เครือข่ายผู้ป่วยเตรียมบุกพบ รมว.สธ.- ปลัด สธ. 24 ก.ย. ร้องคำประกาศสิทธิผู้ป่วยไม่เป็นธรรม หวั่นแพทย์ใช้อ้างปัดความรับผิดชอบ ใช้เป็นหลักฐานต่อสู้ในศาล ทำผู้ป่วยเสียเปรียบหากไม่ปฏิบัติตาม ยันหน้าที่ผู้ป่วยควรเป็นเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ไม่พ่วงกับกฎหมาย
วันนี้ (21 ก.ย.) ที่คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เครือข่ายผู้ป่วยต่าง ๆ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายเพื่อโรคไต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เครือข่ายผู้ป่วยโรคหัวใจ ฯลฯ ร่วมแถลงข่าว “วิเคราะห์คำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติฉบับใหม่” หลังสหวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น ได้ออกคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติฉบับใหม่ แทนฉบับเดิมที่ใช้มานานกว่า 17 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดการฟ้องร้องลงได้
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า คำประกาศใหม่ไม่ได้ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเลย เพราะมีการเพิ่มหน้าที่ของผู้ป่วย ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดรอยร้าวขึ้น เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะข้อพึงปฏิบัติ หรือหน้าที่ ที่ระบุว่า โรคทุกโรครักษาไม่หายทั้งหมด ให้ผู้ป่วยยอมรับ ตรงนี้ไม่ควรเขียน โดยวันที่ 24 ก.ย. นี้ จะขอเข้าพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. เพื่อขอความเห็นใจเรื่องนี้ โดยยืนยันให้ใช้คำประกาศสิทธิเดิม โดยไม่ต้องมีข้อพึงปฏิบัติหรือหน้าที่ผู้ป่วย เพราะไม่ถูกต้อง
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การกำหนดหน้าที่ผู้ป่วยทำให้เกิดข้อเป็นห่วงที่ว่า เมื่อเกิดผลกระทบใด ๆ ขึ้นกับผู้ป่วย จะถูกปัดว่าเป็นหน้าที่ของผู้ป่วย แพทย์ไม่เกี่ยวหรือไม่ เช่น หน้าที่ที่ระบุว่าต้องให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง แต่หากผู้ป่วยไม่เคยรู้ว่าตัวเองมีปัญหา หรือบอกอาการป่วยของตัวเองไม่ถูกว่าเป็นแบบใด เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะอ้างไม่รับผิดชอบหรือไม่ ที่สำคัญ คำประกาศนี้สามารถเอาไปเป็นหลักฐานในการต่อสู้ในศาลเมื่อมีการฟ้องร้องได้อีกด้วย สุดท้ายผู้ป่วยจะเสียเปรียบ อย่างคดีหนึ่งผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็อาศัย พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ที่มีเรื่องหน้าที่ไปอ้างอิง จนทำให้ผู้ป่วยแพ้ ซึ่งเราห่วงว่าจะเกิดกรณีเช่นนี้
“ประกาศดังกล่าวแม้จะไม่ใช่คำประกาศการปกครอง แต่ก็ควรฟังความเห็นจากทุกฝ่ายหรือไม่ ซึ่งจากการสอบถามพบว่า ประกาศดังกล่าวมีการรับฟังความเห็นเพียงครั้งเดียวเมื่อ ต.ค. 2557 และตัวแทนภาคประชาชนที่ไปก็เป็นเพียงตัวแทนของ กทม. คนเดียว ซึ่งตอนนั้นก็มีการท้วงติงเรื่องการกำหนดหน้าที่ผู้ป่วย เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่ได้มีสติพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ผู้ป่วยหมดสติ หรือผู้ป่วยเป็นเด็ก คนแก่ หากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้จะไม่รักษาหรืออย่างไร สุดท้ายมีการแก้ไขหัวข้อชื่อจาก “หน้าที่” เป็น “ข้อพึงปฏิบัติ” ซึ่งไม่ได้แตกต่างเลย” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการเคลื่อนไหวของสภาวิชาชีพกลุ่มหนึ่งที่ก่อนเลือกตั้งหาเสียง ได้ชูนโยบายว่าจะไม่ทำให้แพทย์ถูกฟ้อง ที่สำคัญ มีการร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติ รพ.เอกชน เคลื่อนไหวลักษณะนี้มาตลอด โดยเฉพาะหน้าที่ผู้ป่วย เพื่อปกป้องวิชาชีพหรือไม่ คำถามคือ ความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยต้องมีหนทางแก้ปัญหา ซึ่งพวกตนมองว่า พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ พ.ศ. ... น่าจะเป็นทางออกที่ดี ไม่ใช่หนทางแบบนี้ นอกจากนี้ ขอยืนยันว่า ประเทศต่างๆ ไม่มีกำหนดหน้าที่ มีแค่สิทธิอย่างเดียว หากสภาวิชาชีพไหนมีข้อมูลให้แสดงเอกสารออกมา ไม่ใช่แค่บอกว่ามีประเทศใดเท่านั้น
นายอภิวัฒน์ กวางแก้วประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีฯ กล่าวว่า คำประกาศสิทธิฉบับใหม่บอกว่าให้ผู้ป่วยบอกข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อประโยชน์การรักษา ตรงนี้กระทบกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีชัดเจน เพราะการตีความเพื่อประโยชน์ทางการรักษา อาจตีความไปถึงประโยชน์ที่จะตกกับคนไม่ติดเชื้อ เช่น คู่รัก หรือพ่อแม่ได้ ตรงนี้จะกลายเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่า หากบอกผลเลือดไปก็จะมีความละเอียดอ่อนและเปราะบางมาก จนไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ อย่างเด็กและเยาวชน หรือคู่รักไปตรวจเลือดพบเป็นบวก หากแพทย์ไปบอกพ่อแม่หรือไปบอกคู่รักจะเป็นอย่างไร หลายคนอยากบอกเอง ควรให้เวลาเขา ไม่ใช่ให้แพทย์บอก เพราะแพทย์อาจตีความว่า ประโยชน์จะตกกับคนที่ไม่ติดเชื้อฯ ทั้งคู่รัก หรือพ่อแม่
ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า คำประกาศใหม่เหมือนมองว่าที่ผ่านมาผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ เห็นได้จากตัวอารัมภบทชัดเจนว่าขอความร่วมมือ แต่ของเดิมไม่มี นอกจากนี้ ในเรื่องรักษาความลับของผู้ป่วยเดิมทีบอกว่าต้องรักษาโดยเคร่งครัด แต่ของใหม่กลับไม่ระบุ ซึ่งแสดงว่าแพทย์มีสิทธิเปิดเผยความลับผู้ป่วยหรือไม่ ทั้งนี้ มองว่า คำกำหนดหน้าที่ ต้องเป็นเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่มาผนวกกับกฎหมาย
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทย์จำเป็นต้องทราบข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที อย่างกรณีคนที่ติดเชื้อเอชไอวี กับคนธรรมดาเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด แพทย์จะคิดและวินิจฉัยต่างกัน คนธรรมดาแพทย์จะคิดว่าเป็นโรคปอด ไข้หวัดใหญ่ ส่วนคนติดเชื้อเอชไอวีอาจจะพิจารณาถึงการติดเชื้อในปอด เชื้อราในปอด เป็นต้น ส่วนเรื่องการห้ามเปิดเผยความลับของผู้ป่วยนั้นหมายความว่า แพทย์จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยให้กับบุคคลที่สามทราบ ตรงนี้เป็นกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนที่ออกประกาศเรื่องดังกล่าวอย่างเรื่องการซักประวัติคนไข้ เพราะที่ผ่านมามีการโกหกไม่บอกความจริงกับแพทย์ เพราะอาย เช่น วัณโรค ทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด แบบนี้ก็แย่ รักษาไม่ถูกพอไม่หายก็โทษแพทย์ การไม่บอกความจริงกับแพทย์ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106711
หวั่น “หมอ” ใช้คำประกาศสิทธิ-หน้าที่ผู้ป่วยปัดรับผิดชอบ บี้ผู้ป่วยแพ้ในศาล เล็งบุก สธ.เรียกร้อง 24 ก.ย.
วันนี้ (21 ก.ย.) ที่คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เครือข่ายผู้ป่วยต่าง ๆ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายเพื่อโรคไต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เครือข่ายผู้ป่วยโรคหัวใจ ฯลฯ ร่วมแถลงข่าว “วิเคราะห์คำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติฉบับใหม่” หลังสหวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น ได้ออกคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติฉบับใหม่ แทนฉบับเดิมที่ใช้มานานกว่า 17 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดการฟ้องร้องลงได้
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า คำประกาศใหม่ไม่ได้ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเลย เพราะมีการเพิ่มหน้าที่ของผู้ป่วย ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดรอยร้าวขึ้น เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะข้อพึงปฏิบัติ หรือหน้าที่ ที่ระบุว่า โรคทุกโรครักษาไม่หายทั้งหมด ให้ผู้ป่วยยอมรับ ตรงนี้ไม่ควรเขียน โดยวันที่ 24 ก.ย. นี้ จะขอเข้าพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. เพื่อขอความเห็นใจเรื่องนี้ โดยยืนยันให้ใช้คำประกาศสิทธิเดิม โดยไม่ต้องมีข้อพึงปฏิบัติหรือหน้าที่ผู้ป่วย เพราะไม่ถูกต้อง
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การกำหนดหน้าที่ผู้ป่วยทำให้เกิดข้อเป็นห่วงที่ว่า เมื่อเกิดผลกระทบใด ๆ ขึ้นกับผู้ป่วย จะถูกปัดว่าเป็นหน้าที่ของผู้ป่วย แพทย์ไม่เกี่ยวหรือไม่ เช่น หน้าที่ที่ระบุว่าต้องให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง แต่หากผู้ป่วยไม่เคยรู้ว่าตัวเองมีปัญหา หรือบอกอาการป่วยของตัวเองไม่ถูกว่าเป็นแบบใด เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะอ้างไม่รับผิดชอบหรือไม่ ที่สำคัญ คำประกาศนี้สามารถเอาไปเป็นหลักฐานในการต่อสู้ในศาลเมื่อมีการฟ้องร้องได้อีกด้วย สุดท้ายผู้ป่วยจะเสียเปรียบ อย่างคดีหนึ่งผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็อาศัย พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ที่มีเรื่องหน้าที่ไปอ้างอิง จนทำให้ผู้ป่วยแพ้ ซึ่งเราห่วงว่าจะเกิดกรณีเช่นนี้
“ประกาศดังกล่าวแม้จะไม่ใช่คำประกาศการปกครอง แต่ก็ควรฟังความเห็นจากทุกฝ่ายหรือไม่ ซึ่งจากการสอบถามพบว่า ประกาศดังกล่าวมีการรับฟังความเห็นเพียงครั้งเดียวเมื่อ ต.ค. 2557 และตัวแทนภาคประชาชนที่ไปก็เป็นเพียงตัวแทนของ กทม. คนเดียว ซึ่งตอนนั้นก็มีการท้วงติงเรื่องการกำหนดหน้าที่ผู้ป่วย เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่ได้มีสติพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ผู้ป่วยหมดสติ หรือผู้ป่วยเป็นเด็ก คนแก่ หากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้จะไม่รักษาหรืออย่างไร สุดท้ายมีการแก้ไขหัวข้อชื่อจาก “หน้าที่” เป็น “ข้อพึงปฏิบัติ” ซึ่งไม่ได้แตกต่างเลย” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการเคลื่อนไหวของสภาวิชาชีพกลุ่มหนึ่งที่ก่อนเลือกตั้งหาเสียง ได้ชูนโยบายว่าจะไม่ทำให้แพทย์ถูกฟ้อง ที่สำคัญ มีการร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติ รพ.เอกชน เคลื่อนไหวลักษณะนี้มาตลอด โดยเฉพาะหน้าที่ผู้ป่วย เพื่อปกป้องวิชาชีพหรือไม่ คำถามคือ ความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยต้องมีหนทางแก้ปัญหา ซึ่งพวกตนมองว่า พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ พ.ศ. ... น่าจะเป็นทางออกที่ดี ไม่ใช่หนทางแบบนี้ นอกจากนี้ ขอยืนยันว่า ประเทศต่างๆ ไม่มีกำหนดหน้าที่ มีแค่สิทธิอย่างเดียว หากสภาวิชาชีพไหนมีข้อมูลให้แสดงเอกสารออกมา ไม่ใช่แค่บอกว่ามีประเทศใดเท่านั้น
นายอภิวัฒน์ กวางแก้วประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีฯ กล่าวว่า คำประกาศสิทธิฉบับใหม่บอกว่าให้ผู้ป่วยบอกข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อประโยชน์การรักษา ตรงนี้กระทบกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีชัดเจน เพราะการตีความเพื่อประโยชน์ทางการรักษา อาจตีความไปถึงประโยชน์ที่จะตกกับคนไม่ติดเชื้อ เช่น คู่รัก หรือพ่อแม่ได้ ตรงนี้จะกลายเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่า หากบอกผลเลือดไปก็จะมีความละเอียดอ่อนและเปราะบางมาก จนไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ อย่างเด็กและเยาวชน หรือคู่รักไปตรวจเลือดพบเป็นบวก หากแพทย์ไปบอกพ่อแม่หรือไปบอกคู่รักจะเป็นอย่างไร หลายคนอยากบอกเอง ควรให้เวลาเขา ไม่ใช่ให้แพทย์บอก เพราะแพทย์อาจตีความว่า ประโยชน์จะตกกับคนที่ไม่ติดเชื้อฯ ทั้งคู่รัก หรือพ่อแม่
ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า คำประกาศใหม่เหมือนมองว่าที่ผ่านมาผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ เห็นได้จากตัวอารัมภบทชัดเจนว่าขอความร่วมมือ แต่ของเดิมไม่มี นอกจากนี้ ในเรื่องรักษาความลับของผู้ป่วยเดิมทีบอกว่าต้องรักษาโดยเคร่งครัด แต่ของใหม่กลับไม่ระบุ ซึ่งแสดงว่าแพทย์มีสิทธิเปิดเผยความลับผู้ป่วยหรือไม่ ทั้งนี้ มองว่า คำกำหนดหน้าที่ ต้องเป็นเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่มาผนวกกับกฎหมาย
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทย์จำเป็นต้องทราบข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที อย่างกรณีคนที่ติดเชื้อเอชไอวี กับคนธรรมดาเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด แพทย์จะคิดและวินิจฉัยต่างกัน คนธรรมดาแพทย์จะคิดว่าเป็นโรคปอด ไข้หวัดใหญ่ ส่วนคนติดเชื้อเอชไอวีอาจจะพิจารณาถึงการติดเชื้อในปอด เชื้อราในปอด เป็นต้น ส่วนเรื่องการห้ามเปิดเผยความลับของผู้ป่วยนั้นหมายความว่า แพทย์จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยให้กับบุคคลที่สามทราบ ตรงนี้เป็นกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนที่ออกประกาศเรื่องดังกล่าวอย่างเรื่องการซักประวัติคนไข้ เพราะที่ผ่านมามีการโกหกไม่บอกความจริงกับแพทย์ เพราะอาย เช่น วัณโรค ทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด แบบนี้ก็แย่ รักษาไม่ถูกพอไม่หายก็โทษแพทย์ การไม่บอกความจริงกับแพทย์ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000106711