จับตารถไฟประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์โชยกลิ่น"บิ๊กรถไฟ"เดินเกมล็อกสเปคจัดซื้อวิธีตกลงราคา เย้ยนโยบายปราบทุจริตคสช.ไม่สนสัญญาคุณธรรรม
จับตารถไฟประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์โชยกลิ่น “บิ๊กรถไฟ”เดินเกมล็อกสเปคจัดซื้อด้วยวิธีตกลงราคา เย้ยนโยบายปราบทุจริตคสช.ไม่สนสัญญาคุณธรรม
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่การรถไฟฯ ได้เปิดประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 7 ขบวนรวม 28 คันวงเงินกว่า 4,400 ล้านบาท โดยเปิดขายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 18 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2558 และกำหนดยื่นซองเอกสารฯ ในวันที่ 29 ก.ค.2558 ปรากฏว่า มีผู้ซื้อเอกสารประกวดราคา 4 ราย ประกอบไปด้วย
1. กิจการร่วมค้า ชางชุน ซีอาซีซี และ ริเวอร์ เอนจิเนียริง 2. บริษัท ซีเมนต์ ประเทศไทย 3.กิจการร่วมค้า HU และ 4. กิจการร่วมค้า ชางซี ซีเอชซีเเอล ผลปรากฏว่าในวันยื่นเอกสารประกวดราคานั้นมีเพียงผู้ผลิตจากจีนเพียงรายเดียวเข้ายื่นข้อเสนอ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ผู้ผลิตราย อื่นๆ ไม่ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค ทำให้การรถไฟต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูลไปเป็นการเจรจาตรงแบบตกลงราคาแทน
ทั้งนี้ เหตุผลที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นไม่ผ่านเงื่อนไขทางเทคนิคนั้น รายงานข่าวกล่าวว่า เพราะมีการกำหนดเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ผลิตรถไฟรายอื่นไม่สามารทำตามเงื่อนไขได้ อาทิ การระบุให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์สามารถรองรับผู้โดยสารยืนได้ถึง 10 คนต่อ 1 ตารางเมตร ขณะที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 7 คนต่อตารางเมตร ทำให้ไม่มีผู้ผลิตรายใดในโลกทำได้
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มีระบบขับเคลื่อน 8 ชุดต่อขบวน เพื่อที่ว่ากรณีที่ระบบขับเคลื่อนเสียครึ่งหนึ่ง รถไฟฟ้ายังคงสามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็วสูงสุดคือ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงกำหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อกับขบวนรถไฟฟ้าเดิมที่ทำให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ ทำตามเงื่อนไขได้ยาก
"ข้อกำหนดทางเทคนิคเช่นนี้ เหมือนเป็นการล็อกสเปคที่ไม่มีที่ไหนในโลกทำได้ราวกับว่ามีการกำหนดตัวบริษัทหรือผู้ผลิตเอาไว้แล้ว แม้ก่อนหน้าบริษัทซีเมนต์ จะทำหนังสือทักท้วงตั้งแต่ตอนทำประชาพิจารณ์ แต่กลับถูกเพิกเฉยเป็นเหตุให้บริษัทใหญ่ๆขอถอนตัว และยังคงมีหนังสือร้องเรียนไปยังการรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคมว่าสมควรจะยกเลิกโครงการนี้ เพราะเห็นว่าไม่โปร่งใส แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าการรถไฟฯ ยังคงยืนยันจะเดินหน้าเจรจาตรงกับผู้ผลิตจีนรายนี้ต่อไปโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งที่ขัดแย้งและสวนนโยบายปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล คสช.ชัดแจ้ง"
ล่าสุดการประชุมบอร์ดรถไฟเมื่อ 8 ก.ย.ที่ผ่านมาได้อนุมัติตกลงซื้อไปแล้วกับบริษัทจีนคือ กิจการร่วมค้าฉางชุน ซี อาร์ซีซีและริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง ในราคา 4400 ล้าน ลดลงมาเพียง 13 ล้านเท่านั้น
ทั้งนี้ มีกระแสข่าวสะพัดในกระทรวงคมนาคมก่อนหน้าการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า โครงการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์นี้ มีการตั้งงบไว้สูงเกินจริงเป็นอันมาก จากราคาขายโดยทั่วไปที่อยู่เพียงคันละไม่เกิน 1.7 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 61.2 ล้านบาท รวม 7 ขบวน 28 คันราคาควรอยู่ในราว 1,713 ล้านบาท เมื่อรวมอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องซื้อจากซีเมนต์อีกราว 600 ล้านบาท งบประมาณรวมโครงการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้านี้ควรจะอยู่ในราว 2,500 ล้านบาท แต่กลับมีการตั้งงบดำเนินการไว้สูงกว่า 4,400 ล้านบาทยังไม่รวมการจัดซื้ออะไหล่สำรองอีก 400 ล้านที่การรถไฟฯจะจัดซื้อผนวกไปพร้อม
"คงต้องสอบถามไปยังกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเมื่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของรัฐอย่างโปร่งใส เหตุใดการรถไฟฯ กลับยังคงมีความพยายามจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าด้วยวิธีพิเศษไม่เปิดประมูลโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วนได้ ถือเป็นการดำเนินการที่สวนนโยบายรัฐบาลหรือไม่"
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/665771
ถอนหายใจแรงๆ องค์กรนี้มีคนเก่งๆ เหลืออยู่ไหม
อยากทราบเหมือนกันว่ารถไฟเส้นใหม่ๆ ที่จะลงทุน รางคู่ ความเร็วสูง และอื่นๆ ก็จะให้รัฐวิสาหกิจนี้บริหารด้วยหรือเปล่า
ถ้าใช่ สงสัยจะได้เอาเงินไปละลายน้ำเล่น
ประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์จากจีน4.4พันล.โชยกลิ่น
จับตารถไฟประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์โชยกลิ่น “บิ๊กรถไฟ”เดินเกมล็อกสเปคจัดซื้อด้วยวิธีตกลงราคา เย้ยนโยบายปราบทุจริตคสช.ไม่สนสัญญาคุณธรรม
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่การรถไฟฯ ได้เปิดประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 7 ขบวนรวม 28 คันวงเงินกว่า 4,400 ล้านบาท โดยเปิดขายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 18 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2558 และกำหนดยื่นซองเอกสารฯ ในวันที่ 29 ก.ค.2558 ปรากฏว่า มีผู้ซื้อเอกสารประกวดราคา 4 ราย ประกอบไปด้วย
1. กิจการร่วมค้า ชางชุน ซีอาซีซี และ ริเวอร์ เอนจิเนียริง 2. บริษัท ซีเมนต์ ประเทศไทย 3.กิจการร่วมค้า HU และ 4. กิจการร่วมค้า ชางซี ซีเอชซีเเอล ผลปรากฏว่าในวันยื่นเอกสารประกวดราคานั้นมีเพียงผู้ผลิตจากจีนเพียงรายเดียวเข้ายื่นข้อเสนอ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ผู้ผลิตราย อื่นๆ ไม่ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค ทำให้การรถไฟต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูลไปเป็นการเจรจาตรงแบบตกลงราคาแทน
ทั้งนี้ เหตุผลที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นไม่ผ่านเงื่อนไขทางเทคนิคนั้น รายงานข่าวกล่าวว่า เพราะมีการกำหนดเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ผลิตรถไฟรายอื่นไม่สามารทำตามเงื่อนไขได้ อาทิ การระบุให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์สามารถรองรับผู้โดยสารยืนได้ถึง 10 คนต่อ 1 ตารางเมตร ขณะที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 7 คนต่อตารางเมตร ทำให้ไม่มีผู้ผลิตรายใดในโลกทำได้
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มีระบบขับเคลื่อน 8 ชุดต่อขบวน เพื่อที่ว่ากรณีที่ระบบขับเคลื่อนเสียครึ่งหนึ่ง รถไฟฟ้ายังคงสามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็วสูงสุดคือ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงกำหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อกับขบวนรถไฟฟ้าเดิมที่ทำให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ ทำตามเงื่อนไขได้ยาก
"ข้อกำหนดทางเทคนิคเช่นนี้ เหมือนเป็นการล็อกสเปคที่ไม่มีที่ไหนในโลกทำได้ราวกับว่ามีการกำหนดตัวบริษัทหรือผู้ผลิตเอาไว้แล้ว แม้ก่อนหน้าบริษัทซีเมนต์ จะทำหนังสือทักท้วงตั้งแต่ตอนทำประชาพิจารณ์ แต่กลับถูกเพิกเฉยเป็นเหตุให้บริษัทใหญ่ๆขอถอนตัว และยังคงมีหนังสือร้องเรียนไปยังการรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคมว่าสมควรจะยกเลิกโครงการนี้ เพราะเห็นว่าไม่โปร่งใส แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าการรถไฟฯ ยังคงยืนยันจะเดินหน้าเจรจาตรงกับผู้ผลิตจีนรายนี้ต่อไปโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งที่ขัดแย้งและสวนนโยบายปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล คสช.ชัดแจ้ง"
ล่าสุดการประชุมบอร์ดรถไฟเมื่อ 8 ก.ย.ที่ผ่านมาได้อนุมัติตกลงซื้อไปแล้วกับบริษัทจีนคือ กิจการร่วมค้าฉางชุน ซี อาร์ซีซีและริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง ในราคา 4400 ล้าน ลดลงมาเพียง 13 ล้านเท่านั้น
ทั้งนี้ มีกระแสข่าวสะพัดในกระทรวงคมนาคมก่อนหน้าการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า โครงการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์นี้ มีการตั้งงบไว้สูงเกินจริงเป็นอันมาก จากราคาขายโดยทั่วไปที่อยู่เพียงคันละไม่เกิน 1.7 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 61.2 ล้านบาท รวม 7 ขบวน 28 คันราคาควรอยู่ในราว 1,713 ล้านบาท เมื่อรวมอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องซื้อจากซีเมนต์อีกราว 600 ล้านบาท งบประมาณรวมโครงการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้านี้ควรจะอยู่ในราว 2,500 ล้านบาท แต่กลับมีการตั้งงบดำเนินการไว้สูงกว่า 4,400 ล้านบาทยังไม่รวมการจัดซื้ออะไหล่สำรองอีก 400 ล้านที่การรถไฟฯจะจัดซื้อผนวกไปพร้อม
"คงต้องสอบถามไปยังกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเมื่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของรัฐอย่างโปร่งใส เหตุใดการรถไฟฯ กลับยังคงมีความพยายามจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าด้วยวิธีพิเศษไม่เปิดประมูลโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วนได้ ถือเป็นการดำเนินการที่สวนนโยบายรัฐบาลหรือไม่"
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/665771
ถอนหายใจแรงๆ องค์กรนี้มีคนเก่งๆ เหลืออยู่ไหม
อยากทราบเหมือนกันว่ารถไฟเส้นใหม่ๆ ที่จะลงทุน รางคู่ ความเร็วสูง และอื่นๆ ก็จะให้รัฐวิสาหกิจนี้บริหารด้วยหรือเปล่า
ถ้าใช่ สงสัยจะได้เอาเงินไปละลายน้ำเล่น