มีคนหลายคนสงสัยว่า ทำไมนักลงทุนต่างประเทศถึงขายหุ้นออกตลอด อย่างที่หลายท่านทราบดีทั่วกัน (โดยเฉพาะผู้ติดดอย)
จนขณะนี้หุ้นไทยไหลลงอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 1300 ต้นๆ และมีแนวโนมที่จะลงอย่างต่อเนื่อง
สิ่งเหล่านี้มันมีเหตุผล ที่มีและที่ไป สำหรับประเทศไทย การเป็นประเทศเผด็จการทางทหาร หนี้ภาคประชาชนที่มีอยู่ระดับสูง และเหตุการณ์ต่างที่มีผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศลำดับตั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับผลจากการก่อการร้ายที่ผ่านมา เศรษฐกิจที่ย่ำแย่มีค่าจีดีพี ค่าการส่งออกที่ติดลบอย่างต่อเนื่อง การส่งออกมาพืชผลทางการเกษตรที่เราเคยเป็นผู้ส่งออกนำรายได้เข้าประเทศเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอย่างเช่น ข้าว น้ำตาล ยางพารา ก็ลดต่ำลงไปทำให้การหมุนเวียนจับจ่ายใช้สอยต่ำลง รวมไปถึงการผลิตรถยนต์ส่งออก สินค้าอิเล็คทรอนิคส์ สินค้าเคมีภัณฑ์ต่างๆ การนำเงินเข้ารัฐจากรัฐวิสากิจชั้นนำ ก็หดหายไปจาการขายทุนจากการสำรองน้ำมันอย่าง ปตท. การบริหารที่ย่ำแย่อย่างการบินไทย
แต่หากท่านทั้งหลายมองออกไปที่ตลาดหุ้นในแถบบ้านเรา อินโนีเซีย มาเลเซีย บราซิล หรือตลาดที่เรียกว่า emerging market
ถึงแม้ว่าเขาจะมีเศรษฐกิจที่ดีกว่า ก็จะมีสภาพที่ไม่แตกต่างกับประเทศไทยมากนัก ที่ตลาดหุ้นของเขาก็ตกต่ำลงไปอย่างต่อเนื่อง เงินทุนต่างชาติไหลออกไป จนทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ อ่อนค่าออกไปเรื่อยๆ
คำถามต่อมาว่า ทำไมต่างชาติถึงได้ถอนเงินออกไป?
คำตอบ การกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยธนาคารสหรัฐ เหมือนจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการตกต่ำของหุ้นทั่วโลก (นอกเหนือจากความกังวลเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศจีน)
เหมือนกับความกังวลในการที่รัฐบาลกลางสหรัฐหยุดการอุดหนุนนำเงินเข้าระบบที่เรียก QE ในปี 2013 ถ้าเรายังจำกันได้ตอนนั้นตลาดหุ้น และค่าเงินของประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ค่าเงินอ่อนลงไปอย่างมาก เมื่อความกังวลหายไป ตลาดก็กลับเข้ามาสู่ความร้อนแรงกันต่อจนถึงเกือบกลางปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้น emerging market ก็ปรับตัวลงอย่างถ้วนหน้ากันคล้ายๆ กับตลาดหุ้นบ้านเรา
ทำไมนักลงทุนต่างชาติถึงได้กังวลกับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ?
คำตอบ การปรับขึ้นดอกเบี้ยสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ จะมีผลทำให้ธนาคารต่างๆ จะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย เงินที่ธนาคารต่างๆ นำ
ออกไปให้ผู้กู้ ไม่ว่าสถาบันการเงิน ธุรกิจต่างๆ ที่เอาเงินกู้ไปใช้ในการธุรกิจก็จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นยิ่งธุรกิจที่มีการกู้เงินอยู่ในเป็นประเทศที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา และพึ่งพิงเงินสกุลสหรัฐแล้ว ก็จะต้องแบกรับภาระมากขึ้น นอกจากต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นแล้ว ค่าเงินที่อ่อนตัวลงไป (devaluation) ทำให้ผู้กู้ต้องจ่ายหนี้คืนในสกุลสหรัฐมากขึ้นสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะสุดท้ายการตกต่ำทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง หรือที่เรียกว่า domino effect และอาจย้อนกลับมาธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง
ในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในวันที่ 16-17 กันยายนนี้จะเป็นการประชุมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ในเวลานี้ผู้ลงทุนควรให้ความระมัดระวัง ติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นพิเศษ และมีการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม การขึ้นลงของตลาดหุ้นขึ้นลงอย่างผันผวนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
โชคดีทุกคนครับ
ข้อมูลศึกษาอ้างอิง:
Ask Money
Bloomberg
Telegraphy
เหตุผลสำหรับเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากประเทศ
จนขณะนี้หุ้นไทยไหลลงอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 1300 ต้นๆ และมีแนวโนมที่จะลงอย่างต่อเนื่อง
สิ่งเหล่านี้มันมีเหตุผล ที่มีและที่ไป สำหรับประเทศไทย การเป็นประเทศเผด็จการทางทหาร หนี้ภาคประชาชนที่มีอยู่ระดับสูง และเหตุการณ์ต่างที่มีผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศลำดับตั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับผลจากการก่อการร้ายที่ผ่านมา เศรษฐกิจที่ย่ำแย่มีค่าจีดีพี ค่าการส่งออกที่ติดลบอย่างต่อเนื่อง การส่งออกมาพืชผลทางการเกษตรที่เราเคยเป็นผู้ส่งออกนำรายได้เข้าประเทศเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอย่างเช่น ข้าว น้ำตาล ยางพารา ก็ลดต่ำลงไปทำให้การหมุนเวียนจับจ่ายใช้สอยต่ำลง รวมไปถึงการผลิตรถยนต์ส่งออก สินค้าอิเล็คทรอนิคส์ สินค้าเคมีภัณฑ์ต่างๆ การนำเงินเข้ารัฐจากรัฐวิสากิจชั้นนำ ก็หดหายไปจาการขายทุนจากการสำรองน้ำมันอย่าง ปตท. การบริหารที่ย่ำแย่อย่างการบินไทย
แต่หากท่านทั้งหลายมองออกไปที่ตลาดหุ้นในแถบบ้านเรา อินโนีเซีย มาเลเซีย บราซิล หรือตลาดที่เรียกว่า emerging market
ถึงแม้ว่าเขาจะมีเศรษฐกิจที่ดีกว่า ก็จะมีสภาพที่ไม่แตกต่างกับประเทศไทยมากนัก ที่ตลาดหุ้นของเขาก็ตกต่ำลงไปอย่างต่อเนื่อง เงินทุนต่างชาติไหลออกไป จนทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ อ่อนค่าออกไปเรื่อยๆ
คำถามต่อมาว่า ทำไมต่างชาติถึงได้ถอนเงินออกไป?
คำตอบ การกังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ยธนาคารสหรัฐ เหมือนจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการตกต่ำของหุ้นทั่วโลก (นอกเหนือจากความกังวลเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศจีน)
เหมือนกับความกังวลในการที่รัฐบาลกลางสหรัฐหยุดการอุดหนุนนำเงินเข้าระบบที่เรียก QE ในปี 2013 ถ้าเรายังจำกันได้ตอนนั้นตลาดหุ้น และค่าเงินของประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ค่าเงินอ่อนลงไปอย่างมาก เมื่อความกังวลหายไป ตลาดก็กลับเข้ามาสู่ความร้อนแรงกันต่อจนถึงเกือบกลางปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้น emerging market ก็ปรับตัวลงอย่างถ้วนหน้ากันคล้ายๆ กับตลาดหุ้นบ้านเรา
ทำไมนักลงทุนต่างชาติถึงได้กังวลกับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ?
คำตอบ การปรับขึ้นดอกเบี้ยสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ จะมีผลทำให้ธนาคารต่างๆ จะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย เงินที่ธนาคารต่างๆ นำ
ออกไปให้ผู้กู้ ไม่ว่าสถาบันการเงิน ธุรกิจต่างๆ ที่เอาเงินกู้ไปใช้ในการธุรกิจก็จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นยิ่งธุรกิจที่มีการกู้เงินอยู่ในเป็นประเทศที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา และพึ่งพิงเงินสกุลสหรัฐแล้ว ก็จะต้องแบกรับภาระมากขึ้น นอกจากต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นแล้ว ค่าเงินที่อ่อนตัวลงไป (devaluation) ทำให้ผู้กู้ต้องจ่ายหนี้คืนในสกุลสหรัฐมากขึ้นสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะสุดท้ายการตกต่ำทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง หรือที่เรียกว่า domino effect และอาจย้อนกลับมาธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง
ในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในวันที่ 16-17 กันยายนนี้จะเป็นการประชุมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ในเวลานี้ผู้ลงทุนควรให้ความระมัดระวัง ติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นพิเศษ และมีการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม การขึ้นลงของตลาดหุ้นขึ้นลงอย่างผันผวนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
โชคดีทุกคนครับ
ข้อมูลศึกษาอ้างอิง:
Ask Money
Bloomberg
Telegraphy