และมีจุดเยือกแข็งที่ -70 องศาเซลเซียส : ความเห็นผู้เขียน) จึงสามารถทำให้สามารถมีน้ำในรูปของเหลวบนดาวอังคารได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ในที่ซึ่งมีความเค็มสูงได้ อย่างเช่นในทะเลทรายอาทากาม่า อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า เกลือเปอร์ครอเรท อาจจะมีความเค็มมากเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตบนโลกจะสามารถใช้ได้ แต่ก็ยังคงมีความหวังที่เราจะค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารมากขึ้นกว่าเดิม
การค้นพบน้ำบนดาวอังคารนี้ ช่วยเพิ่มความสำคัญของดาวอังคารในฐานะโลกใบที่สอง เพราะเราไม่ต้องขนน้ำขึ้นไปยังดาวอังคาร แต่เราสามารถใช้น้ำได้เลย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้มากนั่นเอง
นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า นักวิจัยสมัยใหม่นั้น นอกจากจะต้องมีองค์ความรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีทักษะการสังเกตุ และเชื่อมั่นในตัวเอง เผลอๆสิ่งนี้อาจจะสำคัญกว่าการได้ปริญาเอกก็ได้ เหมือนที่ Lujendra ได้ทำนั่นเอง
อ้างอิงจาก
http://phys.org/news/2015-09-evidence-brine-mars.html
http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/08/05/how-an-undergrad-spotted-possible-water-on-mars/
http://www.lujendraojha.net/
http://www.nature.com/ngeo/journal/vaop/ncurrent/full/ngeo2546.html
http://www.space.com/30673-water-flows-on-mars-discovery.html?cmpid=514630_20150928_53135456&adbid=10153086098981466&adbpl=fb&adbpr=17610706465
รายงานเกือบสด : เจอน้ำในรูปของเหลวบนดาวอังคาร!!!!
จากงานวิจัยที่เพิ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Nature Geoscience ในวันนี้ ร่วมกับการแถลงข่าวจากนาซ่า ซึ่งประกาศว่า นี่คือครั้งแรกที่เราค้นพบน้ำบนดาวอังคารในรูปของเหลวผสมเกลือ ซึ่งมีร่องรอยการไหลชัดเจนในช่วงฤดูร้อนของดาวอังคาร (ซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดได้แค่ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ซึ่งมากกกว่าจุดเดือดของน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งมีค่าประมาณ 10 องศาเซลเซียส ทำให้ก่อนหน้านี้เราไม่เชื่อว่าจะมีน้ำในรูปของเหลวบนดาวอังคารได้ )
หนึ่งในผู้ทำวิจัยดังกล่าว คือ นาย Lujendra Ojha นักศึกษาปริญาตรี (ภาพประกอบที่ 1) ชาวเนปาล ผู้เคยประกาศว่าจะสร้างเครื่องย้อนเวลา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่ Georgia Institute of Technology ได้สังเกตุพบว่า บนเทือกเขาบนดาวอังคารนั้น มีร่องรอยสีดำ เป็นทางยาวประมาณร้อยเมตร ซึ่งจะปรากฏในฤดูร้อนชัดสุด และหายไปในฤดูหนาว ( ชวนให้นึกถึงการละลายของน้ำแข็งในฤดูร้อน) ดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 1 : ภาพของ Lujendra Ojha นักศึกษาปริญาตรีชาวเนปาล ภาพจาก http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/08/05/how-an-undergrad-spotted-possible-water-on-mars/
ภาพประกอบที่ 2 ภาพของแถบสีเข้มที่ถูกเรียกว่า recurring slope lineae ซึ่งหมายถึงเส้นที่เกิดขึ้นซ้ำๆ บริเวณที่ลาดชัน ซึ่งค่อยๆ เกิดจากบริเวณขอบของหลุม Garni บนดาวอังคาร ซึ่งคาดว่าเกิดจากการไหลของน้ำเค็มบนดาวอังคาร ภาพจาก NASA/JPL/University of Arizona
เพื่อให้แน่ใจว่าร่องรอยดังกล่าว เกิดจากน้ำเค็ม (การรวมตัวกันของน้ำและสารประกอบเกลือ เช่น เกลือบ้านที่เรารู้จัก, NaCl, แคลเซียมเปอร์คลอเรท, CaCl2 เป็นต้น เพราะการมีเกลือผสมในน้ำจะทำให้น้ำมีจุดเยือกแข็ง และจุดเดือดต่ำลง จนอาจจะพอที่จะเป็นของเหลวได้ ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำของดาวอังคาร) จึงต้องมีการศึกษาเชิงสเปกตรัมของบริเวณดังกล่าว เทียบกับบริเวณที่เป็นสีอ่อน หากมีสเปกตรัมของเกลือที่มีน้ำผสมอยู่จริง ก็จะสามารถพิสูจน์สมมุติฐานนี้ได้ โดยการทดลองนี้ ได้ใช้ภาพจาก NASA's Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ซึ่งติดตั้ง High Resolution Imaging Science Experiment (HiRISE) เพื่อถ่ายภาพความละเอียดสูง และ Reconnaissance Imaging Spectrometer for Mars (CRISM) เพื่อถ่ายภาพสเปกตรัมความละเอียดสูงในช่วง 0.4 ถึง 3.92 ไมโครเมตร โดยการทดลองแรกถ่ายภาพหลุม Palikir โดยรูป a และ b เป็นภาพตำแหน่งที่วัดสเปกตรัม ซึ่งถ่ายด้วย HiRISE รูป c คือ สเปกตรัมของแต่ละตำแหน่ง และรูป d คือผลของสเปกตรัมมาตรฐานของสารประกอบระหว่างเกลือและน้ำ แสดงในเส้นสีน้ำเงิน แดง และ เขียว และ สเปกตรัมของน้ำในรูปของเหลว แสดงด้วยเส้นสีดำ ซึ่งพบว่า มีช่วงการดูดกลืนที่สอดคล้องกัน ระหว่างเกลือผสมน้ำ และ เส้นทึบบนดาวอังคาร (เส้นดูดกลืนที่ 1.5 และ 1.9 ไมโครเมตร )ดังภาพประกอบ 3
ภาพประกอบ 3 ข้อมูลของภาพและสเปกตรัมที่ได้จากหลุม Palikir ภาพจากงานวิจัยอ้างอิงที่ 1
เพื่อเป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำเกลือนั้นอยู่เฉพาะบริเวณแถบสีเข้ม การทดลองต่อมาจึงเปรียบเทียบระหว่างสองบริเวณ ของหลุม Horowitz ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดสเปกตัมดูดกลืนของน้ำเค็มเฉพาะในบริเวณแถบสีเข้ม ดังภาพประกอบที่ 4
ภาพประกอบ 4 แสดงภาพและสเปกตรัมที่ได้จากหลุม Horowitz
ซึ่งจากสเปกตรัมที่ได้ ทำให้สรุปได้ว่า รอยเข้มดังกล่าว น่าจะเกิดจากสารผสมของ Magnesium perchlorate (Mg(ClO4)2), Magnesium chlorate(Mg(ClO3)2), และ Magnesium chloride (MgCl2) ซึ่งพบว่า เกลือดังกล่าวน่าจะทำให้น้ำมีจุดเยือกแข็งและจุดเดือด ลดลงไปถึง 40-70 องศาเซลเซียส (ซึ่งอาจจะทำให้น้ำมีจุดเดือดที่ 30 องศา และมีจุดเยือกแข็งที่ -70 องศาเซลเซียส : ความเห็นผู้เขียน) จึงสามารถทำให้สามารถมีน้ำในรูปของเหลวบนดาวอังคารได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ในที่ซึ่งมีความเค็มสูงได้ อย่างเช่นในทะเลทรายอาทากาม่า อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า เกลือเปอร์ครอเรท อาจจะมีความเค็มมากเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตบนโลกจะสามารถใช้ได้ แต่ก็ยังคงมีความหวังที่เราจะค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารมากขึ้นกว่าเดิม
การค้นพบน้ำบนดาวอังคารนี้ ช่วยเพิ่มความสำคัญของดาวอังคารในฐานะโลกใบที่สอง เพราะเราไม่ต้องขนน้ำขึ้นไปยังดาวอังคาร แต่เราสามารถใช้น้ำได้เลย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้มากนั่นเอง
นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า นักวิจัยสมัยใหม่นั้น นอกจากจะต้องมีองค์ความรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีทักษะการสังเกตุ และเชื่อมั่นในตัวเอง เผลอๆสิ่งนี้อาจจะสำคัญกว่าการได้ปริญาเอกก็ได้ เหมือนที่ Lujendra ได้ทำนั่นเอง
อ้างอิงจาก
http://phys.org/news/2015-09-evidence-brine-mars.html
http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/08/05/how-an-undergrad-spotted-possible-water-on-mars/
http://www.lujendraojha.net/
http://www.nature.com/ngeo/journal/vaop/ncurrent/full/ngeo2546.html
http://www.space.com/30673-water-flows-on-mars-discovery.html?cmpid=514630_20150928_53135456&adbid=10153086098981466&adbpl=fb&adbpr=17610706465