เจาะงานวิจัย 4 ตำรับยาไทยเยียวยามะเร็ง
ปัจจุบันนี้ คนหันกลับมาใช้ยาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับตัวยา ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของยาสมุนไพรในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง
เป็นที่มาให้เรา เดินทางมาสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แพทย์หญิงสมบูรณ์ เกียรตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ผสมผสาน (Integrative Medicine ) วิทยาลัยแพทย์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เหตุผลที่คนหันมานิยมยาไทย
ใน ฐานะที่แพทย์หญิงสมบูรณ์คลุกคลีอยู่กับงานด้านการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ แผนไทยมายาวนานทั้งในฐานะนักวิจัยตำรับยารักษามะเร็ง เป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และเป็นผู้พิจารณางานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยในขั้นคลินิก ได้อธิบายสถานการณ์การวิจัยองค์ความรู้แพทย์แผนไทยว่า
“ในอดีตองค์ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยนั้น ยังไม่ได้รับการยอมรับนัก เป็นเพราะยาสมุนไพรยังคงขาดมาตรฐาน การควบคุมและการวิจัยเพื่อยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัย แต่หลังจากองค์การอนามัยโลก แนะนำให้แต่ละประเทศนำการแพทย์พื้นบ้านเข้ามาใช้รักษาผสมผสานกับแพทย์แผน ปัจจุบัน การแพทย์พื้นบ้านหรือยาสมุนไพรจึงได้รับความสนใจอีกครั้ง”
แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายสถานการณ์การใช้แพทย์แผนไทยในประเทศเราว่า
“ปัจจุบัน ถือเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยมีนโยบายการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองมากขึ้น ทำให้การแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรได้รับการปัดฝุ่นอีกครั้งและมีคนนิยมใช้มาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการรักษาโรคมะเร็ง”
กว่าจะเป็นตำรับยาเยียวยามะเร็ง
ถึง แม้เราจะใช้ตำรับยารักษามะเร็งดูแลคนไข้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ไม่มีการบันทึกองค์ความรู้และประสิทธิภาพการรักษาไว้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการวิจัยเพื่อทราบถึงข้อดีข้อสียของตำรับยา
แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายกระบวนการวิจัยตำรับยาว่า
“การ วิจัยยารักษามะเร็งแต่ละสูตรนั้น เรามักจะเริ่มจากการนำองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านดั้งเดิม จากคัมภีร์ หรือศิลาจารึก ซึ่งระบุตัวยา จำพวก ธาตุวัตถุ พืชวัตถุ และสัตว์วัตถุ ที่เป็นตัวยาหลักหรือตัวยาสำคัญมาวิจัย โดยตำรับที่จะนำมาใช้หรือวิจัยนั้นต้องมีหลักฐานแสดงถึงประสิทธิภาพการรักษา ว่าได้ผลดี
“ส่วนตัวยาสมุนไพรนั้นต้องมีการตรวจสอบสายพันธุ์ที่ ถูกต้องให้ตรงตามคัมภีร์หรือการใช้แบบดั้งเดิม เพราะแหล่งเพาะปลูกที่ต่างกันย่อมมีสารสำคัญที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการเลือกส่วนที่ใช้ให้ถูกต้องด้วย”
แพทย์หญิงสมบูรณ์ อธิบายต่อว่า เมื่อผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบตำรับยาแล้ว ต้องทำการศึกษาต่อในขั้นพรีคลินิก(Pre –Clinical Testing) หรือการทดลอบก่อนการทดลองในคน โดยนำสมุนไพรหรือตำรับมาตรวจหาประสิทธิผล ความปลอดภัย ทั้งในเซลล์ทดลองและในสัตว์ทดลอง
ส่วนในขั้นคลินิก (Clinical Testing) หรือทำการทดลองในคนนั้น แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายว่า กระบวนการวิจัยอาจใช้เวลานานถึง 20 ปี แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ทดสอบกับอาสาสมัครที่สุขภาพแข็งแรง
ระยะที่ 2 ทดสอบกับผู้ป่วย
ระยะที่ 3 ทดสอบกับผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มได้รับยาจริง และกลุ่มได้รับยาหลอก(Randomized Controlled Trial)
ระยะที่ 4 เก็บข้อมูลความปลอดภัยของยาจากประชาชนที่ใช้ยาทั่วไป
อัพเดตตำรับยาเยียวยามะเร็ง มี 4 ตำรับ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านต่อได้ที่ คอลัมน์ เรื่องพิเศษ หน้า 38-40 นิตยสารชีวจิต ฉบับ 404 (1 สิงหาคม 2558) ป่วยก็ต้องอ่าน ไม่ป่วยยิ่งต้องอ่านค่ะ
ขอนำข่าวสารดีๆ จาก ชีวจิต LATEST STORY สำหรับวงการยาสมุนไพรไทยมาบอกต่อนะคะ
เจาะงานวิจัย 4 ตำรับยาไทยเยียวยามะเร็ง
เจาะงานวิจัย 4 ตำรับยาไทยเยียวยามะเร็ง
ปัจจุบันนี้ คนหันกลับมาใช้ยาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับตัวยา ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของยาสมุนไพรในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง
เป็นที่มาให้เรา เดินทางมาสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แพทย์หญิงสมบูรณ์ เกียรตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ผสมผสาน (Integrative Medicine ) วิทยาลัยแพทย์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เหตุผลที่คนหันมานิยมยาไทย
ใน ฐานะที่แพทย์หญิงสมบูรณ์คลุกคลีอยู่กับงานด้านการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ แผนไทยมายาวนานทั้งในฐานะนักวิจัยตำรับยารักษามะเร็ง เป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และเป็นผู้พิจารณางานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยในขั้นคลินิก ได้อธิบายสถานการณ์การวิจัยองค์ความรู้แพทย์แผนไทยว่า
“ในอดีตองค์ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยนั้น ยังไม่ได้รับการยอมรับนัก เป็นเพราะยาสมุนไพรยังคงขาดมาตรฐาน การควบคุมและการวิจัยเพื่อยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัย แต่หลังจากองค์การอนามัยโลก แนะนำให้แต่ละประเทศนำการแพทย์พื้นบ้านเข้ามาใช้รักษาผสมผสานกับแพทย์แผน ปัจจุบัน การแพทย์พื้นบ้านหรือยาสมุนไพรจึงได้รับความสนใจอีกครั้ง”
แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายสถานการณ์การใช้แพทย์แผนไทยในประเทศเราว่า
“ปัจจุบัน ถือเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยมีนโยบายการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองมากขึ้น ทำให้การแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรได้รับการปัดฝุ่นอีกครั้งและมีคนนิยมใช้มาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการรักษาโรคมะเร็ง”
กว่าจะเป็นตำรับยาเยียวยามะเร็ง
ถึง แม้เราจะใช้ตำรับยารักษามะเร็งดูแลคนไข้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ไม่มีการบันทึกองค์ความรู้และประสิทธิภาพการรักษาไว้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการวิจัยเพื่อทราบถึงข้อดีข้อสียของตำรับยา
แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายกระบวนการวิจัยตำรับยาว่า
“การ วิจัยยารักษามะเร็งแต่ละสูตรนั้น เรามักจะเริ่มจากการนำองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านดั้งเดิม จากคัมภีร์ หรือศิลาจารึก ซึ่งระบุตัวยา จำพวก ธาตุวัตถุ พืชวัตถุ และสัตว์วัตถุ ที่เป็นตัวยาหลักหรือตัวยาสำคัญมาวิจัย โดยตำรับที่จะนำมาใช้หรือวิจัยนั้นต้องมีหลักฐานแสดงถึงประสิทธิภาพการรักษา ว่าได้ผลดี
“ส่วนตัวยาสมุนไพรนั้นต้องมีการตรวจสอบสายพันธุ์ที่ ถูกต้องให้ตรงตามคัมภีร์หรือการใช้แบบดั้งเดิม เพราะแหล่งเพาะปลูกที่ต่างกันย่อมมีสารสำคัญที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการเลือกส่วนที่ใช้ให้ถูกต้องด้วย”
แพทย์หญิงสมบูรณ์ อธิบายต่อว่า เมื่อผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบตำรับยาแล้ว ต้องทำการศึกษาต่อในขั้นพรีคลินิก(Pre –Clinical Testing) หรือการทดลอบก่อนการทดลองในคน โดยนำสมุนไพรหรือตำรับมาตรวจหาประสิทธิผล ความปลอดภัย ทั้งในเซลล์ทดลองและในสัตว์ทดลอง
ส่วนในขั้นคลินิก (Clinical Testing) หรือทำการทดลองในคนนั้น แพทย์หญิงสมบูรณ์อธิบายว่า กระบวนการวิจัยอาจใช้เวลานานถึง 20 ปี แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ทดสอบกับอาสาสมัครที่สุขภาพแข็งแรง
ระยะที่ 2 ทดสอบกับผู้ป่วย
ระยะที่ 3 ทดสอบกับผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มได้รับยาจริง และกลุ่มได้รับยาหลอก(Randomized Controlled Trial)
ระยะที่ 4 เก็บข้อมูลความปลอดภัยของยาจากประชาชนที่ใช้ยาทั่วไป
อัพเดตตำรับยาเยียวยามะเร็ง มี 4 ตำรับ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านต่อได้ที่ คอลัมน์ เรื่องพิเศษ หน้า 38-40 นิตยสารชีวจิต ฉบับ 404 (1 สิงหาคม 2558) ป่วยก็ต้องอ่าน ไม่ป่วยยิ่งต้องอ่านค่ะ
ขอนำข่าวสารดีๆ จาก ชีวจิต LATEST STORY สำหรับวงการยาสมุนไพรไทยมาบอกต่อนะคะ