อย่าปล่อยให้ผู้ใหญ่หรือคนแก่ในบ้านไปธนาคารคนเดียว

เริ่มเลยนะคะ ก่อนอื่นเราต้องขอบอกเลยว่า เรื่องนี้ เป็นแค่ อุทาหรณ์เตือน ไม่ใช่การโจมตี หรือ ประจานใครใดๆทั้งสิ้น เป็นประสบการณ์สำหรับคนที่อยู่ไกลกับคุณพ่อคุณแม่
เราแต่งงานแยกมาอยู่ต่างจังหวัดกับสามี ซึ่งคุณแม่อายุ 67 ปี อยู่ที่กทม. เรื่องมีอยุ่ว่า คุณแม่โทรมาคุยเล่นเป็นประจำเหมือนทุกวัน อยู่ๆคุยแม่ก็เล่าว่า แม่ได้ไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อฝากเงินประจำ ปีละ50,000บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ฝากประจำ 6 ปี เป็นโครงการเงินออมพิเศษของธนาคารสีฟ้าแห่งนึงในห้างบิ๊กซี แม่ฝากไปเมื่อเกือบปีแล้วหล่ะ  แม่เล่าว่าเป็นโครงการเงินฝากแบบได้ดอกเบี้ยสูง กว่าฝากแบบออมทรัพย์ เราก็ย้ำถามไปว่า ไม่ใช่การประกันชีวิตใช่มั้ย แม่ว่าไม่ใช่ เราก็แค่ได้ดอกเบี้ยสูงและรายปีก็มรดอกเบี้ยสมทบ เราก็เอะใจ ว่าโครงการเงินออมอะไรทำไมไม่คุ้นเลยเพราะปกติฝากประจำ มันก็แค่เงินฝากประจำ 3  6 และ 12 เดือน ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดฝาก หรือเงินฝากประจำ 24 และ 36 เดือน ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท  จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน แต่นี่ จ่ายดอกเบี้ยคืนปีละครั้งและจำนวนเงินก็สูงมาก คือตกเดือนละเกือบห้าพัน เราฟังแล้วก็หวั่นใจนึกถึงเคสหลายๆเคสในพันทิปที่เอามาแชร์กันเรื่องการประกันที่หลอกขายกันอยู่ตามธนาคาร
พอเดือนถัดมาเรากลับบ้านมาที่กทม.จึงพาแม่ไปที่ธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูล และแล้วก็เป็นไปตามความคาดหมาย มันคือ ประกันแบบ 10EC52 จ่าย6ปี สัญญา 10 ปี มี จำนวนเงินเอาประกัน 167,786 บาท จะได้ก็ต่อเมื่อ แม่เสียชีวิตหรือครบสิบปี!!!
พอทราบข้อมูล เรากลับมาขอดูเอกสารที่แม่เซนต์ไปก็คือกรมธรรม์นั่นแระ เพื่อศึกษาการยกเลิกกรมธรรม์ เพราะถ้าแม่จะซื้อประกัน สู้ซื้อแบบสุขภาพด้วยซะจะดีกว่า เราไม่ต้องการให้แม่ต้องมานั่งประหยัดเพื่อต้องจ่ายเดือนละเกือบห้าพัน อยากให้แม่กินแม่ใช้ให้เต็มที่เพราะเราเองก็ไม่ได้มีเงินมากมายมาจุนเจือ สุดท้ายเราไปติดต่อธนาคารอีกครั้งเพื่อนเวนคืนกรมธรรม์(ยกเลิกการประกัน) ปรากฎว่าถ้ายกเลิก เราต้องเสียส่วนต่างของเบี้ยประกันเป็นเงิน สี่หมื่นสาม คือเงินที่แม่จ่ายไปห้าหมื่น จะได้รับคืนเพียงแค่ 7 พัน แม่ถึงกับเข่าอ่อน แทบร้องไห้ เครียด เพราะคิดมาตลอดว่า นี่คือการฝากเงิน ตามที่เจ้าหน้าที่ธนาคารพร่ำบอกว่า มันคือโครงการออมเงินพิเศษ การออมเงิน ฝากเงินถ้าตามความหมายมันควรถอนคืนได้ทั้งหมด ถ้าธนาคารจะใช้ชื่อการขายประกันว่าเป็นเงินออมก็เหมือนจงใจทำให้เข้าใจผิด
เราโวยกับผู้จัดการไปเยอะพอสมควรกับเรื่องการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ที่แนะนำโครงการนี้ เพราะไม่ใช่ว่าแนะนำแล้วแม่ทำเลย แม่บอกว่ากลับไปถามเค้าอีกครั้งด้วยซ้ำก่อนเซนต์เอกสาร ว่าไม่ใช่ประกันใช่มั้ย เพราะถ้าทำประกันคงใช้รูปแบบอื่น ไม่ต้องมาเสียถึงปีละห้าหมื่น เค้าก็ว่าไม่ใช่ ย้ำว่าคือการออมเงิน เราเองก็คงต้องก้มหน้ารับสภาพ จ่ายไปปีละห้าหมื่นเพื่อรักษาสิทธิ์ต่อไปเพราะยังไงเราก็รู้ช้าเกินไปตั้งเกือบปีแถมมันคือทุรกรรมทางการเงิน ถึงฟ้องกันไปก็เสียค่าทนายเปล่าๆ รับสภาพค่ะ เรื่องมันเหมือนจะจบด้วยดี แต่พอวันนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารคนที่ขายประกันให้กับแม่โทรมา เพราะว่าวันที่เราไปโวยเค้าลาหยุด แทนที่เค้าจะพูดดีๆพอเรารับสาย เค้าว่า น้องคนที่มาคุยกับพี่วันที่มาถามเรื่องว่าเงินฝาก หรือประกันใช่มั้ยคะ ไหนว่าเราเข้าใจตรงกันแล้วงัย แล้วจะเอายังงัยอีก โหยยยยยยยยยย คือ เสียเงินไปแล้ว ยังจะมาได้ยินคำพูดและน้ำเสียงแบบนี้อีก แย่มากๆ เราก็ตอบไปว่า ที่เราโวย เพราะคุณยืนยันกับคุณแม่ ว่าไม่ใช่การประกันในตอนแรก เค้าถึงยอมทำ คุณอธิบายไม่ชัดเจนทำให้เราต้องเอาเงินมาจมอยู่ที่ธนาคารสามแสนบาทเป็นเวลาสิบปี เราควรโกรธมั้ย แทนที่แม่จะได้เอาเงินจำนวนนั้นไว้กินไว้เที่ยวตามประสาคนสูงอายุของเค้า ถ้าจะย้อนว่า ถ้าตายก็ได้ประโยชน์ เราว่าเงินตอนที่แม่เสียชีวิต มันไม่สำคัญเท่ากับเงินที่แม่ได้ใช้ตอนมีชีวิตหรอก แทนที่เค้าจะโทรมาเพื่อสร้างความรู้สึกดีๆแทนการที่จะบอกว่า แม่เราเข้าใจผิดไปเอง เค้าอธิบายดีแล้ว เป็นคำว่า ขอโทษที่อาจจะสื่อสารให้เข้าใจผิด แต่ยินดีที่จะดูแลตลอดอายุกรมธรรม์เราคงรู้สึกดีกว่านี้ เราเลยบอกเค้าไปว่า ขอเอาเรื่องนี้ ลงสื่อโซเชียล เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้หลายๆคนได้รู้ จะได้ไม่ปล่อยให้คุณพ่อคุณแม่วัยเกษียณไปเจออะไรแบบที่แม่เราเจออีก เค้าตอบกลับเรามาว่า ก็ตามใจ ก็ลงให้เป็นมนุษย์แล้วกัน หึหึ เรางี๊ ปรี๊ดเลยค่ะ ต่อสายถึงผู้จัดการทันที ต่อว่าเรื่องที่เค้าพูด ทางผู้จัดการก็ได้แต่อ้อมแอ้มขอโทษมา  ทำไงได้ล่ะคะ เงินผ่านกระบวนการทำสัญญาไปแล้วก็คงต้องเลยตามเลย อ้อยเข้าปากช้าง คายออกมาก็คงมีแต่ซาก!!!!!

เอกสารที่เจ้าหน้าที่ธนาคารนำเสนอจนแม่เข้าใจผิดว่าเป็นการฝากเงินออมทรัพย์



มูลค่าการได้เงินคืนหากยกเลิกสัญญา



ล่าสุดเราลองไปติดต่อธนาคารเดียวกันแต่สาขาอื่น ได้เห็นเอกสารโครงการของจริงๆที่ควรจะต้องเป็นเอกสารแนะนำลูกค้า ไม่ใช่เอกสารแบบที่แม่เราได้มาในตัวอย่างแรก เห็นได้ชัดว่า สาขาที่แม่เราพลาดไป จงใจปิดบังข้อมูลการทำประกัน แต่นำเสนอในรูปแบบการฝากเงินเท่านั้น

เปรียบเทียบกันให้เห็นค่ะ



แบบจริงๆระบุให้เห็นชัดเจนว่าเป็นค่าเบี้ยประกัน



แต่เอกสารที่เสนอให้คุณแม่ พร้อมกับที่ใส่มาในเล่มกรมธรรม์เป็นแบบนี้


ซึ่งธนาคารสาขาที่เราไปติดต่อเอง (สาขาบิ๊กซี พิษณุโลก) นั้น อธิบายได้ดีมาก พร้อมทั้งแนะนำวิธีทางแก้ปัญหาให้เรียบร้อยดี
คือประกันตัวนี้ ถ้าเรายกเลิกก่อนครบสัญญา เราจะได้คืนน้อยมากตามตารางนี้ แต่เราสามารถกู้คืนได้เป็นเงินกู้วงเงิน90%ของ มูลค่าการเวนคืนเงินสดในปีนั้นๆ โดยเสียดอก 5% ของเงินที่กู้ ซึ่งการคุ้มครองก็ยังคงอยู่  ถามว่าคุ้มมั้ย มันก็ไม่คุ้มหรอก เพราะเป็นการยืมเงินตัวเองชัดๆแถมต้องเสียดอกให้ธนาคาร แต่ก็ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด หากวันนึงเราไม่มีกำลังส่งดีกว่าเสียเงินไปให้ฟรีๆถ้ายกเลิกตอนนี้



สรุปคือ ธนาคารสาขาแรกที่แม่ไปติดต่อนั้น จงใจปกปิดข้อมูลการประกันอ้างอิงได้จากเอกสารเลยค่ะ

**แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลและรูปภาพเปรียบเทียบเอกสารที่ใช้นำเสนอลูกค้า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่