ทำไมหมอใจร้ายจัง ขออยู่ต่ออีกสักคืนก็ไม่ได้: สิ่งที่เกิดเมื่อมีคนนอนโรงพยาบาล 1คน
มีประเด็นในแง่ที่ว่า หมอให้คนไข้กลับบ้านแต่คนไข้หรือญาติยังไม่อยากให้กลับ หรืออาจจะเป็นอยากนอนโรงพยาบาลแต่ไม่ได้นอน หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คล้ายกับกรณีที่เรียกว่า "ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ" เรามาดูกันดีกว่าครับว่า การนอนโรงพยาบาลของคนไข้ 1 คน มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้าง
1. บุคลากรที่มีจำนวนจำกัด ยกตัวอย่าง พยาบาลที่ดูแลคนไข้ใน ถ้าเป็นโรงพยาบาลชุมชน คนไข้ประมาณ 20-30 คน ก็จะมีพยาบาลที่ดูแลประมาณ 4-5 คน บางที่ก็น้อยกว่านั้น ซึ่งจะมีบางคนที่ต้องอยู่ควบทั้งคืนหรือผ่านการทำงานในตอนกลางวันมาแล้ว ในเวรหลัง ๆ ศักยภาพในการทำงานก็คงไม่เต็มร้อยแน่นอน สาเหตุที่ต้องอยู่เวรที่ติดกันแบบนี้ก็เพราะปริมาณคนทำงานที่น้อยนั้นเอง และงานของพยาบาลก็ไม่ใช่แค่งานบริการอย่างเดียวแล้ว ยังต้องงานเอกสารร่วมด้วย การเพิ่มขึ้นของคนไข้ 1คน ก็ย่อมหมายถึงการดูแลคนไข้คนอื่นที่น้อยลง
2. ทรัพยากรที่มีของโรงพยาบาลมีจำกัด อันนี้ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น โรงพยาบาลจังหวัดแม้กระทั้งโรงเรียนแพทย์ก็มีปัญหานี้ ตัวอย่างเช่น เครื่องช่วยหายใจไม่พอ เครื่องที่ให้สารน้ำทางร่างกาย ที่มีน้อยเป็นต้น ซึ่งทำให้การรักษานั้นออกมาไม่เต็มที่ และอาจจะไม่มีให้กับคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ
3. เตียงผู้ป่วยมีจำกัด การมีคนไข้นอนโรงพยาบาล 1 คน จะหมายถึงการที่รับคนไข้ใหม่ได้น้อยอีก 1 คน เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่พบบ่อยมาก ไม่ต้องแปลกใจนะครับ คำว่าโรงพยาบาลเตียงเต็มมีอยู่จริงครับ
สุดท้าย ถ้าไม่คิดถึงเรื่องที่ผมว่ามาทั้งหมด การนอนโรงพยาบาลก็มีผลเสียอยู่ ที่หมอทุกคนจะกลัวมาก คือเรื่องการติดเชื้อในโรวพยาบาล เพราะเชื้อโรคจะรุนแรงและดื้อยากว่าเชื้อภายนอกโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กหรือคนที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง อยู่โรงพยาบาลแค่ 2-3 วันก็ติดเชื้อพวกนี้ได้แล้วครับ
Facebook page: Dr. Gamabunta
https://www.facebook.com/pages/DrGamabunta/1455340874769253
ทำไมหมอใจร้ายจัง ขออยู่ต่ออีกสักคืนก็ไม่ได้: สิ่งที่เกิดเมื่อมีคนนอนโรงพยาบาล 1คน
มีประเด็นในแง่ที่ว่า หมอให้คนไข้กลับบ้านแต่คนไข้หรือญาติยังไม่อยากให้กลับ หรืออาจจะเป็นอยากนอนโรงพยาบาลแต่ไม่ได้นอน หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คล้ายกับกรณีที่เรียกว่า "ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ" เรามาดูกันดีกว่าครับว่า การนอนโรงพยาบาลของคนไข้ 1 คน มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้าง
1. บุคลากรที่มีจำนวนจำกัด ยกตัวอย่าง พยาบาลที่ดูแลคนไข้ใน ถ้าเป็นโรงพยาบาลชุมชน คนไข้ประมาณ 20-30 คน ก็จะมีพยาบาลที่ดูแลประมาณ 4-5 คน บางที่ก็น้อยกว่านั้น ซึ่งจะมีบางคนที่ต้องอยู่ควบทั้งคืนหรือผ่านการทำงานในตอนกลางวันมาแล้ว ในเวรหลัง ๆ ศักยภาพในการทำงานก็คงไม่เต็มร้อยแน่นอน สาเหตุที่ต้องอยู่เวรที่ติดกันแบบนี้ก็เพราะปริมาณคนทำงานที่น้อยนั้นเอง และงานของพยาบาลก็ไม่ใช่แค่งานบริการอย่างเดียวแล้ว ยังต้องงานเอกสารร่วมด้วย การเพิ่มขึ้นของคนไข้ 1คน ก็ย่อมหมายถึงการดูแลคนไข้คนอื่นที่น้อยลง
2. ทรัพยากรที่มีของโรงพยาบาลมีจำกัด อันนี้ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น โรงพยาบาลจังหวัดแม้กระทั้งโรงเรียนแพทย์ก็มีปัญหานี้ ตัวอย่างเช่น เครื่องช่วยหายใจไม่พอ เครื่องที่ให้สารน้ำทางร่างกาย ที่มีน้อยเป็นต้น ซึ่งทำให้การรักษานั้นออกมาไม่เต็มที่ และอาจจะไม่มีให้กับคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ
3. เตียงผู้ป่วยมีจำกัด การมีคนไข้นอนโรงพยาบาล 1 คน จะหมายถึงการที่รับคนไข้ใหม่ได้น้อยอีก 1 คน เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่พบบ่อยมาก ไม่ต้องแปลกใจนะครับ คำว่าโรงพยาบาลเตียงเต็มมีอยู่จริงครับ
สุดท้าย ถ้าไม่คิดถึงเรื่องที่ผมว่ามาทั้งหมด การนอนโรงพยาบาลก็มีผลเสียอยู่ ที่หมอทุกคนจะกลัวมาก คือเรื่องการติดเชื้อในโรวพยาบาล เพราะเชื้อโรคจะรุนแรงและดื้อยากว่าเชื้อภายนอกโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กหรือคนที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง อยู่โรงพยาบาลแค่ 2-3 วันก็ติดเชื้อพวกนี้ได้แล้วครับ
Facebook page: Dr. Gamabunta
https://www.facebook.com/pages/DrGamabunta/1455340874769253