วันนี้ขอนำเสนอเรื่องจิตวิทยาการลงทุน เพื่อที่ตัวเราจะได้ลงทุนอย่างรอบคอบนะครับ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายรูปแบบ แต่หลักๆก็พอจะยกมาให้เข้าใจ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบ Over react เช่น เมื่อมีข่าวหรือเหตุการณ์ใดๆมากระทบตลาดหุ้นจะเกิดปฏิกิริยา รีแอ็คชั่น ทันที คือ ตอบสนองกับตลาดและหุ้นอย่างรุนแรงจนเกินจริง คือ ตกใจเมื่อมีข่าวร้าย ขายหุ้นทันที ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตั้งใจถือหุ้น PTT(บมจ. ปตท.) ยาวๆเพื่อรอเงินปันผล ก็อดได้เงินปันผลไป หรือมีข่าวดี ก็รีบซื้อทันทีกลัวตกรถ แต่กลายเป็นข่าวลือว่า หุ้นตัวนี้ดี ซื้อไป สัก 2 ชั่วโมงราคาตกต่ำกว่าราคาที่ซื้อ จนเรียกว่าหุ้นเราอยู่บนดอย อันนี้จะเรียกว่า เจ๊กตื่นไฟก็ได้นะครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบนักลงทุนแบบแบบทั่วๆไป คือมักซื้อเร็วขายเร็วมาก โดยเฉพาะซื้อเช้าราคาหุ้นปรับขึ้น 50 สตางค์ ก็รีบขายตอนบ่ายทันที แต่ถ้าซื้อแล้วราคาตกลงมา ก็มักเก็บหุ้นไว้ แปลว่า “ชอบกำไร” มากกว่า “ขายขาดทุน” อ้าวก็ผมผิดอะไรผมอยากกำไร จริงครับทำกำไรย่อมมีความสุข แต่ก็เป็นนิสัยลงทุนระยะสั้นมากเกินไป ควรเพาะสร้างนิสัยการลงทุนระยะยาว โดยดูจากพื้นฐานและการเติบโตของบริษัท เลือกหุ้นแบบนี้ ไม่ใช่หุ้นที่หวือหวาตามข่าว แล้วร่วงดิ่งลงมา และขึ้นตามข่าวลือเท่านั้น ถ้าเป็นบริษัทไม่มีอนาคตก็ไม่ควรเสี่ยง (บทแรกถึงเขียนเรื่องความเป้นเจ้าของบริษัทไงครับ) ใครไม่เข้าใจก็ว่าไม่สำคัญนะครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบทางเทคนิค คือ แบบที่ศึกษาข้อมูลทางเทคนิคในการดูราคาหุ้น แน่นอน่วนใหญ่ได้จากบทวิเคราะห์ ซึ่งพอพูถึงแนวต้าน แนวรับ หรือเส้นค่าเฉลี่ยแล้วพอจะรู้ราคาหุ้น บางคนหัดดูแม้กระทั่งกราฟแท่งเทียน อันนี้ผู้เขียไม่ถนัดเลยกราฟพวกนี้ แต่จากการศึกษาของฝรั่ง คือนักลงทุนต่างประเทศ ระบุชัดเจนว่า การลงทุนในหุ้นไม่มีรูปแบบที่แน่ชัด ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ราคาหุ้นได้ถูกต้องจากแบบแผน หรือกราฟใดๆ ไม่เช่นนั้นบทวิเคราะห์คงไม่บอกกว้างๆว่า ให้ซื้อหรือขาย ในช่วงดัชนีระหว่าง 1300- 1350 จุด หรอกครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบยึดติดราคาอ้างอิง ประมาณคิดว่าเป็นราคาที่อุ่นใจ เช่นราคาที่โบรกเกอร์แนะนำ หรือราคาจองซื้อวันแรก IPO ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ราคาหุ้นที่เหมาะสมควรจะเป็นราคาใกล้เคียง IPO ในช่วงเดือนแรกอาจจะใช่ แต่ยิ่งเวลาผ่านไปนานปัจจัยที่ส่งผลต่อบริษัทก็เปลี่ยนไป เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาวัตถุดิบของอุตสาหกรรมนั้นๆเปลี่ยไป หรือการเมืองในประเทศหรือต่างประเทศมาทำหุ้นตกกระทันหัน บทวิเคราะห์แม้จะวิเคราะห์ล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็อาจมีข่าวมาเปลี่ยแปลง เช่น ประท้วงไล่กรรมการผู้จัดการขึ้นมา (ฟังดูคุ้นๆในบ้านเรามีบ่อย) อันนี้บางครั้งก็ไม่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้วยซ้ำ พูดง่ายๆ ถ้ารักจะเล่นหุ้นต้องติดตามข่าวสารทุกวัน
จิตวิทยา นักลงทุนแบบ Over Confident คือ มั่นใจตัวเองมากเกินไป แปลว่า เชื่อมั่นว่าตัวเองมีฝีมือสูงกว่าคนทั่วไป ความเชื่อมั่นนั่นดีครับ ไม่งั้นคงไม่มาซื้อหุ้นแน่ แต่เป็นเรื่องอันตราย เพราะ “การลงทุนมีความเสี่ยง” บอกตัวเองว่า ฉันเรียนมา รุ่นพี่สอนมาดี ก็ดีครับแต่จริงๆควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นแต่ละตัวให้ดีก่อนเลือกซื้อ และคอยดูข่าวคราวและความเคลื่อนไหวของหุ้นบ้างนะครับ อย่าเพิ่งมั่นใจว่า หนึ่งในตองอู ซื้อหุนเสร็จก็ไปเที่ยวเล่นได้ เพราะราคาหุ้นเคลื่อนไหวได้ทุกวัน ยิ่งไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อนยิ่งอันตราย อาจหัวใจวายเมื่อราคาหุ้นตกมากๆจิตวิทยา
นักลงทุนแบบมาเป็นหมู่คณะ ผมมีโอกาสพบรุ่นพี่หลายคนแนะนำว่า การซื้อหุ้นต้องตามหมู่คณะไป ไอ้บทวิเคราะห์ไม่น่าเชื่อถือ อันนี้ก็ไม่จริงครับ เพราะอย่างน้อยบทวิเคราะห์เขาก็ไปเก็บข้อมูลบริษัทนั้นๆมาให้เราว่าทำธุรกิจอะไร ผลงานเป็นอย่างไร ลูกค้าเยอะไหม ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งไม่นับการปั่นหุ้นซึ่งมีโอกาสเกิดหลายทิศทาง (แต่ปัจจุบันมีโอกาสน้อยลง เพราะลงโทษกันหนัก) ซึ่งไม่ควรชะล่าใจ ยกเว้นหมู่คณะที่เราตามไปมีข้อมูลดีจริง แถมรู้ข้อมูลวงในที่เรียกว่า Insider และที่สำคัญไม่หลอกเราเพราะหวังราคาหุ้นขึ้นไวๆ หรือหลอกขายหุ้นเรา
โดยสรุป คือ ต้องศึกษาข้อมูลรอบด้านในหุ้นแต่ละตัว และไม่ขี้ตื่นตกใจเกินไปจนเสียท่า แต่เมื่อถึงเวลา ก็ต้องรู้จักตัดขายขาดทุนนะครับ หุ้นไม่ใช่จะทำกำไรอย่างเดียว
Credit : Mthai
ขอออกตัวว่า จขกท ไม่ได้มีความรู้หรือเก่งกาจสามารถสอนใคร เป็นเม่าน้อยเพิ่งเข้าวงการ แต่อ่านเจอมาเลยอยากแบ่งปันให้เพื่อนเม่าได้อ่านกันแก้เซ็งระหว่างรอหุ้นวิ่งค่ะ อิอิ
เล่นหุ้นอย่างไรตอน จิตวิทยาการลงทุนสำคัญจริงๆ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบ Over react เช่น เมื่อมีข่าวหรือเหตุการณ์ใดๆมากระทบตลาดหุ้นจะเกิดปฏิกิริยา รีแอ็คชั่น ทันที คือ ตอบสนองกับตลาดและหุ้นอย่างรุนแรงจนเกินจริง คือ ตกใจเมื่อมีข่าวร้าย ขายหุ้นทันที ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตั้งใจถือหุ้น PTT(บมจ. ปตท.) ยาวๆเพื่อรอเงินปันผล ก็อดได้เงินปันผลไป หรือมีข่าวดี ก็รีบซื้อทันทีกลัวตกรถ แต่กลายเป็นข่าวลือว่า หุ้นตัวนี้ดี ซื้อไป สัก 2 ชั่วโมงราคาตกต่ำกว่าราคาที่ซื้อ จนเรียกว่าหุ้นเราอยู่บนดอย อันนี้จะเรียกว่า เจ๊กตื่นไฟก็ได้นะครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบนักลงทุนแบบแบบทั่วๆไป คือมักซื้อเร็วขายเร็วมาก โดยเฉพาะซื้อเช้าราคาหุ้นปรับขึ้น 50 สตางค์ ก็รีบขายตอนบ่ายทันที แต่ถ้าซื้อแล้วราคาตกลงมา ก็มักเก็บหุ้นไว้ แปลว่า “ชอบกำไร” มากกว่า “ขายขาดทุน” อ้าวก็ผมผิดอะไรผมอยากกำไร จริงครับทำกำไรย่อมมีความสุข แต่ก็เป็นนิสัยลงทุนระยะสั้นมากเกินไป ควรเพาะสร้างนิสัยการลงทุนระยะยาว โดยดูจากพื้นฐานและการเติบโตของบริษัท เลือกหุ้นแบบนี้ ไม่ใช่หุ้นที่หวือหวาตามข่าว แล้วร่วงดิ่งลงมา และขึ้นตามข่าวลือเท่านั้น ถ้าเป็นบริษัทไม่มีอนาคตก็ไม่ควรเสี่ยง (บทแรกถึงเขียนเรื่องความเป้นเจ้าของบริษัทไงครับ) ใครไม่เข้าใจก็ว่าไม่สำคัญนะครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบทางเทคนิค คือ แบบที่ศึกษาข้อมูลทางเทคนิคในการดูราคาหุ้น แน่นอน่วนใหญ่ได้จากบทวิเคราะห์ ซึ่งพอพูถึงแนวต้าน แนวรับ หรือเส้นค่าเฉลี่ยแล้วพอจะรู้ราคาหุ้น บางคนหัดดูแม้กระทั่งกราฟแท่งเทียน อันนี้ผู้เขียไม่ถนัดเลยกราฟพวกนี้ แต่จากการศึกษาของฝรั่ง คือนักลงทุนต่างประเทศ ระบุชัดเจนว่า การลงทุนในหุ้นไม่มีรูปแบบที่แน่ชัด ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ราคาหุ้นได้ถูกต้องจากแบบแผน หรือกราฟใดๆ ไม่เช่นนั้นบทวิเคราะห์คงไม่บอกกว้างๆว่า ให้ซื้อหรือขาย ในช่วงดัชนีระหว่าง 1300- 1350 จุด หรอกครับ
จิตวิทยา นักลงทุนแบบยึดติดราคาอ้างอิง ประมาณคิดว่าเป็นราคาที่อุ่นใจ เช่นราคาที่โบรกเกอร์แนะนำ หรือราคาจองซื้อวันแรก IPO ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ราคาหุ้นที่เหมาะสมควรจะเป็นราคาใกล้เคียง IPO ในช่วงเดือนแรกอาจจะใช่ แต่ยิ่งเวลาผ่านไปนานปัจจัยที่ส่งผลต่อบริษัทก็เปลี่ยนไป เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาวัตถุดิบของอุตสาหกรรมนั้นๆเปลี่ยไป หรือการเมืองในประเทศหรือต่างประเทศมาทำหุ้นตกกระทันหัน บทวิเคราะห์แม้จะวิเคราะห์ล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็อาจมีข่าวมาเปลี่ยแปลง เช่น ประท้วงไล่กรรมการผู้จัดการขึ้นมา (ฟังดูคุ้นๆในบ้านเรามีบ่อย) อันนี้บางครั้งก็ไม่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้วยซ้ำ พูดง่ายๆ ถ้ารักจะเล่นหุ้นต้องติดตามข่าวสารทุกวัน
จิตวิทยา นักลงทุนแบบ Over Confident คือ มั่นใจตัวเองมากเกินไป แปลว่า เชื่อมั่นว่าตัวเองมีฝีมือสูงกว่าคนทั่วไป ความเชื่อมั่นนั่นดีครับ ไม่งั้นคงไม่มาซื้อหุ้นแน่ แต่เป็นเรื่องอันตราย เพราะ “การลงทุนมีความเสี่ยง” บอกตัวเองว่า ฉันเรียนมา รุ่นพี่สอนมาดี ก็ดีครับแต่จริงๆควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นแต่ละตัวให้ดีก่อนเลือกซื้อ และคอยดูข่าวคราวและความเคลื่อนไหวของหุ้นบ้างนะครับ อย่าเพิ่งมั่นใจว่า หนึ่งในตองอู ซื้อหุนเสร็จก็ไปเที่ยวเล่นได้ เพราะราคาหุ้นเคลื่อนไหวได้ทุกวัน ยิ่งไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อนยิ่งอันตราย อาจหัวใจวายเมื่อราคาหุ้นตกมากๆจิตวิทยา
นักลงทุนแบบมาเป็นหมู่คณะ ผมมีโอกาสพบรุ่นพี่หลายคนแนะนำว่า การซื้อหุ้นต้องตามหมู่คณะไป ไอ้บทวิเคราะห์ไม่น่าเชื่อถือ อันนี้ก็ไม่จริงครับ เพราะอย่างน้อยบทวิเคราะห์เขาก็ไปเก็บข้อมูลบริษัทนั้นๆมาให้เราว่าทำธุรกิจอะไร ผลงานเป็นอย่างไร ลูกค้าเยอะไหม ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งไม่นับการปั่นหุ้นซึ่งมีโอกาสเกิดหลายทิศทาง (แต่ปัจจุบันมีโอกาสน้อยลง เพราะลงโทษกันหนัก) ซึ่งไม่ควรชะล่าใจ ยกเว้นหมู่คณะที่เราตามไปมีข้อมูลดีจริง แถมรู้ข้อมูลวงในที่เรียกว่า Insider และที่สำคัญไม่หลอกเราเพราะหวังราคาหุ้นขึ้นไวๆ หรือหลอกขายหุ้นเรา
โดยสรุป คือ ต้องศึกษาข้อมูลรอบด้านในหุ้นแต่ละตัว และไม่ขี้ตื่นตกใจเกินไปจนเสียท่า แต่เมื่อถึงเวลา ก็ต้องรู้จักตัดขายขาดทุนนะครับ หุ้นไม่ใช่จะทำกำไรอย่างเดียว
Credit : Mthai
ขอออกตัวว่า จขกท ไม่ได้มีความรู้หรือเก่งกาจสามารถสอนใคร เป็นเม่าน้อยเพิ่งเข้าวงการ แต่อ่านเจอมาเลยอยากแบ่งปันให้เพื่อนเม่าได้อ่านกันแก้เซ็งระหว่างรอหุ้นวิ่งค่ะ อิอิ