ทุกครั้งที่เกิดเหตุขึ้นในกรุงเทพ ฯ กล้องซีซีทีวีของ กทม. จะเป็นตัวช่วยสำคัญติดตามตัวผู้ก่อเหตุหรือบันทึกเหตุการณ์นั้น ๆ เช่นเดียวเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ ขณะที่ด้าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ระบุว่า การที่ไม่สามารถติดตามตัวมือวางระเบิดได้ เกิดจากกล้องวงจรปิดของ กทม. ส่วนหนึ่งเสียใช้งานไม่ได้ จนเป็นที่วิพากวิจารณ์
นายไตรภพ ขันตยภรณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร กำกับดูแลกล้องซีซีทีวี เผยว่า กล้องที่เสียส่วนใหญ่เกิดจากเสื่อมตามสภาพ อุบัติเหตุรถชน ไฟกระชากอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ถูกขโมย อย่างไรก็ตามได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทุก 15 วัน เพื่อให้กล้องงานได้ทุกเวลา ปัจจุบัน กทม.ติดตั้งกล้องซีซีทีวีทั่วกรุงเทพ ประมาณ 58,749 กล้อง เป็นกล้องที่ติดตั้งและใช้งานได้ประมาณ 48,234 กล้อง โดยมีสำนักการศึกษา ,โครงการ BTS และ MRT ,หน่วยงานอื่น ๆ ของ กทม. เป็นผู้ดูแลรวม 5,984 กล้อง และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการจราจรและขนส่ง 42,250 กล้อง มีกล้องที่อยู่ระหว่างติดตั้งตามงบประมาณ ปี 2557 11,515 กล้อง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2559 ผู้สื่อข่าวถามว่ากล้องที่เสียมีอยู่กี่กล้อง ซึ่งได้รับคำตอบว่าไม่สามารถระบุจำนวนกล้องที่เสียได้แน่ชัด ยืนยันไม่มีการติดตั้งกล้องหลอกและไม่ขอเปิดเผยเรื่องงบประมาณ ข้อมูลส่วนหนึ่งจากบริษัทที่รับติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่ศูนย์ควบคุมระบบจราจร กทม .ระบุพบกล้องวงจรปิดเสียแทบทุกวัน
ถูกตั้งข้อสังเกต ว่าทำไมกล้องซีซีทีวีของ กทม.บางจุด บันทึกภาพแล้วไม่มีความชัดเจน ประเด็นนี้ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กล้องซีซีทีวี ที่ทาง กทม. นำมาติดตั้งส่วนใหญ่จะจับภาพมุมกว้าง ซึ่งต่างจากกล้องของกองบังคับการจราจรหรือกล้องตรวจจับความเร็วของตำรวจทางหลวง ที่จับภาพหมายเลขทะเบียนหรือรถผู้กระทำผิดได้อย่างชัดเจน โดยกล้องของตำรวจเป็นระบบบันทึกภาพเจาะจงมีความละเอียดสูง
นอกจากนี้ภาพจากกล้องซีซีทีวี ของ กทม. ก็ถูกนำมาเปรียบเทียบกับกล้องซีวีทีวีที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีความคมชัดของภาพที่ต่างกัน ตามภาพที่ปรากฏ จนถูกตั้งคำถามว่ากล้องซีซีทีวีของ กทม. มีประสิทธิภาพหรือไม่ ตามทางแยก หน้าปากซอย หรือแม้กระทั่งภายในชุมชนต่าง ๆ และพื้นที่จุดเสี่ยง กล้องซีซีทีวีที่นำไปติดตั้ง มีทั้งระบบดิจิตอลและอนาล็อก ซึ่งติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ภายหลังเกิดเหตุระเบิดป่วนเมือง เมื่อ 31 ธ.ค. 2549 โดยกล้องซีซีทีวีทั้งหมดมีความละเอียดสูง 2 ล้าน -5 ล้าน พิกเซล ซึ่งจะทำให้ภาพมีความคมชัด ส่วนภาพจะชัดเจนหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับมุมกล้อง
CCTV กทม.
นายไตรภพ ขันตยภรณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร กำกับดูแลกล้องซีซีทีวี เผยว่า กล้องที่เสียส่วนใหญ่เกิดจากเสื่อมตามสภาพ อุบัติเหตุรถชน ไฟกระชากอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ถูกขโมย อย่างไรก็ตามได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทุก 15 วัน เพื่อให้กล้องงานได้ทุกเวลา ปัจจุบัน กทม.ติดตั้งกล้องซีซีทีวีทั่วกรุงเทพ ประมาณ 58,749 กล้อง เป็นกล้องที่ติดตั้งและใช้งานได้ประมาณ 48,234 กล้อง โดยมีสำนักการศึกษา ,โครงการ BTS และ MRT ,หน่วยงานอื่น ๆ ของ กทม. เป็นผู้ดูแลรวม 5,984 กล้อง และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการจราจรและขนส่ง 42,250 กล้อง มีกล้องที่อยู่ระหว่างติดตั้งตามงบประมาณ ปี 2557 11,515 กล้อง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2559 ผู้สื่อข่าวถามว่ากล้องที่เสียมีอยู่กี่กล้อง ซึ่งได้รับคำตอบว่าไม่สามารถระบุจำนวนกล้องที่เสียได้แน่ชัด ยืนยันไม่มีการติดตั้งกล้องหลอกและไม่ขอเปิดเผยเรื่องงบประมาณ ข้อมูลส่วนหนึ่งจากบริษัทที่รับติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่ศูนย์ควบคุมระบบจราจร กทม .ระบุพบกล้องวงจรปิดเสียแทบทุกวัน
ถูกตั้งข้อสังเกต ว่าทำไมกล้องซีซีทีวีของ กทม.บางจุด บันทึกภาพแล้วไม่มีความชัดเจน ประเด็นนี้ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กล้องซีซีทีวี ที่ทาง กทม. นำมาติดตั้งส่วนใหญ่จะจับภาพมุมกว้าง ซึ่งต่างจากกล้องของกองบังคับการจราจรหรือกล้องตรวจจับความเร็วของตำรวจทางหลวง ที่จับภาพหมายเลขทะเบียนหรือรถผู้กระทำผิดได้อย่างชัดเจน โดยกล้องของตำรวจเป็นระบบบันทึกภาพเจาะจงมีความละเอียดสูง
นอกจากนี้ภาพจากกล้องซีซีทีวี ของ กทม. ก็ถูกนำมาเปรียบเทียบกับกล้องซีวีทีวีที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีความคมชัดของภาพที่ต่างกัน ตามภาพที่ปรากฏ จนถูกตั้งคำถามว่ากล้องซีซีทีวีของ กทม. มีประสิทธิภาพหรือไม่ ตามทางแยก หน้าปากซอย หรือแม้กระทั่งภายในชุมชนต่าง ๆ และพื้นที่จุดเสี่ยง กล้องซีซีทีวีที่นำไปติดตั้ง มีทั้งระบบดิจิตอลและอนาล็อก ซึ่งติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ภายหลังเกิดเหตุระเบิดป่วนเมือง เมื่อ 31 ธ.ค. 2549 โดยกล้องซีซีทีวีทั้งหมดมีความละเอียดสูง 2 ล้าน -5 ล้าน พิกเซล ซึ่งจะทำให้ภาพมีความคมชัด ส่วนภาพจะชัดเจนหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับมุมกล้อง