ว่าด้วยพระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?

กระทู้คำถาม
[๙๓๓] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๖ ด้วยเวทนา ๖ ด้วยสัญญา ๖ ฯลฯ
ด้วยปัญญา ๖ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๓๔] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยจักษุอยู่ ยังฟังเสียงด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วย
ฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้ ยังถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายได้ ยังรู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจได้ ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจอยู่ ยังเห็นรูปด้วยจักษุได้
ยังฟังเสียงด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วยฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้
ยังถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายได้ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๓๕] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ประกอบ ตั้งมั่นด้วยอุเบกขา ๖ อุเบกขา ๖ ปรากฏเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ระคนกัน หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๓๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. หากว่า พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖

จริงอยู่ พระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยอุเบกขาเหล่านั้น
เพราะความที่อุเบกขาทั้งหลายในทวารทั้ง ๖ เหมาะสมที่จะเกิดแก่ท่าน
แต่อุเบกขาทั้ง ๖ ทวารนั้นมิได้เกิดขึ้นแก่ท่านในขณะเดียวกันเท่านั้น.

อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง
             ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา
             ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา ฯ

ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ
ที่ประกอบด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น
ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้
กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว
ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา
แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วย
อุเบกขานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ ฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่