ปัญหาประมงไทยยังไม่สิ้นสุด ต้องรอตัดสินตุลานี้

สืบเนื่องจากกระทู้ http://ppantip.com/topic/34217764 นี้

ที่เราติดข้อมูลเกี่ยวกับที่ EU กำลัง "ยืมมือคนไทยด้วยกันทำลายประมงพาณิชย์ขนาดกลาง และเล็กให้หมดไปจากอุตสาหกรรม" เพื่อให้บริษัทจับปลาสัญชาติยุโรปจะได้มาจับปลาในน่านน้ำประเทศไทยแทน และสามารถกำหนดระดับราคาส่งขายในสหภาพยุโรปได้เอง ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดกับทวีปแอฟริกามาแล้ว มาเล่าต่อ

"EU ได้เข้าไปแย่งซื้อสิทธิ์ในการทำประมงจากประเทศที่ยากจนในทวีปแอฟริกาไว้เกือบทั้งหมด แล้วส่งกองเรือจากยุโรปเข้าไปจับปลาในน่านน้ำของแอฟริกาจนหมดสิ้น โดยมีเรืออวนลากยักษ์ชื่อ ATLANTIC DAWN ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากสหภาพยุโรป เป็นเรือนำจับสัตว์น้ำทุกชนิด ทุกขนาดจนไม่เหลือสัตว์น้ำให้ชาวประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเซเนกัลได้จับ

ความชั่วร้ายของ EU ก็ได้เข้าไปคุกคามทวีปแอฟริกา โดยเข้าไปในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่อยู่รอบๆ ทะเลสาปวิคตอร์เรีย ด้วยการเอาปลา Nile Perch (ปลากะพงแม่น้ำไนล์) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ไปปล่อยในทะเลสาป โดยบอกว่าจะเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้กับคนท้องถิ่นได้กิน แต่ปลานี้ได้กินปลาท้องถิ่นจนสูญพันธ์ไปหลายชนิด เมื่อปลาโตเต็มที่จะถูกจับแล่เอาเนื้อส่งไปยังประเทศในอียู ส่วนคนท้องถิ่นจะได้กินแต่หัว และก้างปลาที่อียูเหลือทิ้งไว้ให้" จากหน้งสารคดีเรื่อง Darwin's Nightmare

กลับมาที่การจัดการประมงที่ประเทศไทยยังไม่มีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง ตรงจุด และทันสมัย ไม่เป็นไปตามที่อียูกำหนด อาจจะทำให้ไทยได้ใบแดงจากการแก้ไขของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงดออกเรือที่ไม่มีอาญาบัตร เรือที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย วันหยุดเดินเรือ และอื่นๆ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ยังไม่ตอบโจทย์ที่ทางอียูต้องการ ระบบที่ทางอียูต้องการคือ ระบบที่ปฏิบัติที่ตรวจสอบได้จริง และไม่สร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของชาวประมงอย่างรุนแรงในปัจจุบัน



พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ในวันที่ 15-17 ตุลาคมนี้ อียูจะมาตรวจการแก้ประมงผิดกฎหมายไทย ยืนยันการแก้ปัญหาดีขึ้น เพราะทำเต็มที่ทุกเรื่อง ไม่มีปัญหาใด ส่วนอียูจะพอใจหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง ยืนยันไทยพร้อมรับการประเมินจากอียู เชื่อไม่ต่ำกว่าเดิมที่ใบเหลือง

ที่มา :
"ประวิตร ยันแก้ประมงผิดกม.ดีขึ้น-ห่วงน้ำไม่พอ วอนชาวนาปลูกพืชใช้น้ำน้อย" : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443080875
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่