พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
...
อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่บำเพ็ญสมาธินั้น ผู้ที่มีสมาธิในจิตนั้น
" เทหํ เทวกายํ มนุสฺสํ เทหํ เทวกายํ "
มนุสฺ เทหํ ก็หมายความว่า เมื่อละจากกายเป็นมนุษย์
เทวกายํ ก็ได้กายเทพ หรือเรียกว่า กายเทวดา
นี่คือ ผลของสมาธิ ท่านว่า มนุสฺสํ เทหํ เทวกายํ
เมื่อละจากกายอันเป็นมนุษย์ก็ไปได้กายเทวดา
ซึ่งเป็นสิ่งที่พัฒนา คือ หมายความว่า เพิ่มความดีของเราให้สูงยิ่งขึ้น
สมาธินั้นถ้าเราจะไปปรารถนาสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้างมันก็ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก
เพราะสมาธิต้องตัดอารมณ์ เรานั่งสมาธิเพื่อความปรารถนาสิ่งนั้นสิ่งนี้
มันกลายเป็นอุปาทาน และกลายเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นการทำสมาธิท่านจึงไม่ให้ปรารถนาเพื่อ..
เราจะทำสมาธิเพื่อเอาเทวดาหรือเราจะทำสมาธิ
เพื่อเอาพระอินทร์พระพรหมอย่างนี้ท่านก็ห้าม
ไม่ให้เราทำสมาธิปรารถนาอย่างนั้น
แต่ว่า ถึงเราจะปราถนาและไม่ปรารถนา..เมื่อเราทำ เราก็ได้
ที่ท่านไม่ให้ปรารถนานั้นท่านต้องการที่จะไม่ให้เรามีอุปาทานมีอารมณ์นั่นเอง
เพราะอุปาทาน อารมณ์ มันเป็นภัยของสมาธิ มันเป็นอันตรายของสมาธิ
เราต้องกำจัดอันตรายนี้ออกไป ให้เหลือความเป็นหนึ่งของจิต
จิตนี้เมื่อเหลือความเป็นหนึ่งได้ ก็จะเริ่มมีพลังแล้ว
อันตรายของสมาธิ คือ ความปรารถนาต่างๆ : หลวงพ่อวิริยังค์
พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
...
อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่บำเพ็ญสมาธินั้น ผู้ที่มีสมาธิในจิตนั้น
" เทหํ เทวกายํ มนุสฺสํ เทหํ เทวกายํ "
มนุสฺ เทหํ ก็หมายความว่า เมื่อละจากกายเป็นมนุษย์
เทวกายํ ก็ได้กายเทพ หรือเรียกว่า กายเทวดา
นี่คือ ผลของสมาธิ ท่านว่า มนุสฺสํ เทหํ เทวกายํ
เมื่อละจากกายอันเป็นมนุษย์ก็ไปได้กายเทวดา
ซึ่งเป็นสิ่งที่พัฒนา คือ หมายความว่า เพิ่มความดีของเราให้สูงยิ่งขึ้น
สมาธินั้นถ้าเราจะไปปรารถนาสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้างมันก็ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก
เพราะสมาธิต้องตัดอารมณ์ เรานั่งสมาธิเพื่อความปรารถนาสิ่งนั้นสิ่งนี้
มันกลายเป็นอุปาทาน และกลายเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นการทำสมาธิท่านจึงไม่ให้ปรารถนาเพื่อ..
เราจะทำสมาธิเพื่อเอาเทวดาหรือเราจะทำสมาธิ
เพื่อเอาพระอินทร์พระพรหมอย่างนี้ท่านก็ห้าม
ไม่ให้เราทำสมาธิปรารถนาอย่างนั้น
แต่ว่า ถึงเราจะปราถนาและไม่ปรารถนา..เมื่อเราทำ เราก็ได้
ที่ท่านไม่ให้ปรารถนานั้นท่านต้องการที่จะไม่ให้เรามีอุปาทานมีอารมณ์นั่นเอง
เพราะอุปาทาน อารมณ์ มันเป็นภัยของสมาธิ มันเป็นอันตรายของสมาธิ
เราต้องกำจัดอันตรายนี้ออกไป ให้เหลือความเป็นหนึ่งของจิต
จิตนี้เมื่อเหลือความเป็นหนึ่งได้ ก็จะเริ่มมีพลังแล้ว