ขอแนะนำให้รู้จักอากงของผม อากงเป็นคนที่มัธยัสถ์มาก ท่านจะไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น และไม่ค่อยยอมออกไปกินข้าวนอกบ้าน พร้อมบอกว่า “ไม่ไป ที่บ้านก็มีให้กิน” เรื่องของเรื่องคืออากงเองก็มีเงินตั้งเยอะแยะ
เราทุกคนคงเคยเจอคนที่ถึงแม้จะมีตังค์ รวยล้นฟ้าขนาดไหน ก็ยังประหยัด (ถึงประหยัดสุดๆ) อยู่ดี
อะไรกันที่ทำให้อากง และผู้ใหญ่คนอื่นๆ เลือกที่จะประหยัดขนาดนี้? เรามาหาคำตอบกันครับ
ก่อนอื่นเลย ผมเชื่อว่าคนเราเลือกที่จะทำสิ่งที่ทำใหเรารู้สึกดีที่สุด และสำหรับอากงการประหยัดคงรู้สึดีกว่าการใช้
แต่ทำไมล่ะ? ทำไมเขาถึงรู้สึกดีเมื่อได้กินอาหารที่อร่อยน้อยกว่า หรือ ทำไมเขาถึงรู้สึกดีเมื่อได้ประหยัด?
คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวคือ
การประหยัดทำให้เรามีเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคต ตอนเด็กๆ เราเคยต่างถูกสอนว่าต้องประหยัดนะ อนาคตจะได้สบาย ถึงเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับหลายๆ คน โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวแถมยังต้องดูแลครอบครัว แต่ในกรณีของอากง เหตุผลนี้ดูไม่มีเหตุผลเท่าไหร่เลย เพราะอากงเองก็มีฐานะ และถ้าไม่เอาเงินไปซื้อของที่หรูเว่อร์ๆ ยังไงก็คงใช้ไม่หมด
หรือจะเป็นการเก็บไว้ให้ลูกหลาน ลูกหลานจะได้มีอนาคตดีๆ? อากงรักลูกหลาน (เหมือนอาโผ่) ถ้าเป็นเรื่องลูกหลานอากงยอมเลี้ยงข้าว ใช้จ่าย แต่เอ.. เหตุผลนี้ก็ไม่น่าใช่ เพราะลูกหลานของอากง (รุ่นคุณแม่) ก็ได้ดิบได้ดีจากธุรกิจที่อากงสร้างขึ้นมาอยู่แล้ว ไม่มีใครน่าจะต้องเดือดร้อนในอนาคตเลย
ฝึกตัวเอง หรืออากงจะอยากฝึกตัวเอง แต่อันนี้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะว่าอากงก็ไม่ใช่เด็กๆ ที่จะต้องฝึกตัวเองเพื่อไปเจอกับโลกของความเป็นผู้ใหญ่แล้ว
เป็นตัวอย่างให้ลูกๆ หลานๆ อันนี้ก็ไม่น่าจะใช่เหตุผลหลักอีก เพราะถึงแม้เวลาอากงอยู่คนเดียว กินคนเดียว อากงก็ประหยัดอยู่ดี (หรือว่าอากงแอบไปกูหูฉลามคนเดียว แบบไม่บอกใครหว่าาา? คงไม่มั๊ง ฮ่าๆ)
แล้วทำไมล่ะ? ผมคิดไม่ออกจริงๆ ผมเลยไปถามอากงซะเลยว่า “ทำไมอากงถึงประหยัดจังคับ?” ==”
อากงก็ทำหน้างงๆ นิดนึง (ถามอะไรเนี่ย?) แล้วก็ตอบว่า “ต้องประหยัดสิ! แต่ก่อนอากงต้องทำหมด ขายไอติม ทำทุกอย่างสารพัด.. ได้เงินแค่นิดเดียว”
โอเค.. แต่ก่อนต้องประหยัดเพราะว่าชีวิตยากลำบาก อันนี้เข้าใจได้ อากงเดินทางมาเมืองไทยแบบเสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน ถ้าไม่ประหยัดก็คงไม่มีทุกวันนี้ แต่มันก็ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมตอนนี้อากงยังเลือกที่จะประหยัดใน
ปัจจุบันน่ะสิ คำถามนี้ยังติดหัวผมไปซักพัก..
แล้วหลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ได้ไปอ่านหนังสือที่ชื่อว่า The Power of Habit เขียนโดย Charles Duhigg ซึ่งพูดถึงที่มาของอุปนิสัย (Habit) ต่างๆ ผู้เขียนได้อุปนิสัยนั้นมีบทบาทสำคัญในกำหนดสิ่งต่างๆ ที่เราทำในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ กิจวัตรประจำวันต่างๆ ไปจนถึงการสูบบุหรี่หรือการเช็คเฟสบุ๊ค
อุปนิสัยต่างๆ เกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่จะทำบางอย่างในอดีต แต่เมื่อเราทำได้ทุกวันๆ เราก็จะเริ่มทำมันโดยไม่ได้ต้องคิด เช่นก่อนนอนแปรงฟัน เบื่อก็หยิบมือถือขึ้นมาเปิดเฟสบุ๊คหรือเช็คอีเมล อุปนิสัยเป็นเหมือนวงจรที่สมองเราทำงานตาม วงจรนี้ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยตามลำดับ ซึ่งได้แก่
1. สัญญาณ (Cue) เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เราเริ่มวงจรของอุปนิสัย ถ้าเป็นอุปนิสัยของการรวบช้อน สัญญาณก็คือการทานข้าวเสร็จจนหมดจาน สัญญาณนั้นมีอยู่ในหลายรูปแบบเช่น เวลา(ก่อนนอน) ความรู้สึก (หิว) อารมณ์ (เครียด) เป็นต้น
2. กิจวัตร (Routine) คือสิ่งที่เราทำเมื่อพบกับสัญญาณ หลังเราเห็นว่าเราทานข้าวหมดแล้ว กิจวัตรของเราในที่นี้ก็คือการรวบช้อนนั่นเอง
3. รางวัล (Reward) คือสิ่งที่เราได้จากการทำกิจวัตร เมื่อเรารวบช้อนเสร็จ เราก็จะรู้สึกดีว่ามันเรียบร้อย เจ้าความรู้สึกดีนี้แหละ คือรางวัล ในอุปนิสัยอื่น รางวัลอาจจะเป็นได้ทั้งความรู้สึก หรือจะเป็นปัจจัยภายนอกเช่นเงินหรือแต้มในเกมเป็นต้นครับ
“เอ้อ.. หรือการประหยัดของอากงจะเป็นอุปนิสัยไปซะแล้ว?” ผมลองคิดเล่นๆ
พอลองคิดดูอีกรอบ..
ใช่เลย ลงล็อคพอดีเลย! ในตอนแรกที่อากงมีชีวิตลำบาก การประหยัดนั้นถือว่าเป็นเคสบังคับ แต่เมื่ออากงประหยัดไปเรื่อยๆ มันก็ได้กลายเป็นอุปนิสัยเรียบร้อย(โรงเรียนจีน)
สำหรับอากง
สัญญาณของการประหยัดนั้นได้แก่ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่าย เช่นการเห็นเมนูอาหาร เป็นต้น
ต่อมา
กิจวัตรของอุปนิสัยนี้ก็คือการห้ามใจตัวเอง และเลือกใช้ในสิ่งที่ ไม่ใช่ดีที่สุด ถูกที่สุด หรือสบายที่สุด แต่เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด และปฏิเสธทันทีเมื่อต้องจ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
แล้ว
รางวัลของการประหยัดล่ะ? อันนี้ตอบยากหน่อย ตอนแรกผมคิดว่ารางวัลของการประหยัดคือ การมีเงินเยอะขึ้น มีตัวเลขในบัญชีที่เยอะขึ้น แต่คิดไปคิดมา ก็ไม่น่าใช่เพราะมันเป็นรางวัลที่ไม่ชัดเจน และไม่เห็นผลทันที (นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมต่อให้เราสอนเด็กๆ ออมเงินแล้ว โตมาก็ไม่ประหยัดอยู่ดี เนื่องจากอุปนิสัยไม่ได้ถูกสร้างอย่างสมบูรณ์เพราะเด็กๆมองไม่เห็นรางวัลที่ชัดเจน) อย่างไรก็ตาม พอผมคิดดูดีๆ แล้ว
รางวัลของการประหยัดคือความรู้สึกดีเมื่อได้ใช้เงินอย่างคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นนั่นเอง อากงหรือคุณพ่อผมเองจะดีใจเสมอเมื่อได้คุ้มค่ากว่าอย่างชัดเจน (เช่นของที่เหมือนกันแต่ราคาถูกกว่า) อากงเองก็ชอบพูดว่า “อันนี้ถูกกว่าแต่ก็อร่อยเหมือนกัน เวิร์ค!”
ไม่ต่างจากการรวบช้อน ที่เราทำมันโดยไม่ต้องคิดก่อน การประหยัดของอากงก็เช่นกัน มันได้กลายเป็นอุปนิสัยไปแล้ว เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่า “ทำไมอากงถึงเลือกที่จะประหยัด” นั้นเป็นคำถามที่อากงก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน เพราะ
การประหยัดมันได้เข้าไปอยู่ในสายเลือด หรือได้กลายเป็นอุปนิสัยไปแล้วนั่นเองครับ
อุปนิสัยของการประหยัดนั้นเป็นอุปนิสัยที่ดี คุณ Charles Duhigg บอกว่า การประหยัดนั้นเป็น keystone habit ซึ่งเป็น habit ที่จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น ในทั้งชีวิตส่วนตัว และด้านการงาน ผลวิจัยต่างสรุปแล้วว่าคนที่เพิ่งสร้างอุปนิสัยของการประหยัด การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการควบคุมอาหาร (และอื่นๆ) นั้น ส่วนใหญ่รายงานว่ามีความสุขมากขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีปัญหากับคู่ครองน้อยลง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เราควร “รู้จัก” กับอุปนิสัยการประหยัดของตัวเอง
บางทีสิ่งที่ “คุ้มที่สุด” ในอดีต อาจจะไม่คุ้มค่าที่สุดตอนนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น ในบางครั้งคราวเราอาจต้องฉุกคิดว่า ว่าเรากำลังหาสิ่งที่คุ้มที่สุดสำหรับ”ตอนนี้” จริงๆ หรือไม่ เวลาผ่านไป สถานการณ์ต่างไป นิยามขอความคุ้มค่าก็อาจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยครับ เพื่อนๆ ล่ะมีสถานการณ์ไหนบ้างที่แต่ก่อนคิดว่าคุ้ม แต่เดี๋ยวนี้ไม่คุ้มแล้วบ้างครับ?
นอกจากนี้
ถ้าเราสามารถเข้าใจที่มาที่ไปของความประหยัดแล้ว เราก็จะเข้าใจว่า ทำไมบางคนที่เลือกที่จะประหยัดน้อยกว่าเรา (ที่เราว่าเค้าฟุ่มเฟือย) และคนที่ประหยัดมากกว่าเรา (ที่เราว่าเขาขี้เหนียว) เช่นกัน นิยามของความ “คุ้ม” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนั่นเอง โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเราควรอยู่บนสายกลาง เข้าไว้ นั่นคือไม่ฟุ่มเฟือย ตามใจตัวเองจนไม่ได้ฝึกตัวเอง (จะไม่ได้ประโยชน์ของ Keystone Habit) และไม่ประหยัดจน ลืมไปว่าสิ่งที่แพงกว่าอาจกลายมาเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากว่าไปซะแล้ว
สำหรับอากง ถึงอุปนิสัยการประหยัดจะทำให้อากงพลาดอาหารที่อร่อยสุดๆ หรือได้ใส่เสื้อผ้าที่สบายขึ้น แต่การประหยัด ก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน และที่ถ้าอากงไม่ประหยัดและไม่สอนให้ลูกๆประหยัด ผมก็คงไม่ได้มาถึงจุดนี้ครับ _/\_
ผมหวังว่าเพื่อนๆ จะได้ทำความรู้จักที่มาของความประหยัดในคนรวย และความรู้เกี่ยวกับอุปนิสัยไม่มากก็น้อยนะครับ
เพื่อนๆ ชอบประหยัดขนาดไหน? และปรัะหยัดเพราะอะไรครับ?
ขอบคุณรูปภาพจาก shymagazine.com
ถ้าชอบบทความ สามารถติดตามอ่านบทความสนุกๆ อื่นๆ ได้ที่
http://www.facebook.com/metaponblog หรือที่
http://metapon.wordpress.com คร้าบ : )
รวยเป็นล้าน แต่ประหยัดแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ยังไง?
เราทุกคนคงเคยเจอคนที่ถึงแม้จะมีตังค์ รวยล้นฟ้าขนาดไหน ก็ยังประหยัด (ถึงประหยัดสุดๆ) อยู่ดี อะไรกันที่ทำให้อากง และผู้ใหญ่คนอื่นๆ เลือกที่จะประหยัดขนาดนี้? เรามาหาคำตอบกันครับ
ก่อนอื่นเลย ผมเชื่อว่าคนเราเลือกที่จะทำสิ่งที่ทำใหเรารู้สึกดีที่สุด และสำหรับอากงการประหยัดคงรู้สึดีกว่าการใช้ แต่ทำไมล่ะ? ทำไมเขาถึงรู้สึกดีเมื่อได้กินอาหารที่อร่อยน้อยกว่า หรือ ทำไมเขาถึงรู้สึกดีเมื่อได้ประหยัด?
คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวคือ การประหยัดทำให้เรามีเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคต ตอนเด็กๆ เราเคยต่างถูกสอนว่าต้องประหยัดนะ อนาคตจะได้สบาย ถึงเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับหลายๆ คน โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวแถมยังต้องดูแลครอบครัว แต่ในกรณีของอากง เหตุผลนี้ดูไม่มีเหตุผลเท่าไหร่เลย เพราะอากงเองก็มีฐานะ และถ้าไม่เอาเงินไปซื้อของที่หรูเว่อร์ๆ ยังไงก็คงใช้ไม่หมด
หรือจะเป็นการเก็บไว้ให้ลูกหลาน ลูกหลานจะได้มีอนาคตดีๆ? อากงรักลูกหลาน (เหมือนอาโผ่) ถ้าเป็นเรื่องลูกหลานอากงยอมเลี้ยงข้าว ใช้จ่าย แต่เอ.. เหตุผลนี้ก็ไม่น่าใช่ เพราะลูกหลานของอากง (รุ่นคุณแม่) ก็ได้ดิบได้ดีจากธุรกิจที่อากงสร้างขึ้นมาอยู่แล้ว ไม่มีใครน่าจะต้องเดือดร้อนในอนาคตเลย
ฝึกตัวเอง หรืออากงจะอยากฝึกตัวเอง แต่อันนี้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะว่าอากงก็ไม่ใช่เด็กๆ ที่จะต้องฝึกตัวเองเพื่อไปเจอกับโลกของความเป็นผู้ใหญ่แล้ว
เป็นตัวอย่างให้ลูกๆ หลานๆ อันนี้ก็ไม่น่าจะใช่เหตุผลหลักอีก เพราะถึงแม้เวลาอากงอยู่คนเดียว กินคนเดียว อากงก็ประหยัดอยู่ดี (หรือว่าอากงแอบไปกูหูฉลามคนเดียว แบบไม่บอกใครหว่าาา? คงไม่มั๊ง ฮ่าๆ)
แล้วทำไมล่ะ? ผมคิดไม่ออกจริงๆ ผมเลยไปถามอากงซะเลยว่า “ทำไมอากงถึงประหยัดจังคับ?” ==”
อากงก็ทำหน้างงๆ นิดนึง (ถามอะไรเนี่ย?) แล้วก็ตอบว่า “ต้องประหยัดสิ! แต่ก่อนอากงต้องทำหมด ขายไอติม ทำทุกอย่างสารพัด.. ได้เงินแค่นิดเดียว”
โอเค.. แต่ก่อนต้องประหยัดเพราะว่าชีวิตยากลำบาก อันนี้เข้าใจได้ อากงเดินทางมาเมืองไทยแบบเสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน ถ้าไม่ประหยัดก็คงไม่มีทุกวันนี้ แต่มันก็ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมตอนนี้อากงยังเลือกที่จะประหยัดในปัจจุบันน่ะสิ คำถามนี้ยังติดหัวผมไปซักพัก..
แล้วหลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ได้ไปอ่านหนังสือที่ชื่อว่า The Power of Habit เขียนโดย Charles Duhigg ซึ่งพูดถึงที่มาของอุปนิสัย (Habit) ต่างๆ ผู้เขียนได้อุปนิสัยนั้นมีบทบาทสำคัญในกำหนดสิ่งต่างๆ ที่เราทำในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ กิจวัตรประจำวันต่างๆ ไปจนถึงการสูบบุหรี่หรือการเช็คเฟสบุ๊ค
อุปนิสัยต่างๆ เกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่จะทำบางอย่างในอดีต แต่เมื่อเราทำได้ทุกวันๆ เราก็จะเริ่มทำมันโดยไม่ได้ต้องคิด เช่นก่อนนอนแปรงฟัน เบื่อก็หยิบมือถือขึ้นมาเปิดเฟสบุ๊คหรือเช็คอีเมล อุปนิสัยเป็นเหมือนวงจรที่สมองเราทำงานตาม วงจรนี้ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยตามลำดับ ซึ่งได้แก่
1. สัญญาณ (Cue) เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เราเริ่มวงจรของอุปนิสัย ถ้าเป็นอุปนิสัยของการรวบช้อน สัญญาณก็คือการทานข้าวเสร็จจนหมดจาน สัญญาณนั้นมีอยู่ในหลายรูปแบบเช่น เวลา(ก่อนนอน) ความรู้สึก (หิว) อารมณ์ (เครียด) เป็นต้น
2. กิจวัตร (Routine) คือสิ่งที่เราทำเมื่อพบกับสัญญาณ หลังเราเห็นว่าเราทานข้าวหมดแล้ว กิจวัตรของเราในที่นี้ก็คือการรวบช้อนนั่นเอง
3. รางวัล (Reward) คือสิ่งที่เราได้จากการทำกิจวัตร เมื่อเรารวบช้อนเสร็จ เราก็จะรู้สึกดีว่ามันเรียบร้อย เจ้าความรู้สึกดีนี้แหละ คือรางวัล ในอุปนิสัยอื่น รางวัลอาจจะเป็นได้ทั้งความรู้สึก หรือจะเป็นปัจจัยภายนอกเช่นเงินหรือแต้มในเกมเป็นต้นครับ
“เอ้อ.. หรือการประหยัดของอากงจะเป็นอุปนิสัยไปซะแล้ว?” ผมลองคิดเล่นๆ
พอลองคิดดูอีกรอบ.. ใช่เลย ลงล็อคพอดีเลย! ในตอนแรกที่อากงมีชีวิตลำบาก การประหยัดนั้นถือว่าเป็นเคสบังคับ แต่เมื่ออากงประหยัดไปเรื่อยๆ มันก็ได้กลายเป็นอุปนิสัยเรียบร้อย(โรงเรียนจีน)
สำหรับอากง สัญญาณของการประหยัดนั้นได้แก่ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่าย เช่นการเห็นเมนูอาหาร เป็นต้น
ต่อมากิจวัตรของอุปนิสัยนี้ก็คือการห้ามใจตัวเอง และเลือกใช้ในสิ่งที่ ไม่ใช่ดีที่สุด ถูกที่สุด หรือสบายที่สุด แต่เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด และปฏิเสธทันทีเมื่อต้องจ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
แล้วรางวัลของการประหยัดล่ะ? อันนี้ตอบยากหน่อย ตอนแรกผมคิดว่ารางวัลของการประหยัดคือ การมีเงินเยอะขึ้น มีตัวเลขในบัญชีที่เยอะขึ้น แต่คิดไปคิดมา ก็ไม่น่าใช่เพราะมันเป็นรางวัลที่ไม่ชัดเจน และไม่เห็นผลทันที (นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมต่อให้เราสอนเด็กๆ ออมเงินแล้ว โตมาก็ไม่ประหยัดอยู่ดี เนื่องจากอุปนิสัยไม่ได้ถูกสร้างอย่างสมบูรณ์เพราะเด็กๆมองไม่เห็นรางวัลที่ชัดเจน) อย่างไรก็ตาม พอผมคิดดูดีๆ แล้ว รางวัลของการประหยัดคือความรู้สึกดีเมื่อได้ใช้เงินอย่างคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นนั่นเอง อากงหรือคุณพ่อผมเองจะดีใจเสมอเมื่อได้คุ้มค่ากว่าอย่างชัดเจน (เช่นของที่เหมือนกันแต่ราคาถูกกว่า) อากงเองก็ชอบพูดว่า “อันนี้ถูกกว่าแต่ก็อร่อยเหมือนกัน เวิร์ค!”
ไม่ต่างจากการรวบช้อน ที่เราทำมันโดยไม่ต้องคิดก่อน การประหยัดของอากงก็เช่นกัน มันได้กลายเป็นอุปนิสัยไปแล้ว เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่า “ทำไมอากงถึงเลือกที่จะประหยัด” นั้นเป็นคำถามที่อากงก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน เพราะการประหยัดมันได้เข้าไปอยู่ในสายเลือด หรือได้กลายเป็นอุปนิสัยไปแล้วนั่นเองครับ
อุปนิสัยของการประหยัดนั้นเป็นอุปนิสัยที่ดี คุณ Charles Duhigg บอกว่า การประหยัดนั้นเป็น keystone habit ซึ่งเป็น habit ที่จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น ในทั้งชีวิตส่วนตัว และด้านการงาน ผลวิจัยต่างสรุปแล้วว่าคนที่เพิ่งสร้างอุปนิสัยของการประหยัด การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการควบคุมอาหาร (และอื่นๆ) นั้น ส่วนใหญ่รายงานว่ามีความสุขมากขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีปัญหากับคู่ครองน้อยลง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เราควร “รู้จัก” กับอุปนิสัยการประหยัดของตัวเอง บางทีสิ่งที่ “คุ้มที่สุด” ในอดีต อาจจะไม่คุ้มค่าที่สุดตอนนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น ในบางครั้งคราวเราอาจต้องฉุกคิดว่า ว่าเรากำลังหาสิ่งที่คุ้มที่สุดสำหรับ”ตอนนี้” จริงๆ หรือไม่ เวลาผ่านไป สถานการณ์ต่างไป นิยามขอความคุ้มค่าก็อาจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยครับ เพื่อนๆ ล่ะมีสถานการณ์ไหนบ้างที่แต่ก่อนคิดว่าคุ้ม แต่เดี๋ยวนี้ไม่คุ้มแล้วบ้างครับ?
นอกจากนี้ ถ้าเราสามารถเข้าใจที่มาที่ไปของความประหยัดแล้ว เราก็จะเข้าใจว่า ทำไมบางคนที่เลือกที่จะประหยัดน้อยกว่าเรา (ที่เราว่าเค้าฟุ่มเฟือย) และคนที่ประหยัดมากกว่าเรา (ที่เราว่าเขาขี้เหนียว) เช่นกัน นิยามของความ “คุ้ม” ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนั่นเอง โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเราควรอยู่บนสายกลาง เข้าไว้ นั่นคือไม่ฟุ่มเฟือย ตามใจตัวเองจนไม่ได้ฝึกตัวเอง (จะไม่ได้ประโยชน์ของ Keystone Habit) และไม่ประหยัดจน ลืมไปว่าสิ่งที่แพงกว่าอาจกลายมาเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากว่าไปซะแล้ว
สำหรับอากง ถึงอุปนิสัยการประหยัดจะทำให้อากงพลาดอาหารที่อร่อยสุดๆ หรือได้ใส่เสื้อผ้าที่สบายขึ้น แต่การประหยัด ก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน และที่ถ้าอากงไม่ประหยัดและไม่สอนให้ลูกๆประหยัด ผมก็คงไม่ได้มาถึงจุดนี้ครับ _/\_
ผมหวังว่าเพื่อนๆ จะได้ทำความรู้จักที่มาของความประหยัดในคนรวย และความรู้เกี่ยวกับอุปนิสัยไม่มากก็น้อยนะครับ
เพื่อนๆ ชอบประหยัดขนาดไหน? และปรัะหยัดเพราะอะไรครับ?
ขอบคุณรูปภาพจาก shymagazine.com
ถ้าชอบบทความ สามารถติดตามอ่านบทความสนุกๆ อื่นๆ ได้ที่ http://www.facebook.com/metaponblog หรือที่ http://metapon.wordpress.com คร้าบ : )