ผมแลกแก้วจากการสะสมสแตมป์ห้างดังมา ตัวแก้วขนาด 80 ซีซี ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะกับการใส่กาแฟเอสเพรสโซ่ (ประมาณ 2 ออนซ์) ผมเคยเห็นแก้วแบบนนี้ครั้งแรกในคู่มือแลกแต้มสะสมบัตรเครดิตแต่ราคาแต้มแพงเอาเรื่องก็เลยพักไว้จวบจนมีแคมเปญนี้จากห้างมา
สรรพคุณที่เขาว่าไว้คือถ้าใส่น้ำร้อนจะจับแก้วไม่ร้อน ใส่น้ำเย็นหยดน้ำไม่เกาะ อื่นๆ ก็ทนทานต่อการกระแทกขีดข่วนเพราะเป็นโบรอนซิลิเกต แต่ผมสนใจเรื่องอุณหภูมิมากว่าเพราะต้องเจอกับชีวีตประจำวันเป็นหลัก ก็เลยเอามาทดสอบดู
วิธีการคือผมจะใช้แก้วนี้เทียบกับแก้วทั่วไปที่ขนาดใกล้เคียงกัน โดยต้มน้ำร้อนและเทในแก้วทั้งคู่ จากนั้นก็ทิ้งไว้ 30 วินาที (นานกว่านั้นกลัวความร้อนตก เพราะปริมาณน้ำในแก้วดูแล้ว แถวๆ 60 ซีซี) แล้วใช้กล้องความร้อนจับ ควบคู่กับภาพถ่ายทั่วไป จากนั้นก็เทน้ำออกทิ้งให้เย็นตัวแล้วใช้น้ำแข็ง 3 ก้อนใส่แก้วแต่ละใบรินน้ำให้ใกล้เคียงกัน แล้ววัดเหมือนเดิม
ทดสอบกับน้ำร้อน
เมื่อเทียบกัน ภาพถ่ายธรรมดาดูเหมือนหยดน้ำเกาะในแก้วจะเยอะกว่า แต่ดูเน้นขึ้นผมว่ามันก็พอๆ กัน ดังนั้นผมสรุปว่าไม่มีความต่างของหยอดน้ำที่เกาะในแก้ว
ถ้าใช้กล้องความร้อนจับจะเห็นความต่างของอุณหภูมิผิวนอกแก้วอย่างชัดเจน
ดูให้ชัดขึ้นว่าต่างกันขนาดไหนก็พบว่า ผิวนอกของแก้ว 2 ชั้นจะเย็นกว่า เกือบๆ 30 องศาเซลเซียส ขณะที่น้ำภายในแก้วทั้งคู่ก็ร้อนใกล้เคียงกันที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียส โดยความร้อนผิวนอกของแก้วธรรมดานั้นใกล้เคียงกับน้ำร้อนเลยทีเดียว (ประมาณ 74 กับ 78 องศาเซลเซียส) ขณะที่แก้วสองชั้นนั้นอุ่นๆ เพียง 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิผิวแก้วธรรมดาที่ 74 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิผิวแก้ว 2 ชั้นที่ 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิน้ำในแก้วธรรมดา 78 และ 2 ชั้น 80 ซึ่งถือว่าไกล้เคียงกัน
ทดสอบกับน้ำเย็น
ดูจากกล้องธรรมดาจะเห็นว่าที่เวลา 30 วินาทีหลังใส่น้ำจะมีหยดน้ำเริ่มเกาะแก้วธรรมดาจนเป็นฝ้า แต่แก้ว 2 ชั้นยังใส่
เปรียบความต่างของแก้วทั้งสองด้วยกล้องจับความร้อน จะเห็นความต่างอย่างชัดเจน
เมื่อใช้กล้องความร้อนจับ จะเห็นว่าผิวนอกของแก้วธรรมดาจะเย็นอยู่ที่ 14 องศาเซลเซียส ขณะที่แก้ว 2 ชั้นจะใกล้เคียงอุณหภูมิห้องคือ 25 องศาเซลเซียส
แก้วธรรมดา
แก้ว 2 ชั้น
อุณหภูมิภายในแก้วทั้งสอง นั้นใกล้เคียงกัน แต่บังเอิญจุดที่วัดนั้น แก้วธรรมดาวัดที่ผิวน้ำ แต่ของแก้ว 2 ชั้นไปเจอตรงน้ำแข็งค่าเลยต่างกัน แต่ให้ดูที่สีครับ โดยอุณหภูมิน้ำในแก้วอยู่ที่ประมาณ 7 องศาเซลเซียส
แก้วธรรมดา
แก้ว 2 ชั้น
สรุปว่า แก้ว 2 ชั้นจับถือไม่ร้อนและเย็น (มาก) ไม่มีหยดน้ำเย็นเกาะผิวนอกครับ
ทดสอบอุณหภูมิการใช้งานแก้วสองชั้นว่าต่างกับแก้วธรรมดาแค่ไหน
สรรพคุณที่เขาว่าไว้คือถ้าใส่น้ำร้อนจะจับแก้วไม่ร้อน ใส่น้ำเย็นหยดน้ำไม่เกาะ อื่นๆ ก็ทนทานต่อการกระแทกขีดข่วนเพราะเป็นโบรอนซิลิเกต แต่ผมสนใจเรื่องอุณหภูมิมากว่าเพราะต้องเจอกับชีวีตประจำวันเป็นหลัก ก็เลยเอามาทดสอบดู
วิธีการคือผมจะใช้แก้วนี้เทียบกับแก้วทั่วไปที่ขนาดใกล้เคียงกัน โดยต้มน้ำร้อนและเทในแก้วทั้งคู่ จากนั้นก็ทิ้งไว้ 30 วินาที (นานกว่านั้นกลัวความร้อนตก เพราะปริมาณน้ำในแก้วดูแล้ว แถวๆ 60 ซีซี) แล้วใช้กล้องความร้อนจับ ควบคู่กับภาพถ่ายทั่วไป จากนั้นก็เทน้ำออกทิ้งให้เย็นตัวแล้วใช้น้ำแข็ง 3 ก้อนใส่แก้วแต่ละใบรินน้ำให้ใกล้เคียงกัน แล้ววัดเหมือนเดิม
ทดสอบกับน้ำร้อน
เมื่อเทียบกัน ภาพถ่ายธรรมดาดูเหมือนหยดน้ำเกาะในแก้วจะเยอะกว่า แต่ดูเน้นขึ้นผมว่ามันก็พอๆ กัน ดังนั้นผมสรุปว่าไม่มีความต่างของหยอดน้ำที่เกาะในแก้ว
ถ้าใช้กล้องความร้อนจับจะเห็นความต่างของอุณหภูมิผิวนอกแก้วอย่างชัดเจน
ดูให้ชัดขึ้นว่าต่างกันขนาดไหนก็พบว่า ผิวนอกของแก้ว 2 ชั้นจะเย็นกว่า เกือบๆ 30 องศาเซลเซียส ขณะที่น้ำภายในแก้วทั้งคู่ก็ร้อนใกล้เคียงกันที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียส โดยความร้อนผิวนอกของแก้วธรรมดานั้นใกล้เคียงกับน้ำร้อนเลยทีเดียว (ประมาณ 74 กับ 78 องศาเซลเซียส) ขณะที่แก้วสองชั้นนั้นอุ่นๆ เพียง 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิผิวแก้วธรรมดาที่ 74 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิผิวแก้ว 2 ชั้นที่ 45 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิน้ำในแก้วธรรมดา 78 และ 2 ชั้น 80 ซึ่งถือว่าไกล้เคียงกัน
ทดสอบกับน้ำเย็น
ดูจากกล้องธรรมดาจะเห็นว่าที่เวลา 30 วินาทีหลังใส่น้ำจะมีหยดน้ำเริ่มเกาะแก้วธรรมดาจนเป็นฝ้า แต่แก้ว 2 ชั้นยังใส่
เปรียบความต่างของแก้วทั้งสองด้วยกล้องจับความร้อน จะเห็นความต่างอย่างชัดเจน
เมื่อใช้กล้องความร้อนจับ จะเห็นว่าผิวนอกของแก้วธรรมดาจะเย็นอยู่ที่ 14 องศาเซลเซียส ขณะที่แก้ว 2 ชั้นจะใกล้เคียงอุณหภูมิห้องคือ 25 องศาเซลเซียส
แก้วธรรมดา
แก้ว 2 ชั้น
อุณหภูมิภายในแก้วทั้งสอง นั้นใกล้เคียงกัน แต่บังเอิญจุดที่วัดนั้น แก้วธรรมดาวัดที่ผิวน้ำ แต่ของแก้ว 2 ชั้นไปเจอตรงน้ำแข็งค่าเลยต่างกัน แต่ให้ดูที่สีครับ โดยอุณหภูมิน้ำในแก้วอยู่ที่ประมาณ 7 องศาเซลเซียส
แก้วธรรมดา
แก้ว 2 ชั้น
สรุปว่า แก้ว 2 ชั้นจับถือไม่ร้อนและเย็น (มาก) ไม่มีหยดน้ำเย็นเกาะผิวนอกครับ