ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)
พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใคร ไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41 ปี
พระมหาชนก
พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในปีพ.ศ. 2542 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกอีกครั้ง ในรูปแบบของการ์ตูนโดยมี ชัย ราชวัตร เป็นผู้วาดภาพการ์ตูนประกอบ ในปี 2557 ได้มีการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น ทางโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซินีเพล็กซ์ และออกอากาศทางโทรทัศน์ทุกสถานี มีทั้งหมด 3 องก์ คือ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 ความเพียร และองก์ที่ 3 ปัญญา รวมทั้งมีการแสดง แสง สี เสียงในชุด “พระมหาชนก เดอะ ฟีโนมีนอน ไลฟ์โชว์” ณ สวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เรื่องย่อ
พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึง เมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลาในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
วันหนึ่ง พระมหาชนก ทรงประทับบนคอช้างเพื่อทอดพระเนตรอุทยาน ใกล้ประตูอุทยานมีมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน พระมหาชนกทรงเก็บมาเสวยผลหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าอุทยาน คนอื่นๆ ตั้งแต่พระอุปราชลงมาต่างก็แย่งเก็บผลมะม่วง จนมะม่วงต้นนั้นโค่นลง พระมหาชนกทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความสังเวชที่คนทั้งหลายหวังแต่ประโยชน์อย่างขาดปัญญา รำลึกได้ว่านางมณีเมขลาเคยสั่งให้พระองค์ตั้งมหาวิทยาลัย จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ในที่สุดได้ตั้งมหาวิชชาลัยปูทะเลย์ขึ้น โดยรำลึกว่าขณะที่ทรงว่ายน้ำในมหาสมุทรทั้ง 7 วัน 7 คืน มีปูทะเลยักษ์มาช่วยหนุนพระบาท
อยากให้มีซีรี่ส์อินเดีย เรื่อง พระมหาชนก กับ พระเจ้าอโศกมหาราช ภาคนแสดงบ้างจัง
ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)
พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใคร ไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41 ปี
พระมหาชนก
พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในปีพ.ศ. 2542 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกอีกครั้ง ในรูปแบบของการ์ตูนโดยมี ชัย ราชวัตร เป็นผู้วาดภาพการ์ตูนประกอบ ในปี 2557 ได้มีการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น ทางโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซินีเพล็กซ์ และออกอากาศทางโทรทัศน์ทุกสถานี มีทั้งหมด 3 องก์ คือ องก์ที่ 1 กำเนิด องก์ที่ 2 ความเพียร และองก์ที่ 3 ปัญญา รวมทั้งมีการแสดง แสง สี เสียงในชุด “พระมหาชนก เดอะ ฟีโนมีนอน ไลฟ์โชว์” ณ สวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เรื่องย่อ
พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึง เมืองกาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลาในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม
วันหนึ่ง พระมหาชนก ทรงประทับบนคอช้างเพื่อทอดพระเนตรอุทยาน ใกล้ประตูอุทยานมีมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน พระมหาชนกทรงเก็บมาเสวยผลหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าอุทยาน คนอื่นๆ ตั้งแต่พระอุปราชลงมาต่างก็แย่งเก็บผลมะม่วง จนมะม่วงต้นนั้นโค่นลง พระมหาชนกทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความสังเวชที่คนทั้งหลายหวังแต่ประโยชน์อย่างขาดปัญญา รำลึกได้ว่านางมณีเมขลาเคยสั่งให้พระองค์ตั้งมหาวิทยาลัย จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ในที่สุดได้ตั้งมหาวิชชาลัยปูทะเลย์ขึ้น โดยรำลึกว่าขณะที่ทรงว่ายน้ำในมหาสมุทรทั้ง 7 วัน 7 คืน มีปูทะเลยักษ์มาช่วยหนุนพระบาท