เปลี่ยนแสงแดดเป็นเงิน
กิจการอบรมการติดตั้งก็พลอยมีหน้ามีตา บางแห่งเปิดอบรม บุคคลทั่วไปที่ไม่คิดเป็นช่าง เพื่อมีความรู้ไว้ต่อรอง ว่าจ้างช่างมาติดตั้งแผงบนหลังคา
ถึงราคาน้ำมันจะอยู่ในช่วงขาลง ก็ไม่ควรเพลินใช้ เพราะแท้จริง ปริมาณที่สูบได้นับวันจะลด รอวันหมด การประหยัดและแสวงหา พัฒนา พลังงานทางเลือกอื่นจึงจำเป็น
ในจำนวนทางเลือกหลากหลาย แสง แดด เป็นพลังงานที่ประเทศไทยมีเหลือเฟือ
ที่ผ่านมา ภาครัฐแสดงความสนใจชัดแจ้งพอสมควร ได้แก่ การสนับสนุนการติดตั้งแผงพลังงานแสงแดดบนหลังคาอาคาร บ้านเรือน (โซลาร์ รูฟ ทอป) และการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงแดด (โซลาร์ฟาร์ม) เพื่อขายไฟฟ้าให้กับกิจการไฟฟ้าของรัฐบาล
แม้ค่าติดตั้งจะสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนดี ภายในเวลายาวนาน โดยรับซื้อไฟฟ้าจากที่พักอาศัยขนาดกำลังผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ อัตรา 6.85 บาทต่อหน่วย นานถึง 25 ปี ทุก วันนี้ธุรกิจติดตั้งแผงพลังงานแสงแดดเฟื่องฟู จนเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน
กิจการอบรมการติดตั้งก็พลอยมีหน้ามีตา บางแห่งเปิดอบรม บุคคลทั่วไปที่ไม่คิดเป็นช่าง เพื่อมีความรู้ไว้ต่อรอง ว่าจ้างช่างมาติดตั้งแผงบนหลังคา
เชื่อว่า ในความคิดของคนไทย การดูดแสงแดด มาเป็นพลังงานไฟฟ้าน่าจะทำได้ดี เพราะมีสาดส่องมาให้เลี่ยงหลบ มากกว่าปีละ 300 วัน แต่ที่มาของความสนใจ ติดตั้งกันยกใหญ่ นอกจากนโยบายรัฐที่ให้ราคาดี ด้วยเวลายาวนาน ยังปรากฏว่า ตัวแผงที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ราคาต่ำลง ช่วยให้การคืนทุนเร็วขึ้น
ทันทีที่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ได้รับทราบเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทน จากที่ใช้ 12% ในปัจจุบัน ให้เพิ่มเป็น 30% ในปี 2579 โดยจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จาก 9% เป็น 15-20%
นอกจากนี้ กำลังขับเคลื่อนโครงการที่เปิดให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นความจำนงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดินหรือโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ หรือยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า โดยจะจ่ายไฟเข้าระบบภายในเดือน ธ.ค. 58 นี้
มีนโยบายเร่งรัดการรับซื้อโซลาร์ฟาร์ม เกินกว่าเป้าหมายอีก 800 เมกะวัตต์ ให้เกิดรูปธรรมเร็วขึ้น
ซึ่งจะทำให้ความต้องการแผงพลังงานและอุปกรณ์เกี่ยวข้องมีมากขึ้น จึงควรพิจารณาการส่งเสริมให้รอบด้าน และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการผลิตอุปกรณ์ โดยเฉพาะแผงรับพลังงานแสงแดดให้มีมากขึ้น และเปิดทางผู้ผลิตในประเทศให้แข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าได้
แผงที่นำเข้าด้วยราคาถูกในปัจจุบัน ควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด มิฉะนั้น การส่งเสริมการใช้พลังงานแสงแดดของไทย จะกลายเป็นการเร่งรัดอุดหนุนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากประเทศจีน และอื่น ๆ ไป
ทั้ง ๆ ที่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย มีหลายชนิดที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอม รับในตลาดต่างประเทศ
นโยบายการลงทุน จึงไม่ควรละเลยที่จะสร้างโอกาสกับผู้ประกอบการไทย ไม่ใช่จะให้กระทรวงศึกษาธิการ ผลิตนักศึกษาอาชีวะ เป็นช่างระดับ ปวช. ปวส. อย่างเดียว
ปัจจุบัน มีหลักเกณฑ์สากล ที่จะปิดกั้นสินค้าต่างประเทศไม่ได้ แต่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยังทำได้ โดยให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่จะนำเข้ามาจำหน่ายต้องได้มาตรฐานระดับโลก
การไม่วางเกณฑ์มาตรฐาน อาจทำให้เราได้สินค้าราคาถูกก็จริงแต่ไม่มีใครรับประกันว่า อนาคตอีก 5–10 ปีข้างหน้า จะยัง
มีคุณภาพใช้งานได้ต่อไปหรือไม่
แม้ว่าเราจะมีแสงแดดเหลือเฟือ แต่การตั้งแผงดูดเอามาผลิตไฟฟ้า มีประเด็นที่ต้องคิดให้รอบคอบ เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่ในประเทศให้มากที่สุด
ไม่ใช่ทำให้ผู้ผลิตจากนอกประเทศรวยเพิ่มขึ้น แล้วทิ้งภาระในอนาคตให้เรา.
http://www.dailynews.co.th/article/347875
เปลี่ยนแสงแดด เป็นเงิน (โซลาร์ รูฟ ทอป)
กิจการอบรมการติดตั้งก็พลอยมีหน้ามีตา บางแห่งเปิดอบรม บุคคลทั่วไปที่ไม่คิดเป็นช่าง เพื่อมีความรู้ไว้ต่อรอง ว่าจ้างช่างมาติดตั้งแผงบนหลังคา
ถึงราคาน้ำมันจะอยู่ในช่วงขาลง ก็ไม่ควรเพลินใช้ เพราะแท้จริง ปริมาณที่สูบได้นับวันจะลด รอวันหมด การประหยัดและแสวงหา พัฒนา พลังงานทางเลือกอื่นจึงจำเป็น
ในจำนวนทางเลือกหลากหลาย แสง แดด เป็นพลังงานที่ประเทศไทยมีเหลือเฟือ
ที่ผ่านมา ภาครัฐแสดงความสนใจชัดแจ้งพอสมควร ได้แก่ การสนับสนุนการติดตั้งแผงพลังงานแสงแดดบนหลังคาอาคาร บ้านเรือน (โซลาร์ รูฟ ทอป) และการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงแดด (โซลาร์ฟาร์ม) เพื่อขายไฟฟ้าให้กับกิจการไฟฟ้าของรัฐบาล
แม้ค่าติดตั้งจะสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนดี ภายในเวลายาวนาน โดยรับซื้อไฟฟ้าจากที่พักอาศัยขนาดกำลังผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ อัตรา 6.85 บาทต่อหน่วย นานถึง 25 ปี ทุก วันนี้ธุรกิจติดตั้งแผงพลังงานแสงแดดเฟื่องฟู จนเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน
กิจการอบรมการติดตั้งก็พลอยมีหน้ามีตา บางแห่งเปิดอบรม บุคคลทั่วไปที่ไม่คิดเป็นช่าง เพื่อมีความรู้ไว้ต่อรอง ว่าจ้างช่างมาติดตั้งแผงบนหลังคา
เชื่อว่า ในความคิดของคนไทย การดูดแสงแดด มาเป็นพลังงานไฟฟ้าน่าจะทำได้ดี เพราะมีสาดส่องมาให้เลี่ยงหลบ มากกว่าปีละ 300 วัน แต่ที่มาของความสนใจ ติดตั้งกันยกใหญ่ นอกจากนโยบายรัฐที่ให้ราคาดี ด้วยเวลายาวนาน ยังปรากฏว่า ตัวแผงที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ราคาต่ำลง ช่วยให้การคืนทุนเร็วขึ้น
ทันทีที่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ได้รับทราบเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทน จากที่ใช้ 12% ในปัจจุบัน ให้เพิ่มเป็น 30% ในปี 2579 โดยจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จาก 9% เป็น 15-20%
นอกจากนี้ กำลังขับเคลื่อนโครงการที่เปิดให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นความจำนงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดินหรือโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ หรือยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า โดยจะจ่ายไฟเข้าระบบภายในเดือน ธ.ค. 58 นี้
มีนโยบายเร่งรัดการรับซื้อโซลาร์ฟาร์ม เกินกว่าเป้าหมายอีก 800 เมกะวัตต์ ให้เกิดรูปธรรมเร็วขึ้น
ซึ่งจะทำให้ความต้องการแผงพลังงานและอุปกรณ์เกี่ยวข้องมีมากขึ้น จึงควรพิจารณาการส่งเสริมให้รอบด้าน และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการผลิตอุปกรณ์ โดยเฉพาะแผงรับพลังงานแสงแดดให้มีมากขึ้น และเปิดทางผู้ผลิตในประเทศให้แข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าได้
แผงที่นำเข้าด้วยราคาถูกในปัจจุบัน ควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด มิฉะนั้น การส่งเสริมการใช้พลังงานแสงแดดของไทย จะกลายเป็นการเร่งรัดอุดหนุนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากประเทศจีน และอื่น ๆ ไป
ทั้ง ๆ ที่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย มีหลายชนิดที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอม รับในตลาดต่างประเทศ
นโยบายการลงทุน จึงไม่ควรละเลยที่จะสร้างโอกาสกับผู้ประกอบการไทย ไม่ใช่จะให้กระทรวงศึกษาธิการ ผลิตนักศึกษาอาชีวะ เป็นช่างระดับ ปวช. ปวส. อย่างเดียว
ปัจจุบัน มีหลักเกณฑ์สากล ที่จะปิดกั้นสินค้าต่างประเทศไม่ได้ แต่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยังทำได้ โดยให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่จะนำเข้ามาจำหน่ายต้องได้มาตรฐานระดับโลก
การไม่วางเกณฑ์มาตรฐาน อาจทำให้เราได้สินค้าราคาถูกก็จริงแต่ไม่มีใครรับประกันว่า อนาคตอีก 5–10 ปีข้างหน้า จะยัง
มีคุณภาพใช้งานได้ต่อไปหรือไม่
แม้ว่าเราจะมีแสงแดดเหลือเฟือ แต่การตั้งแผงดูดเอามาผลิตไฟฟ้า มีประเด็นที่ต้องคิดให้รอบคอบ เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่ในประเทศให้มากที่สุด
ไม่ใช่ทำให้ผู้ผลิตจากนอกประเทศรวยเพิ่มขึ้น แล้วทิ้งภาระในอนาคตให้เรา.
http://www.dailynews.co.th/article/347875