ผมเห็นข่าวนี้แต่เช้าแล้ว ยังแปลกใจอยู่ว่ารัฐบาลสับสนในคำพิพากษาศาลในครั้งนั้นหรือเปล่า เพราะในคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ คดีแดง อม.1/2553 นั้น ศาลมิได้มีคำพิพากษาให้บริษัทเอไอเอส(ADVANC) จ่ายเงินคืนให้กับ TOT แต่อย่างใด
ในคำพิพากษากล่าวผ่านเพื่อประกอบคดีเท่านั้น ในเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานนั้นมิชอบเพราะศาล
เชื่อว่าเป็นการใช้อำนาจนายกฯ ของอดีตนายก ทักษิณ แต่สุดท้ายศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ให้บริษัทเอไอเอสจ่ายเงินคืนให้กับ TOT
ในคำพิพากษานั้น มีแต่คำสั่งให้ทรัพย์ที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทบชินคอร์ป จำนวน สี่หมื่นกว่าล้านบาท ที่ศาลเห็นว่าเป็นทรัพย์ส่วนเพิ่มไม่ปกติตามกฎหมายปช. ตกเป็นของแผ่นดิน ตามหลักและอำนาจของกฎหมายปปช. ที่ศาลสามารถสั่งให้ทรัพย์ของนักการเมือง ตกเป็นของแผ่นดินได้ แม้จะไม่มีความผิดอาญาหรือยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการโกงหรือพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีคอรัปชั่นแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอเพียงแต่ศาล
เชื่อว่าหรือเห็นว่า ทรัพย์นั้นเพิ่มอย่างผิดปกติและศาลเชื่อเช่นนั้น ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว
การแก้สัญญาที่ว่าทำกันเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วคือราวพศ.2545-2546 จะฟ้องร้องเรียกชดเชยค่าเสียหายได้หรือเปล่า คงต้องดูกฎหมายแพ่ง และกฎหมายศาลปกครอง กฎหมายแพ่งมาตรา 448 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่า
ขาดอายุความ เมื่อ
พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น
สิบปีนับ แต่วันทำละเมิด และกฎหมายศาลปกครองมาตรา 51 บัญญัติว่า การฟ้องคดีสัญญาสัมปทานต้องฟ้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้อง
หากแก้สัญญากันเมื่อ 2545-2546 นั้นทำให้เกิดความเสียหาย คือเกิดการทำละเมิดก็เกิดเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ตามกฎหมายแพ่งก็
เท่ากับพ้นสิบปีนับแต่วันแก้สัญญาที่เกิดการละเมิดไปแล้ว และตามกฎหมายศาลปกครอง ก็เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้อง
รัฐบาล
รู้ว่ามีการละเมิดจากคำตัดสินของศาลฏีกา เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ไม่มีการฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้สั่งให้พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างเอไอเอสกับทีโอที
จนถึงบัดนี้ เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
แต่ทีโอทีร้องต่ออนุญาโตตุลกาลในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 29 พค 2554 อนุญาโตตุลาการให้เอไอเอสไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเพิ่มเติม เป็นเงิน 31,462.51 ล้านบาท ตามที่ทีโอทีเรียกร้อง และทีโอที มีเวลา 90 วันในการจะฟ้องศาลปกครองในประเด็นของอนุญาโตตุลาการนี้ แต่ก็ไม่ได้ฟ้อง แต่การดำเนินการของอนุญาโตตุลาการไม่ได้ทำให้อายุความในศาลแพ่งหรือศาลปกครองสะดุดหยุดลง การที่ทีโอทีไม่ฟ้องศาลแพ่งหรือศาลปกครองในเวลาที่กฎหมายกำหนด ย่อมทำให้หมดอายุความ
ปล.
- หนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ทำละเมิดก็คือ 26 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็น
สมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ (17ธค.2551-5 สค.2554) แบบนี้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบหรือไม่หากไม่สามารถฟ้องแพ่งอย่างที่รัฐบาลนี้อยากให้ฟ้อง แต่ฟ้องเพราะไม่ได้เพราะมันเลยอายุความแพ่งไป...แต่คิดว่าคงไม่ผิด เพราะที่ผ่านมาฝั่งคุณอภิสิทธิ์ทำไร ก็ไม่เห็นจะผิดเลย
- 90 วันนับแต่อนุญาโตตุลาการตัดสิน29 พค 2554 ก็คือ ช่วง สิงหาคม 2554 ทีโอทีมีโอกาศร้องศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฎว่ามีการฟ้องศาลปกครองในเรื่องนี้ ก็ยังเป็นสมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธ์ จึงขาดอายุความเช่นกัน
-จึงไม่อยากให้พูดเรื่องแบบนี้ โดยไม่ตรวจดูให้ถี่ถ้วนก่อนครับ มันจะกลายเป็นว่าแค่การสร้างกระแส ให้ประชาชนคิดว่าอีกฝ่ายผิดไปตลอดอยู่เรื่อย
-แต่หุ้น ADVANC ได้ข่าวว่าวันนี้ลงไป 3 เปอร์เซนต์แล้ว
-คดียึดทรัพย์นี้ จนถึงบัดนี้ ประชาชนหลายส่วนยังอาจจะยังมีข้อติดใจ ยังสงสัยในข้อคำวินิจฉัย ซึ่งน่าจะเป็นสิทธิของประชาชน แต่ด้วยเหตุที่เรายังต้องเคารพคำพิพากษา การวิจารณ์จึงต้องทำในเชิงวิชาการเท่านั้นครับ แต่ความสงสัยหรืออะไรที่มันติดค้างใจ ย่อมเป็นสิทธิของประชาชน...และอาจจะมีสักวันหนึ่งที่เรื่องเหล่านี้ จะได้กระจ่างแก่ประชาชนมากกว่านี้
۞ ۞::: อยากจะเรียกเงินหมื่นล้านคืนจากเอไอเอส แต่อาจลืมดูข้อกฎหมาย ::: ۞۞ ไทโรครับ
ในคำพิพากษากล่าวผ่านเพื่อประกอบคดีเท่านั้น ในเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานนั้นมิชอบเพราะศาลเชื่อว่าเป็นการใช้อำนาจนายกฯ ของอดีตนายก ทักษิณ แต่สุดท้ายศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ให้บริษัทเอไอเอสจ่ายเงินคืนให้กับ TOT
ในคำพิพากษานั้น มีแต่คำสั่งให้ทรัพย์ที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทบชินคอร์ป จำนวน สี่หมื่นกว่าล้านบาท ที่ศาลเห็นว่าเป็นทรัพย์ส่วนเพิ่มไม่ปกติตามกฎหมายปช. ตกเป็นของแผ่นดิน ตามหลักและอำนาจของกฎหมายปปช. ที่ศาลสามารถสั่งให้ทรัพย์ของนักการเมือง ตกเป็นของแผ่นดินได้ แม้จะไม่มีความผิดอาญาหรือยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการโกงหรือพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีคอรัปชั่นแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอเพียงแต่ศาลเชื่อว่าหรือเห็นว่า ทรัพย์นั้นเพิ่มอย่างผิดปกติและศาลเชื่อเช่นนั้น ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว
การแก้สัญญาที่ว่าทำกันเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วคือราวพศ.2545-2546 จะฟ้องร้องเรียกชดเชยค่าเสียหายได้หรือเปล่า คงต้องดูกฎหมายแพ่ง และกฎหมายศาลปกครอง กฎหมายแพ่งมาตรา 448 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความ เมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด และกฎหมายศาลปกครองมาตรา 51 บัญญัติว่า การฟ้องคดีสัญญาสัมปทานต้องฟ้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้อง
หากแก้สัญญากันเมื่อ 2545-2546 นั้นทำให้เกิดความเสียหาย คือเกิดการทำละเมิดก็เกิดเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ตามกฎหมายแพ่งก็เท่ากับพ้นสิบปีนับแต่วันแก้สัญญาที่เกิดการละเมิดไปแล้ว และตามกฎหมายศาลปกครอง ก็เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้อง
รัฐบาลรู้ว่ามีการละเมิดจากคำตัดสินของศาลฏีกา เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ไม่มีการฟ้องศาลแพ่งเพื่อให้สั่งให้พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างเอไอเอสกับทีโอที จนถึงบัดนี้ เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
แต่ทีโอทีร้องต่ออนุญาโตตุลกาลในเวลาต่อมา และเมื่อวันที่ 29 พค 2554 อนุญาโตตุลาการให้เอไอเอสไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือเพิ่มเติม เป็นเงิน 31,462.51 ล้านบาท ตามที่ทีโอทีเรียกร้อง และทีโอที มีเวลา 90 วันในการจะฟ้องศาลปกครองในประเด็นของอนุญาโตตุลาการนี้ แต่ก็ไม่ได้ฟ้อง แต่การดำเนินการของอนุญาโตตุลาการไม่ได้ทำให้อายุความในศาลแพ่งหรือศาลปกครองสะดุดหยุดลง การที่ทีโอทีไม่ฟ้องศาลแพ่งหรือศาลปกครองในเวลาที่กฎหมายกำหนด ย่อมทำให้หมดอายุความ
ปล.
- หนึ่งปีนับแต่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ทำละเมิดก็คือ 26 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นสมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ (17ธค.2551-5 สค.2554) แบบนี้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบหรือไม่หากไม่สามารถฟ้องแพ่งอย่างที่รัฐบาลนี้อยากให้ฟ้อง แต่ฟ้องเพราะไม่ได้เพราะมันเลยอายุความแพ่งไป...แต่คิดว่าคงไม่ผิด เพราะที่ผ่านมาฝั่งคุณอภิสิทธิ์ทำไร ก็ไม่เห็นจะผิดเลย
- 90 วันนับแต่อนุญาโตตุลาการตัดสิน29 พค 2554 ก็คือ ช่วง สิงหาคม 2554 ทีโอทีมีโอกาศร้องศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฎว่ามีการฟ้องศาลปกครองในเรื่องนี้ ก็ยังเป็นสมัยรัฐบาลคุณอภิสิทธ์ จึงขาดอายุความเช่นกัน
-จึงไม่อยากให้พูดเรื่องแบบนี้ โดยไม่ตรวจดูให้ถี่ถ้วนก่อนครับ มันจะกลายเป็นว่าแค่การสร้างกระแส ให้ประชาชนคิดว่าอีกฝ่ายผิดไปตลอดอยู่เรื่อย
-แต่หุ้น ADVANC ได้ข่าวว่าวันนี้ลงไป 3 เปอร์เซนต์แล้ว
-คดียึดทรัพย์นี้ จนถึงบัดนี้ ประชาชนหลายส่วนยังอาจจะยังมีข้อติดใจ ยังสงสัยในข้อคำวินิจฉัย ซึ่งน่าจะเป็นสิทธิของประชาชน แต่ด้วยเหตุที่เรายังต้องเคารพคำพิพากษา การวิจารณ์จึงต้องทำในเชิงวิชาการเท่านั้นครับ แต่ความสงสัยหรืออะไรที่มันติดค้างใจ ย่อมเป็นสิทธิของประชาชน...และอาจจะมีสักวันหนึ่งที่เรื่องเหล่านี้ จะได้กระจ่างแก่ประชาชนมากกว่านี้