จากข่าวที่ กทม. ให้กับสื่อออกมาเกี่ยวกับกล้องวงจรปิด CCTV ของกรุงเทพมหานคร
กทม.เผยสถิติผู้ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ปี 57 เกือบ 7,000 ครั้ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กรุงเทพฯ 30 ม.ค.- กทม.ติดตั้งกล้องซีซีทีวีทั่วกรุงและใช้งานได้เกือบ 50,000 กล้อง โดยปีที่ผ่านมามีสถิติของดูภาพจากกล้องซีซีทีวีเกือบ 7,000 ครั้ง โดยเปิดให้ประชาชนขอดูภาพและสำเนาบันทึกภาพได้ฟรี ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า)
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า ปัจจุบัน กทม.ดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ไปแล้ว 58,614 กล้อง สามารถใช้งานได้ จำนวน 47,063 กล้อง ส่วนที่เหลือกำลังอยู่ในขั้นตอนเชื่อมสัญญาณและรับมอบ โดยในปี 2558 จะดำเนินการติดตั้งเพิ่มอีก จำนวน 11,546 กล้อง คาดแล้วเสร็จปลายปี 2559 ส่วนเครือข่ายความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านจราจร ด้านป้องกันอาชญากรรม ได้ทำการเชื่อมโยงสัญญาณกล้องวงจรโทรทัศน์ปิด CCTV จำนวน 14,103 กล้อง ไปยังสำนักงานเขต 50 เขต สถานีตำรวจนครบาล 88 แห่ง ทั้งในสถานศึกษา จำนวน 4,022 กล้อง หน่วยงานต่างๆ ของ กทม.จำนวน 623 กล้อง และโครงการระบบขนส่ง BTS และ BRT จำนวน 1,339 กล้อง ในอนาคตจะขยายเชื่อมโยงสัญญาณให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกหน่วยงาน
สำหรับสถิติการขอดูภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV โดยประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อประกอบในคดีความต่างๆ ตั้งแต่เดือน ม.ค. – ธ.ค. 57 ดังนี้ เดือน ม.ค. 470 ครั้ง เดือน ก.พ. 420 ครั้ง เดือน มี.ค. 584 ครั้ง เดือน เม.ย. 516 ครั้ง เดือน พ.ค. 529 ครั้ง เดือน มิ.ย. 554 ครั้ง เดือน ก.ค. 588 ครั้ง เดือน ส.ค. 541 ครั้ง เดือน ก.ย. 751 ครั้ง เดือน ต.ค. 635 ครั้ง เดือน พ.ย. 694 ครั้ง และเดือน ธ.ค. 707 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 6,989 ครั้ง
ทั้งนี้ หากประชาชนมีความประสงค์ขอดูภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV สามารถติดต่อขอดูภาพได้ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) โดยผู้เสียหายหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาตรวจสอบภาพเหตุการณ์ก่อนได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะบันทึกภาพข้อมูลเหตุการณ์ช่วงที่เกิดเหตุไว้ก่อน เพื่อป้องกันการลบทับของข้อมูลหากเวลาล่วงเลยไป โดยเจ้าหน้าที่จะจดรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว บัตรประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ที่ตรวจสอบภาพเหตุการณ์ หากผู้เสียหายหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต้องการสำเนาบันทึกภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV จะต้องมีหนังสือเป็นทางการจากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เกิดเหตุ โดยในหนังสือจะต้องระบุเหตุการณ์ สถานที่ วันเวลาที่เกิดเหตุ หมายเลขกล้องบริเวณจุดเกิดเหตุ และรายชื่อบุคคลที่จะมารับหลักฐานนั้น พร้อมทั้งเตรียมแผ่น CD/DVD มาบันทึกภาพ จำนวน 2 ชุด ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น.-สำนักข่าวไทย
http://www.tnamcot.com/2015/01/30/%EF%BB%BF%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/
ขอแชร์ประสบการณ์โดยตรง ที่ทำให้ผมถึงกับ"ช้อค"เกี่ยวกับโครงการของ กทม. นะครับ
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ข้อมูลที่ได้มานี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของผมเอง เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา เนื่องจากระหว่างขับรถ ผมโดนรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแล้วบิดหนีไป บนถนนสายหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ได้ทัน พอมาดูบริเวณที่เกิดเหตุอีกครั้งเพื่อหาข้อมูลไปลงบันทึกประจำวัน และแจ้งประกัน พบว่าใกล้ที่เกิดเหตุมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของกรุงเทพมหานครติดตั้งอยู่บนสะพานลอย และมีมุมมองที่ส่องตรงลงมายังจุดเกิดเหตุพอดี เลยไปขอภาพที่ศูนย์กล้องวงจรปิด กทม. เสาชิงช้า แต่ก็ต้องพบกับเรื่องเซอร์ไพรส์!!! จากเงินภาษีของพวกเราเอง
และที่สำคัญ ก่อนจะไปขอดูภาพ ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งดังนี้
1.) ต้องจำรหัสกล้องให้ได้ เพราะที่ศูนย์ควบคุม ชื่อระบุจุดติดตั้งกล้องในระบบอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างที่ผมเคยไปดู ชื่อใน Server เขียนว่า "ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าแยกเสนา" และมุมกล้องที่ปรากฏคือ ภาพบน "ถนนรัชดาภิเษก มุ่งหน้าแยกรัชดา-ลาดพร้าว" ครับ
2.) ถ้าเป็นกล้องรหัส V ไม่ต้องไปติดต่อนะครับ เพราะเจ้าหน้าที่แจ้งผมมาว่า กล้องรหัสนี้ไม่ได้บันทึก มีไว้สังเกตการอย่างเดียว เราจะมาดูรายละเอียดกันด้านล่างนะครับ
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดของกรุงเทพมหานคร ที่ติดตั้งอยู่ตามที่สาธารณะ จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน โดยกล้องทุกตัวจะมีรหัสประจำกล้องระบุไว้ในรูปแบบตามตัวอย่างนี้
TF2-xx-YYY-zz
สามารถถอดรหัสได้ดังนี้
TF2 คือรหัสโครงการที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดตัวนี้ (รหัส Server) เช่น TF2 คือกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในโครงการเฟส 2
xx คือรหัสพื้นที่ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัว เช่น JJ คือพื้นที่เขตจตุจักร / HK คือพื้นที่เขตห้วยขวาง เป็นต้น
YYY คือประเภทของกล้องวงจรปิดตัวนั้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท รายละเอียดจะอยู่ด้านล่าง
zz คือหมายเลขประจำตัวกล้อง เป็นตัวเลข 2 หลัง
ทีนี้เรามาดูประเภทของกล้องวงจรปิดที่มีการติดตั้งกัน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท
ประเภทแรก เป็นกล้องที่มีการบันทึกเหตุการณ์ สามารถเรียกดูย้อนหลังได้ประมาณ 15 วัน จะมีรหัส TF2-xx-SA-zz (กล้องรหัส SA) ส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ตามสี่แยกใหญ่ๆ หรือพื้นที่ที่เปลี่ยวระดับ Extreme เกิดเหตุขึ้นบ่อยๆ หากต้องการขอดูภาพสามารถขอดูภาพย้อนหลังได้ภายใน 15 วัน ที่ศูนย์ CCTV ศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า ถนนดินสอ บริเวณที่ติดตั้งกล้องรหัส SA สามารถตรวจสอบได้จากที่นี่ >
http://203.155.220.217/dotat/JOB/cctv%2050.pdf
ประเภทที่สอง เป็นกล้องที่ไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น มีไว้สำหรับตรวจตราการจราจรเท่านั้น จะมีรหัส TF2-xx-Vyy-zz (กล้องรหัส V) จะติดตั้งโดยทั่วไป และมีจำนวนมากกว่ากล้องประเภทแรก ไม่สามารถเรียกดูภาพย้อนหลังได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้
อย่างเหตุการณ์ที่ผมเจอ กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณนั้น เป็นกล้องรหัส V ซึ่งไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ เจอแบบนี้เข้าไป เสียเงินเคลมฟรีสิครัชท่าน!!! หากคุณผู้อ่านไปประสบเหตุภายในรัศมีการตรวจจับของกล้องรหัส V หากไม่มีกล้องของหน่วยงานเอกชนใกล้เคียง ขอให้ท่านทำใจได้เลยว่า ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลยครับ เพราะไม่สามารถนำภาพจากกล้องรหัส V มาใช้ประโยชน์ได้เลยครับ
วิธีการสังเกต โดยจุดสังเกตุจะอยู่บริเวณโคนเสาที่ติดตั้งกล้อง CCTV มีป้ายรหัสติดไว้ ดังนี้
กล้อง CCTV รหัส SA ที่มีการบันทึกภาพไว้ใน Server
กล้อง CCTV รหัส V ที่ไม่มีการบันทึกภาพ
กล้อง CCTV ของ กทม. ใช้ได้จริงหรือไม่?
กทม.เผยสถิติผู้ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ปี 57 เกือบ 7,000 ครั้ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอแชร์ประสบการณ์โดยตรง ที่ทำให้ผมถึงกับ"ช้อค"เกี่ยวกับโครงการของ กทม. นะครับ
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ข้อมูลที่ได้มานี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของผมเอง เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา เนื่องจากระหว่างขับรถ ผมโดนรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนแล้วบิดหนีไป บนถนนสายหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ได้ทัน พอมาดูบริเวณที่เกิดเหตุอีกครั้งเพื่อหาข้อมูลไปลงบันทึกประจำวัน และแจ้งประกัน พบว่าใกล้ที่เกิดเหตุมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของกรุงเทพมหานครติดตั้งอยู่บนสะพานลอย และมีมุมมองที่ส่องตรงลงมายังจุดเกิดเหตุพอดี เลยไปขอภาพที่ศูนย์กล้องวงจรปิด กทม. เสาชิงช้า แต่ก็ต้องพบกับเรื่องเซอร์ไพรส์!!! จากเงินภาษีของพวกเราเอง
และที่สำคัญ ก่อนจะไปขอดูภาพ ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งดังนี้
1.) ต้องจำรหัสกล้องให้ได้ เพราะที่ศูนย์ควบคุม ชื่อระบุจุดติดตั้งกล้องในระบบอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อย่างที่ผมเคยไปดู ชื่อใน Server เขียนว่า "ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าแยกเสนา" และมุมกล้องที่ปรากฏคือ ภาพบน "ถนนรัชดาภิเษก มุ่งหน้าแยกรัชดา-ลาดพร้าว" ครับ
2.) ถ้าเป็นกล้องรหัส V ไม่ต้องไปติดต่อนะครับ เพราะเจ้าหน้าที่แจ้งผมมาว่า กล้องรหัสนี้ไม่ได้บันทึก มีไว้สังเกตการอย่างเดียว เราจะมาดูรายละเอียดกันด้านล่างนะครับ
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดของกรุงเทพมหานคร ที่ติดตั้งอยู่ตามที่สาธารณะ จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน โดยกล้องทุกตัวจะมีรหัสประจำกล้องระบุไว้ในรูปแบบตามตัวอย่างนี้
TF2-xx-YYY-zz
สามารถถอดรหัสได้ดังนี้
TF2 คือรหัสโครงการที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดตัวนี้ (รหัส Server) เช่น TF2 คือกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในโครงการเฟส 2
xx คือรหัสพื้นที่ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัว เช่น JJ คือพื้นที่เขตจตุจักร / HK คือพื้นที่เขตห้วยขวาง เป็นต้น
YYY คือประเภทของกล้องวงจรปิดตัวนั้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท รายละเอียดจะอยู่ด้านล่าง
zz คือหมายเลขประจำตัวกล้อง เป็นตัวเลข 2 หลัง
ทีนี้เรามาดูประเภทของกล้องวงจรปิดที่มีการติดตั้งกัน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท
ประเภทแรก เป็นกล้องที่มีการบันทึกเหตุการณ์ สามารถเรียกดูย้อนหลังได้ประมาณ 15 วัน จะมีรหัส TF2-xx-SA-zz (กล้องรหัส SA) ส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ตามสี่แยกใหญ่ๆ หรือพื้นที่ที่เปลี่ยวระดับ Extreme เกิดเหตุขึ้นบ่อยๆ หากต้องการขอดูภาพสามารถขอดูภาพย้อนหลังได้ภายใน 15 วัน ที่ศูนย์ CCTV ศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า ถนนดินสอ บริเวณที่ติดตั้งกล้องรหัส SA สามารถตรวจสอบได้จากที่นี่ > http://203.155.220.217/dotat/JOB/cctv%2050.pdf
ประเภทที่สอง เป็นกล้องที่ไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น มีไว้สำหรับตรวจตราการจราจรเท่านั้น จะมีรหัส TF2-xx-Vyy-zz (กล้องรหัส V) จะติดตั้งโดยทั่วไป และมีจำนวนมากกว่ากล้องประเภทแรก ไม่สามารถเรียกดูภาพย้อนหลังได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้
อย่างเหตุการณ์ที่ผมเจอ กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณนั้น เป็นกล้องรหัส V ซึ่งไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ เจอแบบนี้เข้าไป เสียเงินเคลมฟรีสิครัชท่าน!!! หากคุณผู้อ่านไปประสบเหตุภายในรัศมีการตรวจจับของกล้องรหัส V หากไม่มีกล้องของหน่วยงานเอกชนใกล้เคียง ขอให้ท่านทำใจได้เลยว่า ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลยครับ เพราะไม่สามารถนำภาพจากกล้องรหัส V มาใช้ประโยชน์ได้เลยครับ
วิธีการสังเกต โดยจุดสังเกตุจะอยู่บริเวณโคนเสาที่ติดตั้งกล้อง CCTV มีป้ายรหัสติดไว้ ดังนี้
กล้อง CCTV รหัส SA ที่มีการบันทึกภาพไว้ใน Server
กล้อง CCTV รหัส V ที่ไม่มีการบันทึกภาพ