โจชง เป็นบุตรของโจโฉกับนางหวนฮูหยิน เป็นเด็กฉลาดมีสติปัญญาเกินวัย เมื่ออายุ 5 ขวบ
ซุนกวนได้ส่งช้างเผือกเชือกหนึ่งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่โจโฉ โจโฉเห็นช้างแล้วอยาก
ทราบว่าช้างหนักเท่าใด แต่เหล่ากุนซือผู้ปราดเปรื่องของโจโฉก็ยังหาวิธีชั่งช้างที่เหมาะสมไม่ได้
โจชง เด็กน้อยเห็นผู้ใหญ่คิดกันนานเหลือเกิน จึงเสนอว่าให้นำช้างไปขึ้นเรือ แล้วทำเครื่องหมาย
ขีดไว้ข้างเรือ หลังจากนั้นให้นำช้างออกแล้วใส่ก้อนหินลงเรือแทน เมื่อเรือจมถึงเครื่องหมายที่ขีดไว้
ก็จะได้น้ำหนักช้างที่เท่ากับน้ำหนักก้อนหิน ทุกคนในที่นั้นจึงสรรเสริญสติปัญญาของโจชงเป็นอย่างมาก
นอกจากการชั่งน้ำหนักช้างแล้ว โจชง ยังได้แสดงความมีสติปัญญาอีกครั้งในเหตุการณ์ “หนูกัดอานม้า”
โดยเรื่องมีอยู่ว่า ทหารผู้ดูแลอ่านม้าของโจโฉ ตรวจพบว่าอานม้าของโจโฉถูกหนูกัดขาด และเกรงกลัวว่า
ตนจะถูกลงโทษ เนื่องจากเป็นความผิดทางวินัยทหารอันร้ายแรง เจ้าหนูน้อยโจชงเดินผ่านมาพอดี จึงปลอบ
ใจและรับปากว่าจะแก้ปัญหานี้ให้ภายในสามวัน ว่าแล้วโจชงจึงเอามีดกรีดเสื่อผ้าของตนเองให้ขาดวิ่นคล้าย
เป็นรอยหนูกัด แล้วจึงไปวิ่งเล่นอยู่ใกล้ ๆ บิดาแล้วแกล้งพูดขึ้นว่า “โบราณว่าไว้ หากหนูกัดแทะสิ่งของๆ ใคร
คนผู้นั้นก็จะโชคร้าย เสื้อข้าถูกหนูกัด ข้าถึงคราวเคราะห์เป็นแน่แท้ ฮือ ... ฮือ ”
โจโฉเห็นลูกชายตัวน้อย ออกอาการโศกเศร้าดังนี้จึงปลอบลูกว่า “ความเชื่องมงาย ล้าหลังเหล่านี้ เจ้าอย่า
ใส่ใจเลย เป็นความลวงทั้งสิ้น” สักครู่หนึ่งทหารผู้ดูแลม้าจูงม้าเข้ามารายงายโจโฉว่าอานม้าถูกหนูกัดขาด โจโฉ
เห็นดังนั้นก็ไม่ได้ตำหนิอะไร บอกแต่เพียงว่า “ช่างเถิด ขนาดเสื้อลูกชายข้าใส่ไว้กับตัวแท้ ๆ หนูมันยังกัดได้
อานม้าวางไว้เฉย ๆ หนูมันจะไม่กัดได้อย่างไร” ทหารคนนั้นจึงรอดพ้นจากการถูกลงโทษ
โจชงเป็นคนฉลาด และมีเมตตา น่าเสียดายที่ โจชง อายุสั้น ป่วยตายด้วยวัยเพียง 13 ปี (ค.ศ.195-208)
โจโฉเสียใจมากเพราะตั้งใจจะให้ลูกชายคนนี้สืบทอดอำนาจตน โดยได้กล่าวแก่ลูกชายคนอื่น ๆ ว่า “ ข้าโชคร้าย
แต่พวกเจ้าโชคดี (ไม่มีโจชงแย่งสืบบัลลังค์)”
โจชงชั่งน้ำหนักช้าง
ซุนกวนได้ส่งช้างเผือกเชือกหนึ่งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่โจโฉ โจโฉเห็นช้างแล้วอยาก
ทราบว่าช้างหนักเท่าใด แต่เหล่ากุนซือผู้ปราดเปรื่องของโจโฉก็ยังหาวิธีชั่งช้างที่เหมาะสมไม่ได้
โจชง เด็กน้อยเห็นผู้ใหญ่คิดกันนานเหลือเกิน จึงเสนอว่าให้นำช้างไปขึ้นเรือ แล้วทำเครื่องหมาย
ขีดไว้ข้างเรือ หลังจากนั้นให้นำช้างออกแล้วใส่ก้อนหินลงเรือแทน เมื่อเรือจมถึงเครื่องหมายที่ขีดไว้
ก็จะได้น้ำหนักช้างที่เท่ากับน้ำหนักก้อนหิน ทุกคนในที่นั้นจึงสรรเสริญสติปัญญาของโจชงเป็นอย่างมาก
นอกจากการชั่งน้ำหนักช้างแล้ว โจชง ยังได้แสดงความมีสติปัญญาอีกครั้งในเหตุการณ์ “หนูกัดอานม้า”
โดยเรื่องมีอยู่ว่า ทหารผู้ดูแลอ่านม้าของโจโฉ ตรวจพบว่าอานม้าของโจโฉถูกหนูกัดขาด และเกรงกลัวว่า
ตนจะถูกลงโทษ เนื่องจากเป็นความผิดทางวินัยทหารอันร้ายแรง เจ้าหนูน้อยโจชงเดินผ่านมาพอดี จึงปลอบ
ใจและรับปากว่าจะแก้ปัญหานี้ให้ภายในสามวัน ว่าแล้วโจชงจึงเอามีดกรีดเสื่อผ้าของตนเองให้ขาดวิ่นคล้าย
เป็นรอยหนูกัด แล้วจึงไปวิ่งเล่นอยู่ใกล้ ๆ บิดาแล้วแกล้งพูดขึ้นว่า “โบราณว่าไว้ หากหนูกัดแทะสิ่งของๆ ใคร
คนผู้นั้นก็จะโชคร้าย เสื้อข้าถูกหนูกัด ข้าถึงคราวเคราะห์เป็นแน่แท้ ฮือ ... ฮือ ”
โจโฉเห็นลูกชายตัวน้อย ออกอาการโศกเศร้าดังนี้จึงปลอบลูกว่า “ความเชื่องมงาย ล้าหลังเหล่านี้ เจ้าอย่า
ใส่ใจเลย เป็นความลวงทั้งสิ้น” สักครู่หนึ่งทหารผู้ดูแลม้าจูงม้าเข้ามารายงายโจโฉว่าอานม้าถูกหนูกัดขาด โจโฉ
เห็นดังนั้นก็ไม่ได้ตำหนิอะไร บอกแต่เพียงว่า “ช่างเถิด ขนาดเสื้อลูกชายข้าใส่ไว้กับตัวแท้ ๆ หนูมันยังกัดได้
อานม้าวางไว้เฉย ๆ หนูมันจะไม่กัดได้อย่างไร” ทหารคนนั้นจึงรอดพ้นจากการถูกลงโทษ
โจชงเป็นคนฉลาด และมีเมตตา น่าเสียดายที่ โจชง อายุสั้น ป่วยตายด้วยวัยเพียง 13 ปี (ค.ศ.195-208)
โจโฉเสียใจมากเพราะตั้งใจจะให้ลูกชายคนนี้สืบทอดอำนาจตน โดยได้กล่าวแก่ลูกชายคนอื่น ๆ ว่า “ ข้าโชคร้าย
แต่พวกเจ้าโชคดี (ไม่มีโจชงแย่งสืบบัลลังค์)”