พระพุทธศาสนา เปลี่ยนกษัตริย์ผู้โหดร้ายให้กลายเป็นผู้ทรงธรรม

พระเจ้าอโศกมหาราชเดิมมีพระอัธยาศัยโหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ
จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมา
นับถือศาสนาพุทธ พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์
บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ
และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรม
อย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)


          พระเจ้าอโศกมหาราช (สันสกฤต: अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์
พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่งราชวงศ์โมริยะหรือเมารยะ
ผู้ปกครองอนุทวีปอินเดียเกือบทั้งหมด

       พระองค์เป็นราชนัดดา(หลาน)ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ
Chandragupta Maurya ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์
สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน

     พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย พระองค์ทรงขยายจักรวรรดิ
ของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่
ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบันนี้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ
เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu)
ในปัจจุบันนี้ คาร์นาตากาและรัฐเกรละ (Karnataka and Kerala) เมืองหลวงของจักรวรรดิ
คือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัด
คือเมืองตักศิลาและเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนีในครั้งพุทธกาล(Taxila and Ujjain)


รูปปั้นพระเจ้าอโศกมหาราช


   ประมาณ พ.ศ. 283 หรือ 260 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกทำสงครามทำลายล้าง
อย่างยืดเยื้อกับแคว้นกาลิงคะ(รัฐโอริศาในปัจจุบัน)พระองค์เอาชนะแคว้นกาลิงคะได้
ซึ่งไม่เคยมีบรรพบุรุษของพระองค์ทำได้มาก่อน นักวิชาการบางคนบรรยายว่าพระองค์นับถือ
ศาสนาเชนเหมือนบรรพบุรุษ




    แต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระองค์ยอมรับศาสนาพุทธ ตำนานบอกว่าพระองค์เปลี่ยน
มานับถือศาสนาพุทธหลังจากประสบพบเห็นกับคนตายที่มากมายในสงครามแคว้นกาลิงคะ
แต่สาเหตุหลักคือพระองค์ทรงเกิดความเลื่อมใสสามเณรนิโครธ นั้นเอง พระองค์เองไม่รู้สึก
ยินดีกับความต้องการแห่งชัยชนะ พระเจ้าอโศกคำนึงคิดถึงสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งผลของ
สงครามมีคนตายมากกว่า 100,000 คน และ 150,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
สุดท้ายตายประมาณ 200,000 คน


ลักษณะเสาอโศกที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้เป็นสัญลักษณ์



พระเจ้าอโศกเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธประมาณ 263 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ให้บันทึก
พระบรมราชโองการไว้บนเสาศิลาเรียกว่า เสาอโศก และส่งสมณทูตเพื่อไปเผยแผ่
พระพุทธศาสนายังประเทศศรีลังกาและเอเชียกลาง ให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเครื่องหมาย
ให้รู้ว่าสถานที่นี้เป็นสถานสำคัญในช่วงชีวิตของพระพุทธเจ้าขึ้นมากมายซึ่งเรียกว่า  สังเวชนียสถาน



   นอกจากพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก การให้รายละเอียดถึงชีวประวัติของพระองค์
อาศัยตำนานซึ่งเขียนขึ้นในหลายร้อยปีต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้แก่ อาศัยตำนานอโศกาวทาน
(Ashokavadana) (เรื่องราวของพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของติวิยาวทาน Divyavadana)
และในประเทศศรีลังกา อาศัยข้อความในคัมภีร์มหาวงศ์ Mahavamsa สัญลักษณ์ของสาธารณรัฐ
อินเดียก็ดัดแปลงมาจากสิงโต 4 ตัวหันหลังเข้าหากันหันหน้าไปยังทิศทั้ง 4 ของพระเจ้าอโศก



       พระนามของพระเจ้าอโศก หมายความว่า ไม่มีความทุกข์ หรือไม่มีความเศร้าโศก
ในภาษาสันสกฤต แยกศัพท์ออกเป็น น ปฏิเสธ แปลงเป็น อ แปลว่า ไม่ และคำว่า โสกะ
แปลว่า ความโศกเศร้า หรือความทุกข์ใจ




    ในพระบรมราชโองการของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามว่าเทวานัมปริยะ (Devānāmpriya)
บาลีเป็น เทวานมฺปิย (Devānaṃpiya) แปลว่า ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ และพระนามว่า
ปริยทรรศิน (Priyadarśin) บาลีเป็น ปิยทสี (Piyadasī) แปลว่า ผู้เป็นที่เคารพของทุกๆคนด้วยความรัก

    พระนามของพระองค์มีความสัมพันธ์กับต้นอโศก เพราะพระองค์ทรงชอบต้นไม้ชื่อว่าต้นอโศก
Saraca asoca tree ซึ่งเป็นการอ้างอิงในคัมภีร์อโศกาวทาน เอช. จี. เวลส์ H.G. Wells
ได้เขียนถึงพระเจ้าอโศกในหนังสือของเขาชื่อ The Outline of History ว่าในจำนวน 10000
พระนามของพระมหากษัตริย์ที่หนาแน่นในตารางของประวัติศาสตร์ พระราชอำนาจพระมหา
กรุณาธิคุณความสงบสุข พระเกียรติคุณ และความชื่นชอบของพวกเขา พระนามของพระเจ้าอโศก
ส่องสว่าง เจิดจรัสเป็นดวงดาวหนึ่งเดียว

เสาอโศก หัวเสาจะเป็นสัญลักษณ์สิงโต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่