ใส่ใจในการใช้ยาต้านไวรัส

การรักษาโรคเรื้อรังแนวใหม่ อาทิ เช่น โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ เอช ไอ วี ผลจะดีต่อผู้ป่วยมากในกรณีเข้าสู่การรักษาป้องกันโดยเร็ว ทำให้การดำเนินโรคช้าผู้ป่วยมีโอกาสเจ็บป่วยที่รุนแรงถึงชีวิตและ/หรือปรากฏภาวะแทรกซ้อนน้อยลง แนวทางปฏิบัติการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย 2557 แนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยไม่ขึ้นกับซีดีสี่ (CD4) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาได้เร็วขึ้น แต่ในกรณีที่ CD4 มากกว่า 500 เซล/ลบ.มม. ผู้ป่วยต้องเข้าใจถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการรักษา มีความยินดีและมุ่งตั้งใจรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
ในกรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามแนวทางปฏิบัติ ปี 2558 DHHS ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสประสิทธิภาพสูง (HAART)
สูตรที่ DHHS แนะนำเป็นสูตรแรกเป็นยากลุ่มเอ็นไอเอสทีไอเบส(INSTI-Based Regimen)ได้แก่ Dolutegravir Elvitegravir Raltegravir และพีไอเบส(PI-Based Regimen)ได้แก่ Darunavir ซึ่งทั้งสองกลุ่มเป็นสูตรที่ยังไม่มีและ/หรือเป็นยาที่เข้าถึงได้ยากในประเทศไทย ดังนั้นสูตรเอ็นเอ็นอาร์ทีไอเบส(NNRTI–Based Regimen) ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี อย่างไรก็ดี สูตรตำรับที่แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย 2557 แนะนำเป็นสูตรแรกเป็นสูตรทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงแต่มีข้อจำกัดในการใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ซึ่งผู้ป่วยที่เริ่มใช้ Tenofovir (ทีโนโฟเวียร์) ต้องตรวจการทำงานของไตทุกรายและถ้ามีการทำงานของไตบกพร่องอาจเปลี่ยนไปใช้ ยากลุ่ม NRTI อื่น เช่น ซิโดวูดีน(zidovudine) อาบาคคาเวียร์(Abacavir) แต่Abacavir เป็นยาที่ใช้ยาต้องมีการตรวจยีนและใช้ได้เฉพาะคนที่ HLA-B*5701เป็นลบ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ยารุนแรง แต่ไม่ได้มีการตรวจดังกล่าวในโรพงพยาบาลทั่วไป ดังนั้นยาทางเลือกที่จะใช้ทดแทน Tenofovir ตามแนวทางฯ จึงเป็น Zidovudine อย่างไรก็ดีกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจำกัดการใช้ยาทั้งสองรายการ คงต้องหันกลับมามองยากลุ่ม NRTI ที่เหลืออื่นๆด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก DHHS 2015

Report : LIV Capsule
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่