จาก "ดาวรุ่ง" สู่ "คนป่วย" เศรษฐกิจบราซิลเครื่องดับ
Prev1 of 2Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 07 ส.ค. 2558 เวลา 15:48:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของละตินอเมริกาอย่างบราซิล ที่เคยเป็นหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ทั้งยังเป็นสมาชิกของประเทศตลาดเกิดใหม่ชั้นนำอย่าง "BRICS" ตอนนี้กลับกลายเป็นเป็นคนป่วยที่อาการรอแร่
จากการรายงานของ ไฟแนนเชียล ไทมส์ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจบราซิลที่เคยมีสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อยู่ในแดนลบมาตั้งแต่ปีที่แล้วและมีแนวโน้มจะหดตัวต่อเนื่องในปีนี้
การเติบโตชะงักงัน
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ กำลังพิจารณาหั่นเครดิตบราซิลจากปัจจุบันที่อยู่เหนือระดับ "ขยะ" เพียงระดับเดียว หลังจากปรับมุมมองจาก "มีเสถียรภาพ" สู่ "เป็นลบ"
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก บีเอ็นพี พาริบาส ปรับลดคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ของประเทศดังกล่าวจากติดลบ 0.1% เป็น ติดลบ 2.5% พร้อมประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรอบนี้อาจเป็นครั้งรุนแรงที่สุดของบราซิล หรืออย่างน้อยก็ร้ายแรงที่สุดนับจากเริ่มมีการเก็บสถิติรายไตรมาสในปี 2539
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักมองว่า ภาวะตกต่ำในปัจจุบันเป็นช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ ต่างจากวิกฤตเต็มรูปแบบอย่างในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยชี้ว่า ครั้งนี้บราซิลไม่มีปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดและวิกฤตค่าเงินอย่างครั้งก่อนๆ เห็นได้จากบราซิลมีทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 369,000 ล้านดอลลาร์ สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
แต่ต้นตอของมรสุมเศรษฐกิจรอบนี้มาจากการสิ้นสุดยุคบูมของสินค้าโภคภัณฑ์ ที่บราซิลเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น น้ำตาลและกาแฟ
ปัญหาการเมืองซ้ำเติม
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจยังมีข่าวอื้อฉาวเรื่องคอร์รัปชั่นมาซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ลงอีก ทั้งการทุจริตงบฯ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับมหกรรมฟุตบอลโลกปีที่แล้ว และลากยาวถึงโอลิมปิกที่บราซิลจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า ที่สำคัญคือ การจ่ายสินบนของผู้บริหารบริษัทน้ำมันปิโตรบราส รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ซึ่งมีนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลติดร่างแหเป็นจำนวนมาก
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรวมถึงข่าวอื้อฉาวเรื่องทุจริต ไม่เพียงทำลายผลงานการพัฒนาเศรษฐกิจที่พรรคผู้ใช้แรงงาน (PT) ต้นสังกัดของประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟฟ์ที่สั่งสมมาตลอด 13 ปี แต่ยังทำให้ผู้นำบราซิลเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งด้วย ท่ามกลางคะแนนนิยมที่ตกต่ำอย่างหนัก ทั้งๆ ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งสมัยที่สองได้เพียงครึ่งปี
นโยบายที่ผิดพลาด
นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะตกต่ำในบราซิลจากวัฏจักรเศรษฐกิจเป็นเรื่องปกติ แต่สถานการณ์ถูกซ้ำเติมจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของนางรุสเซฟฟ์ในสมัยที่แล้ว โดยในเทอมแรกของนางรุสเซฟฟ์ รัฐบาลผลาญเงินไปกับการอุดหนุนราคาสินค้า และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอันไร้ประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปี 2557 บราซิลขาดดุลงบประมาณเบื้องต้น (รายจ่ายภาครัฐไม่รวมภาระการชำระหนี้) เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
การใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายของรัฐบาลบราซิล นำไปสู่ปัญหาการเติบโตชะลอตัวสวนทางกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และกดดันให้ธนาคารกลางต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 14.25% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 8 ในรอบ 11 เดือนหวังควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อ
ส่วน นายโจอาควิน เลวี รัฐมนตรีคลังเลือกที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการให้คำมั่นว่าจะตัดลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้งบประมาณเกินดุลเบื้องต้น 1.2% ของจีดีพีภายในปีนี้ โดยงบฯ ส่วนที่โดนหั่น ได้แก่ สวัสดิการสังคมรวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการกระตุ้นตัวเลขการเติบโตในอนาคต
ประชาชนรับเคราะห์
การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบเข้มงวดยิ่งสร้างแรงกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตัวเลขการว่างงานในเดือนมิถุนายนพุ่งเป็น 6.9% จาก 4.8% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การขยายตัวที่ติดลบยังทำให้รายได้ภาษีของรัฐบาลหดหาย
จนนายเลวีต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองด้วยการปรับเป้าเกินดุลงบประมาณเบื้องต้นของปีนี้เหลือเพียง 0.15% ของจีดีพี
เศรษฐกิจขาลงในบราซิลทำให้โอกาสในการหางานทำลดน้อยลง โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย อาชีวะและปริญญาตรี ซึ่งเสี่ยงที่จะผลักดันให้กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างหลายสิบล้านคน ที่เพิ่งลืมตาอ้าปากได้ช่วงที่พรรคพีทีครองทำเนียบประธานาธิบดีร่วงสู่ความยากจนอีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะสมองไหลโดยผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยแมคคินซีเพรสไบเทอเรียนพบว่า 65% ของคนรุ่นใหม่อายุ 16-24 ปี ต้องการไปทำงานในต่างประเทศซึ่งหากบราซิลต้องสูญเสียแรงงานมีฝีมือให้กับต่างชาติ การฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจจะยากลำบากยิ่งขึ้น
ซื้อเวลาถึงปีหน้า
แม้ผลโพลจะชี้ว่า มีประชาชนชาวแซมบ้าถึง 63% ที่เห็นด้วยกับการถอดถอนนางรุสเซฟฟ์ แต่ด้วยแรงหนุนในพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังแข็งแกร่ง นักวิเคราะห์จึงมองว่า การขับผู้นำบราซิลออกจากตำแหน่งอาจเป็นไปได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนตัวแม่ทัพกลางศึกเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะอาจทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าออกไปอีก
กลยุทธ์ของนางรุสเซฟฟ์ในขณะนี้คือ การประคองตัวให้ผ่านพ้นปีนี้ไปก่อน แล้วหวังว่าปีหน้า มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่เริ่มหว่านเมล็ดไว้ในปีนี้จะเริ่มออกดอกออกผล อีกทั้ง การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้พอสมควร หรืออย่างน้อยก็ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากปัญหาเศรษฐกิจไปได้ระยะหนึ่ง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438937787
บราซิลเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เมื่อก่อนเป็นดาวรุ่งแต่ตอนนี้ดาวร่วง
Prev1 of 2Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 07 ส.ค. 2558 เวลา 15:48:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของละตินอเมริกาอย่างบราซิล ที่เคยเป็นหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ทั้งยังเป็นสมาชิกของประเทศตลาดเกิดใหม่ชั้นนำอย่าง "BRICS" ตอนนี้กลับกลายเป็นเป็นคนป่วยที่อาการรอแร่
จากการรายงานของ ไฟแนนเชียล ไทมส์ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจบราซิลที่เคยมีสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อยู่ในแดนลบมาตั้งแต่ปีที่แล้วและมีแนวโน้มจะหดตัวต่อเนื่องในปีนี้
การเติบโตชะงักงัน
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ กำลังพิจารณาหั่นเครดิตบราซิลจากปัจจุบันที่อยู่เหนือระดับ "ขยะ" เพียงระดับเดียว หลังจากปรับมุมมองจาก "มีเสถียรภาพ" สู่ "เป็นลบ"
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก บีเอ็นพี พาริบาส ปรับลดคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ของประเทศดังกล่าวจากติดลบ 0.1% เป็น ติดลบ 2.5% พร้อมประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรอบนี้อาจเป็นครั้งรุนแรงที่สุดของบราซิล หรืออย่างน้อยก็ร้ายแรงที่สุดนับจากเริ่มมีการเก็บสถิติรายไตรมาสในปี 2539
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักมองว่า ภาวะตกต่ำในปัจจุบันเป็นช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ ต่างจากวิกฤตเต็มรูปแบบอย่างในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยชี้ว่า ครั้งนี้บราซิลไม่มีปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดและวิกฤตค่าเงินอย่างครั้งก่อนๆ เห็นได้จากบราซิลมีทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 369,000 ล้านดอลลาร์ สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
แต่ต้นตอของมรสุมเศรษฐกิจรอบนี้มาจากการสิ้นสุดยุคบูมของสินค้าโภคภัณฑ์ ที่บราซิลเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น น้ำตาลและกาแฟ
ปัญหาการเมืองซ้ำเติม
นอกจากปัญหาเศรษฐกิจยังมีข่าวอื้อฉาวเรื่องคอร์รัปชั่นมาซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ลงอีก ทั้งการทุจริตงบฯ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับมหกรรมฟุตบอลโลกปีที่แล้ว และลากยาวถึงโอลิมปิกที่บราซิลจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า ที่สำคัญคือ การจ่ายสินบนของผู้บริหารบริษัทน้ำมันปิโตรบราส รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ซึ่งมีนักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลติดร่างแหเป็นจำนวนมาก
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรวมถึงข่าวอื้อฉาวเรื่องทุจริต ไม่เพียงทำลายผลงานการพัฒนาเศรษฐกิจที่พรรคผู้ใช้แรงงาน (PT) ต้นสังกัดของประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟฟ์ที่สั่งสมมาตลอด 13 ปี แต่ยังทำให้ผู้นำบราซิลเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งด้วย ท่ามกลางคะแนนนิยมที่ตกต่ำอย่างหนัก ทั้งๆ ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งสมัยที่สองได้เพียงครึ่งปี
นโยบายที่ผิดพลาด
นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะตกต่ำในบราซิลจากวัฏจักรเศรษฐกิจเป็นเรื่องปกติ แต่สถานการณ์ถูกซ้ำเติมจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของนางรุสเซฟฟ์ในสมัยที่แล้ว โดยในเทอมแรกของนางรุสเซฟฟ์ รัฐบาลผลาญเงินไปกับการอุดหนุนราคาสินค้า และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอันไร้ประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปี 2557 บราซิลขาดดุลงบประมาณเบื้องต้น (รายจ่ายภาครัฐไม่รวมภาระการชำระหนี้) เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
การใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายของรัฐบาลบราซิล นำไปสู่ปัญหาการเติบโตชะลอตัวสวนทางกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และกดดันให้ธนาคารกลางต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 14.25% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 8 ในรอบ 11 เดือนหวังควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อ
ส่วน นายโจอาควิน เลวี รัฐมนตรีคลังเลือกที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการให้คำมั่นว่าจะตัดลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้งบประมาณเกินดุลเบื้องต้น 1.2% ของจีดีพีภายในปีนี้ โดยงบฯ ส่วนที่โดนหั่น ได้แก่ สวัสดิการสังคมรวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการกระตุ้นตัวเลขการเติบโตในอนาคต
ประชาชนรับเคราะห์
การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบเข้มงวดยิ่งสร้างแรงกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตัวเลขการว่างงานในเดือนมิถุนายนพุ่งเป็น 6.9% จาก 4.8% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การขยายตัวที่ติดลบยังทำให้รายได้ภาษีของรัฐบาลหดหาย
จนนายเลวีต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองด้วยการปรับเป้าเกินดุลงบประมาณเบื้องต้นของปีนี้เหลือเพียง 0.15% ของจีดีพี
เศรษฐกิจขาลงในบราซิลทำให้โอกาสในการหางานทำลดน้อยลง โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย อาชีวะและปริญญาตรี ซึ่งเสี่ยงที่จะผลักดันให้กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างหลายสิบล้านคน ที่เพิ่งลืมตาอ้าปากได้ช่วงที่พรรคพีทีครองทำเนียบประธานาธิบดีร่วงสู่ความยากจนอีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะสมองไหลโดยผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยแมคคินซีเพรสไบเทอเรียนพบว่า 65% ของคนรุ่นใหม่อายุ 16-24 ปี ต้องการไปทำงานในต่างประเทศซึ่งหากบราซิลต้องสูญเสียแรงงานมีฝีมือให้กับต่างชาติ การฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจจะยากลำบากยิ่งขึ้น
ซื้อเวลาถึงปีหน้า
แม้ผลโพลจะชี้ว่า มีประชาชนชาวแซมบ้าถึง 63% ที่เห็นด้วยกับการถอดถอนนางรุสเซฟฟ์ แต่ด้วยแรงหนุนในพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังแข็งแกร่ง นักวิเคราะห์จึงมองว่า การขับผู้นำบราซิลออกจากตำแหน่งอาจเป็นไปได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนตัวแม่ทัพกลางศึกเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะอาจทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าออกไปอีก
กลยุทธ์ของนางรุสเซฟฟ์ในขณะนี้คือ การประคองตัวให้ผ่านพ้นปีนี้ไปก่อน แล้วหวังว่าปีหน้า มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่เริ่มหว่านเมล็ดไว้ในปีนี้จะเริ่มออกดอกออกผล อีกทั้ง การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้พอสมควร หรืออย่างน้อยก็ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากปัญหาเศรษฐกิจไปได้ระยะหนึ่ง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438937787